Thomas O’Brien เป็นช่างภาพ Landscape มืออาชีพ รูปของ O’Brien ปรากฏในนิตยสารชื่อดังมากมายเช่น ESPN, Aspen Skiing Company, Space.com, The Daily Telegraph, Discover Magazine และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งบทความนี้ เขาจะมาแนะนำการเตรียมตัวและการถ่ายฝนดาวตก ให้พวกเราได้อ่านกันครับ
อุปกรณ์
Thomas O’Brien เขาใช้อุปกรณ์เยอะตามรูปด้านบนนะครับ แต่เราไม่ต้องเอาเหมือนเขาก็ได้ เอาที่จำเป็นๆ ตามด้านล่างนี้ครับ
- เลนส์มุมกว้าง ที่มีรูรับแสงกว้าง (F น้อยกว่า 2.8 ยิ่งน้อยยิ่งดี) เช่น 24mm F1.4, 14mm
- เลนส์ช่วง normal และ tele เผื่อกรณีที่ต้องถ่ายสิ่งที่อยู่ไกลๆ
- กล้อง อาจเอาไปมากกว่า 1 ตัว เผื่อถ่าย Timelapse ด้วย
- แบตเตอรรี่และแบตสำรอง
- ขาตั้งที่มั่นคง
- สายลั่นชัตเตอร์
- หน่วยความจำที่อ่านเขียนได้รวดเร็วและจุเยอะๆ
- ไฟฉาย
อุปกรณ์พร้อมแล้วเราไปลุยกันเลย!
การถ่ายฝนดาวตกเราไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นจุดไหนและเมื่อไหร่ เพื่อที่จะจับภาพมัน ต้องถ่ายเยอะๆ ด้วยเลนส์มุมกว้าง ถ้าคุณวางกล้องไว้ที่จุดเดิม ถ่ายรัวๆหลายๆภาพ คุณอาจเอามารวมเป็นวีดีโอ Timelapse ก็ได้
1.หาสถานที่
หาสถานที่ที่มืดๆ ไม่มีแสงจากเมืองรบกวน สามารถเช็คได้จากเว็บไซต์นี้ และควรเป็นสถานที่ที่มีฉากหน้าที่น่าสนใจ และไม่มีอะไรบดบังท้องฟ้าจนรกเกินไป
2. ติดตั้งอุปกรณ์ให้เร็วที่สุด
ควรมาถึงสถานที่ก่อนเวลาที่กำหนด และติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อมอย่างรวดเร็ว เพราะนั่นเป็นการเพิ่มโอกาสให้คุณได้ถ่ายเยอะขึ้น ยิ่งคุณถ่ายเยอะ โอกาสเก็บภาพฝนดาวตกได้ก็ยิ่งมากขึ้น
3. ใช้ขาตั้งที่มั่นคง
เพื่อที่จะได้ภาพคมๆยามค่ำคืนควรใช้ขาตั้งที่มั่นคงแข็งแรง
4. โฟกัสไปยังระยะอนันต์ (infinity)
มันเป็นเรื่องยากที่จะหมุนไปในตอนที่มืด เพราะเลนส์หลายตัวต้องหมุนสุดแล้วหมุนกลับมานิดหน่อยถึงจะได้ระยะที่พอดี คุณอาจโฟกัสไว้ก่อนในตอนที่ดวงอาทิตย์ยังไม่ลับฟ้า และใช้เทปติดวงแหวนโฟกัสไม่ให้เคลื่อนที่ หรือโฟกัสไปยังดวงจันทร์หากดวงจันทร์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้า อาจใช้ไฟฉายช่วยดูวงแหวนโฟกัส หรือ ส่องไปยัง subject หากตั้งการโฟกัสที่ subject แต่ส่วนใหญ่ถ้าเป็นเลนส์ wide มากๆ การโฟกัสไปที่ระยะอนันต์ ฉากหน้าก็จะค่อนข้างชัดไปด้วย หากฉากหน้าไม่อยู่ใกล้กล้องจนเกินไป
