กฏ 10 ข้อของการจัดองค์ประกอบ และทำไมมันถึง Work (ภาคแรก)

1
ในการถ่ายภาพ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่แค่การกดชัตเตอร์ วิธีการถ่ายนั้นสำคัญมาก
รูปที่จัดองค์ประกอบได้แย่ สามารถทำให้ภาพที่มี subject เจ๋งๆนั้นดูแย่ไปได้ และการจัดองค์ประกอบที่ดี่ อาจทำให้สิ่งที่อยู่ตรงหน้า ที่ดูธรรมดานั้น ออกมาเป็นภาพที่สวยได้

ด้วยเหตุนี้เราเลยหยิบยก กฏสิบข้อของการจัดองค์ประกอบมาให้อ่านกันในวันนี้
และไม่จำเป็นว่าคุณต้องเอากฏแต่ละข้อ ไปใช้กับรูปแต่ละรูปที่ถ่าย คุณแค่ใช้เวลาฝึกมันซักหน่อย แล้วมันจะกลายมาเป็นสัญชาตญาณเอง
การจุดองค์ประกอบภาพไม่จำเป็นต้องซับซ้อน มีทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับกฏสามส่วน และที่ซับซ้อนไปอีกคือ Golden Mean แต่ถ้าคุณเข้มงวดกัยกฏเหล่านั้นเกินไป ภาพอาจดูไม่เป็นธรรมชาติ
ในโลกความเป็นจริง มี  subject และ ฉาก ที่หลากหลาย เราต้องเปิดใจให้กว้าง อะไรที่ได้ผลดีกับภาพๆหนึ่ง อาจจะไม่เวิร์คกับอีกภาพหนึ่งก็ได้
กุญแจสำคัญคือ ต้องเข้าใจว่าการตัดสินใจทั้งหมดในการจัดองค์ประกอบภาพนั้นจะส่งผลต่อภาพและการรับรู้ของผู้ชมอย่างไร  ทั้งวิธีการถ่าย การเลือกความยาวโฟกัส หรือตำแหน่งของผู้คนที่ส่งผลต่อภาพ และนี่เป็น 10 กุญแจสำคัญที่จะทำให้คุณจัดองค์ประกอบได้ดีขึ้นในครั้งต่อไป
1) ลดความซับซ้อนของฉาก(จัดองค์ประกอบแบบเรียบง่าย)

ภาพโดย Jure Kravanja

เมื่อคุณมองที่ฉาก สมองของคุณจะเพ่งไปตรงที่น่าสนใจ แต่กล้องไม่สามารถแยกแยะได้ มันถ่ายทุกอย่างตรงหน้ามัน อาจทำให้ภาพดูรกๆไปหมด สิ่งที่คุณต้องทำคือ เลือกซับเจค จากนั้นก็เลือก ความยาวโฟกัส (เช่น 50mm) หรือมุมมองกล้อง และทำให้มันเป็นจุดสนใจในเฟรม คุณไม่สามารถเอาของอื่นๆ ออกจากฉากไปได้ตลอด ดังนั้น อาจใช้มันเป็นพื้นหลัง หรือ ให้มันเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราว

เงา พื้นผิว และรูปแบบ มันเป็นตัวช่วยให้ภาพดูน่าสนใจในการจัดองค์ประกอบแบบเรียบง่าย

ทำไมมันถึงน่าสนใจ

1. เข้าไปใกล้เพื่อตัดบางส่วนออกไปจากฉาก (กล่าวคือให้ผ้าบอลลูนเป็นพื้นหลังเต็มๆไปเลย)

2. เงาและรูปร่าง ทำให้ subject ดูน่าสนใจ

3. เส้นของบอลลูนนั้นนำสายตาเข้าไปหาเฟรม

2) เติมเต็มเฟรม ไม่ให้มีพื้นที่ว่างที่เปล่าประโยชน์

ภาพโดย Jure Kravanja

เมื่อคุณไปถ่ายสถานที่ที่มีขนาดใหญ่มาก มันยากที่จะบอกได้ว่า subject ควรมีขนาดเท่าไหร่ ในเฟรม และควรจะซูมไปแค่ไหน การปล่อยให้มีเนื้อที่ว่างๆที่เปล่าประโยชน์ในภาพนี้เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะนักในการจัดองค์ประกอบ มันทำให้ subject เล็กลงกว่าที่มันควรจะเป็น และทำให้คนดูงงว่า พวกเขาควรจะมองตรงไหน

เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว ควรจะซูมเข้าไปใกล้ๆอีก หรือ เดินเข้าไปใกล้ๆ subject แต่การเดินเข้าไปใกล้ๆ จะให้ภาพที่น่าสนใจมากกว่า ในเรื่องของมุมมอง(perspective) หรืออาจเปลี่ยนมุมมองเพื่อลดพื้นที่ว่าง

ทำไมมันถึงดูน่าสนใจ

ทำ Subjectให้เด่น
1. ทำภาพให้เต็มเฟรม ทำให้ subject ใหญ่ขึ้น และตัดส่วนที่รก ไร้ประโยชน์ออกไป
2. การวาง subject ให้สูง และไม่อยู่ตรงกลางพอดี ทำให้ภาพดูน่าสนใจขึ้น
3. เนินที่ลุ่มๆดอนๆ สร้าง รูปร่างตัว S ขึ้นมาเพื่อนำสายตา
3) อัตราส่วนของภาพ

ภาพโดย Andy Lea

หลายคนติดกับการถ่ายรูปแนวนอน พยายามลองใช้แนวตั้งดูด้วย ปรับตำแหน่ง ตั้งค่าการซูม ลองเล่นไปเรื่อยๆ ขณะที่ลองถ่ายแนวตั้ง จะได้ประสปการณ์ใหม่ๆ คุณสามารถทำภาพให้ดีขึ้นทั้งแนวตั้งและแนวนอนภายหลังโดยการครอป(crop)
ทำไมมันถึง Work

หากไม่แน่ใจว่าถ่ายแนวนอน หรือแนวตั้งดี ให้ถ่ายทั้งสองไปเลย
1) คุณสามารถมาครอปภายหลังได้ หากถ่ายมาไม่พอดี
2) ถ่ายในแนวตั้งเพื่อความแตกต่าง บางครั้งผลลัพธ์อาจดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ
3) จำไว้ว่าขนาดสัดส่วนในกล้องอาจไม่เหมือนในกระดาษตอนพิมพ์ออกมา

อ่านภาค2
อ่านภาค3

Credits: digitalcamerawold