Albert Dros ช่างภาพ Landscape ที่เคยเขียนบทความ การวางแผนถ่ายรูป Landscape ของ Albert Dros ให้เราอ่านกัน วันนี้เขานำเทคนิคการถ่าย Landscape ด้วยเลนส์มุมกว้างมาให้เราได้เรียนรู้กันครับ
เขาใช้เลนส์ 16-35mm มากกว่า 90% ของภาพเขาทั้งหมด เขาชอบถ่ายที่ระยะ 16mm และมีหลายคนที่มีปัญหาการถ่ายด้วยเลนส์ wide เพราะเหตุผลที่ว่า มันกว้างเกินไป ไปดูเทคนิคของเขากันครับ
- มองผ่านกล้อง
แทนที่จะมองสิ่งที่อยู่ตรงหน้าด้วยตาเปล่า ให้มองผ่านกล้องหรือช่องมองภาพ เพราะมุมมองจากเลนส์ Wide จะไม่เหมือนกับที่เราเห็นตาเปล่า ฉากหน้าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ แม้แต่สิ่งเล็กๆบนหิน จะดูใหญ่ขึ้นมาก เมื่อเทียบกับฉากหลัง
2. มองหารายละเอียดเล็กๆ
เมือคุณเห็นฉากหลังสวยๆแล้วสิ่งที่ต้องมาหาคือสิ่งเล็กๆที่อยู่ตามพื้น หรือที่อยู่ใกล้ๆตัวเรา ที่เลนส์สามารถครอบคลุมทั่วถึง มันจะเป็นฉากหน้าที่ดีช่วยเพิ่มความน่าสนใจและเพิ่มความลึกให้กับภาพ
3. ใช้รูรับแสงแคบๆ
รูรับแสงแคบ คือค่า f สูงๆ เพื่อให้ภาพชัดทั้งภาพ แต่ไม่ใช่สูงจนเกินไป(f/18-22) เพราะจะเกิดการเลี้ยวเบนของแสง แม้จะชัดลึกมากแต่ภาพไม่คม ปกติเลนส์กว้างจะมีระยะชัดลึกที่มากอยู่แล้ว
4. ใช้ Focus Stacking
บางครั้งคุณไม่สามารถถ่ายให้ชัดได้ในหนึ่งภาพ เช่นกรณีที่ฉากหน้าอยู่ใกล้ๆมากๆ และฉากหลังอยู่ไกล แม้รูรับแสงแคบสุดก็ไม่ครอบคลุม หรือบางคนไม่อยากใช้รูรับแสงแคบมากๆ เพราะทำให้คุณภาพของภาพต่ำลง ก็ใช้การ Stack โฟกัส คือค่อยๆไล่ถ่ายโฟกัสที่จุดต่างๆ แล้วค่อยมารวม ดูวีดีโอการรวมได้ด้านล่าง
5. ทดลองระยะ
อย่าประมาทในความกว้างของเลนส์ไวด์ของคุณ เมื่อคุณใช้เลนส์ไวด์ต้องตระหนักว่ามันอาจครอบคลุมสิ่งที่คุณเห็นตรงหน้าแทบทั้งหมด ซึ่งบางครั้งก็มากเกินไป ทดลองถ่าย subject เดียวในระยะที่ต่างกัน เช่นเวลาเดินป่า หรือขึ้นเขาลองทดลองกันดู จะเห็นมุมมองที่ต่างกันของระยะฉากหน้าและฉากหลัง
6. ถ่ายด้วยมุมต่ำ
เส้นเล็กๆ หรือ Texture บนพิ้นเมื่อเป็นฉากหน้าจะใหญ่ขึ้น และส่งผลกับภาพมาก ลองวางตำแหน่งกล้องต่ำลง และดูผลที่ได้
7. ถ่ายด้วยความสูงที่ต่างกัน
ความสูงที่ต่างกันให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันมากเมื่อใช้เลนส์ Wide ทดลองถ่ายฉากเดดิมด้วยความสูงที่ต่างกันดู ลองยกกล้องให้สูงขึ้นแล้วก้มเก็บฉากหน้าให้อยู่ในเฟรม
8. หามุมมองที่แตกต่าง
อย่างที่รู้ว่าตำแหน่งกล้องที่ต่างกันจะส่งผลกับภาพมาก เมื่อเจอฉากและ subject ที่น่าสนใจ ลองเดินดูมุมถ่ายรอบๆ ใช้เวลากับมัน หามุมมองที่ดีที่สุด
9. ใช้การบิดเบี้ยวของเลนส์ให้เป็นประโยชน์
เลนส์มุมกว้างมากๆ จะเกิดการบิดเบี้ยงของเลนส์หรือ Distortion มันช่วยให้เมฆดูพุ่งไปตรงกลางของภาพ คุณอาจใช้ข้อดีอันนี้เก็บฟ้ามามากๆหน่อย ทดลองแหกกฏสามส่วน เก็บฟ้ามาครึ่งหนึ่ง พื้นดินมาครึ่งหนึ่งก็ได้
10. ใส่ใจตรงมุม
พยายามดูตรงมุมของภาพ โดยเฉพาะ 2 มุมด้านล่าง พยายามใช้เส้นนำสายตาจากมุมไปยังภาพ นี่ไม่ใช่เทคนิคเฉพาะเลนส์ไวด์ แต่ใช้ได้กับเลนส์อื่นด้วย เป็นการนำสายตาผู้ชมไปยังภาพโดยอ้อม
หวังว่าเพื่อนๆคงได้เทคนิคการถ่ายรูป Landscape ด้วยเลนส์ ultra wide ไปพอสมควรนะครับ ติดตามบทความดีๆของเราต่อไปได้ที่เพจ FOTOFAKA
credits: Albert Dros