5. ถ่ายด้วยสายลั่นชัตเตอร์
หลังจากจัดการทุกอย่างแล้ว ก็ถ่ายด้วยรูรับแสงที่กว้างที่สุด ISO ที่สูงพอที่ให้ภาพสว่างพอดี อาจเริ่มต้นที่ F2.8 ISO 2000 ความเร็วชัตเตอร์ 25 วินาที แล้วดูว่าภาพมืดหรือสว่างเกินไปแล้วมาปรับการตั้งค่าทีหลัง ควรต่อสายลั่นชัตเตอร์และล็อคไว้ตามความเร็วชัตเตอร์ที่กำหนด เพราะหากเราใช้การกดปุ่มชัตเตอร์จากกล้องตรงๆ กล้องจะขยับนิดหนึ่ง อาจทำให้ภาพไม่ชัดได้ และสายลั่นช่วยให้ถ่ายโหมด Bulb ได้ง่ายขึ้นด้วย
6. ถ่ายด้วยรูรับแสงที่กว้างที่สุด
ยิ่งใช้รูรับแสงกว้าง(เลข F น้อย) ช่วยให้แสงเข้ากล้องได้มากขึ้น ทำให้ภาพสว่างขึ้น ทำให้เราลด ISO ลงมาได้มากยิ่งขึ้น ช่วยให้ภาพเกิด Noise น้อยลง และความเร็วชัตเตอร์ไม่ควรเกิน 30 วินาที เพราะดาวจะเริ่มเคลื่นตัวเป็นเส้น
7. แบตเตอรี่
เนื่องจากต้องถ่ายเยอะ ควรพกแบตไปเยอะๆ หรือต่อไฟเข้าโดยตรงไปยัง external battery pack ช่วยให้ถ่ายได้ทั้งคืน เพราะเป้าหมายเราคือ ถ่ายให้ได้มากที่สุดเท่าที่จำทำได้ หากไม่มีอุปกรณ์ดังกล่าวก็แค่พกแบตไปเยอะๆ และเปลี่ยนให้เร็ว
8. ใช้การ์ดหน่วยความจำที่จุเยอะๆ และเร็ว
เราต้องถ่ายรัวและเร็ว ดังนั้นจะมีภาพเก็บมามาก และความเร็วในการอ่านของการ์ดหน่วยความจำต้องเร็วพอ จะได้ไม่ต้องมาหยุดรอให้มันเขียนเสร็จ หากใช้ความจุน้อยๆ ระหว่างเปลี่ยนการ์ด เกิดดาวตกลูกใหญ่คุณก็อาจพลาดได้
9. ใช้แอพช่วย
หากคุณไม่มีความรู้เรื่องดาว มีแอพพลิเคชั่นมากมายในมือถือที่ช่วยดูกลุ่มดาวต่างๆ หรือทางช้างเผือก และตำแหน่งดวงจันทร์ อื่นๆ อีกมากมาย เช่นแอพ Star Walk 2, Photopills, Sky Safari แอพพวกนี้ต้องจ่ายเงินครับ แต่ถ้ายถ่ายบ่อยๆ ก็คุ้มนะครับ
10. การจัดองค์ประกอบ
ควรหันกล้องไปที่จุด Radiant หรือใกล้ๆจุดนั้น จุด Radiant คือ จุดกระจายของฝนดาวตก (หากเป็นฝนดาวตกลีโอนิดส์จะอยู่บริเวณหัวของสิงโต) จากนั้นหาฉากหน้าที่น่าสนใจ เช่นหินที่รูปร่างสวยงาม ต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น มันจะดูน่าสนใจกว่าคุณถ่ายแค่ดาวมาเฉยๆ และควรจัดองค์ประกอบเก็บท้องฟ้ามาเยอะๆในเฟรม นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงต้องใช้เลนส์ Wide
credits: 500px