เจ้าของเพจ Albert Dros Photography ช่างภาพ Landscape ที่มีคนติดตามแสนกว่าคน มาแนะนำเทคนิคการถ่าย Landscape สั้นๆ แต่ตรงประเด็น ให้เราได้เรียนรู้กัน ช้าอยู่ใย ไปอ่านบทความของเขากันเลย
เมื่อเริ่มปีใหม่คนเรามักจะคิดว่าปีหน้าจะทำอะไรใหม่ๆ หรือทำสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม ในฐานะช่างภาพ Landscape มืออาชีพ ผมเลยอยากแนะนำเทคนิคสำหรับคนที่เริ่มต้นการถ่าย Landscape ดังนี้
- อย่ากลัว! อย่าจับโหมดออโต้ ในปี 2017 อีกต่อไป
ถ้าคุณต้องการเรียนรู้การถ่ายภาพจริงๆ คุณควรหยุดโหมด full automatic มันสะดวกสบายมากสำหรับช่างภาพมือใหม่ แต่มันจะไม่ช่วยให้คุณเก่งขึ้น และมันทำให้คุณไม่สามารถเป็ฯช่างภาพที่เก่งขึ้นได้ อย่ากลัวที่จะหนีออกจากโหมดนี้ ลองเริ่มจากโหมด Aperture priority มันไม่ยาก ผมเคยเห็นหลายคนติดอยู่ที่โหมดออโต้เป็นปี เพราะกลัวที่จะใช้โหมดอื่น และเมื่อเขาเข้ามา workshop กับผม เขาใช้โหมด Aperture 10 นาที เขาก็พูดว่า “ว้าวว ไม่คิดว่ามันจะง่ายอย่างนี้” - เริ่มถ่าย Raw หากไม่เคยถ่ายมันมาก่อน
มันเป็นอีก 1 สิ่งที่อย่าไปกลัว แค่ลองถ่าย RAW+JPG และคุณจะขอบคุณตัวเองเมื่อคุณเริ่มเรียนแต่งภาพ คุณจะใช้ไฟล์ Raw เก่าๆ ของคุณมากแต่งภาพและทำให้มันดูดีขึ้นกว่าเดิมได้ ไฟล์ Raw สำคัญมากในการถ่าย Landscape เพราะบ่อยครั้งที่ต้องถ่าย ดวงอาิทตย์ขึ้นหรือตก และแสงต่างกันมากระหว่างส่วนมืดและสว่าง แต่ ไฟล์ Raw สามารถดึงรายละเอียดกลับมาได้ และปรับ White Balance ได้แบบไม่เสียรายละเอียด ไฟล์ Raw จะมีข้อมูลมากกว่าในการแต่งภาพ - เรียนรู้พื้นฐานการแต่งภาพ
การแต่งภาพนั้นจำเป็นในการถ่าย Landscape หากคุณยังไม่เคยลองแต่งภาพ ลงโปรแกรม Lightroom มันไม่ยากเลย การรู้พื้นฐานการแต่งภาพทำให้ภาพคุณออกมาดีขึ้น ไม่ว่าจะด้วยสี contrast ฯลฯ และแน่นอนควรแต่งจากไฟล์ Raw ภาพ Landscape กว่า 99% ที่เห็นในโลก Social มักจะแต่งภาพไม่มากก็น้อย - อย่าสนใจค่า Setting มากนัก
ผู้คนมักจะถามผมว่าขอดู EXIF หน่อย หรือ ตั้งค่าอย่างไร แม้ว่าบางภาพมันธรรมดามากๆ ผมเข้าใจว่าค่า EXIF อาจจำเป็นในการถ่ายบางอย่าง เช่น การถ่ายดาว แต่การถ่าย Landscape และมีขาตั้งนั้น ค่าจะยืดหยุ่นได้ และอย่าไปจำว่า “ถ้าอยากถ่ายรูปให้ได้แบบนี้ ต้องตั้งค่าเท่านี้” - เริ่มต้นปีใหม่ด้วยการหาขาตั้งดีๆ มั่นคงซักอันนึง (หากยังไม่มี)
ขาตั้งกล้องเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากๆในการถ่าย Landscape หากยังไม่มีขาตั้งดีๆซื้อซักอัน แม้กล้องคุณจะดีที่สุด แต่ไร้ประโยชน์หากภาพไม่คมชัด - ใช้เวลาออกไปข้างนอกมากกว่าในบ้าน
ผมเห็นผู้คนถามคำถามอยู่ในโลกโซเชียลตลอดเวลา คำถามบางคำถามมันจะเจอคำตอบง่ายๆ หากจับกล้องแล้วออกไปเล่นกับกล้องของคุณ อย่ากลัวที่จะลอง การเรียนหน้าคอมมันก็ดี แต่คุณจะเรียนรู้ได้มากหากออกไปถ่ายจริงๆด้วย - อย่าไปสนใจกับความสำเร็จของช่างภาพคนอื่น โฟกัสในการใช้เวลาเพื่อพัฒนาตัวเอง
ไม่ใช่เฉพาะช่างภาพหน้าใหม่ แต่ช่างภาพหลายคนรู้สึกเหมือนต้องแข่งกับคนอื่น มีคู่แข่งอยู่รอบๆตัวเราตลอดเวลา และมีหลายครั้งที่ผมเห็นคนบ่นอยู่ในโลกโซเชียลถึงความสำเร็จของคนอื่น หรือไม่ก็ไปด่า ไปเกลียดรูปคนอื่นๆ ทั้งหมดนั้นมันไม่ได้ช่วยให้คุณเป็นช่างภาพที่ดีขึ้นเลย มีแต่จำทำให้คุณดูแย่ลง เพราะฉะนั้นอย่าใช้เวลาไปสนใจช่างภาพคนอื่นมากนัก แต่ให้ใช้เวลานั้นมาพัฒนาตนเอง - อย่าสนใจอุปกรณ์มากเกินไป
โดยเฉพาะเมื่อคุณเริ่มด้วยการถ่าย landscape มันเน้นเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบ เรื่องการรู้จักแสง เรื่องสภาพอากาศ จริงๆแล้วถ้ารู้เรื่องเหล่านี้ คุณสามารถถ่ายกับมือถือก็ออกมาสวย ผมเห็นหลายคนที่ถ่ายภาพออกมาธรรมดาๆ แล้วต้องการอุปกรณ์ใหม่ๆดีๆ เพราะคิดว่าจะได้ภาพสวยขึ้นทันที พยายามทำความรู้จักศึกษากล้องและอุปกรณ์ที่คุณมี ให้ถ่องแท้ และพยายามใช้มันให้เกิดผลลัพธ์ดีที่สุด และเมื่อคุณอยากอัพเกรด ส่วนใหญ่มองหาเลนส์ใหม่จะดีกว่าหากล้องใหม่ - พึงตระหนักว่าภาพสวยงามอลังการ อาจไม่ใช่ได้มาง่ายๆ
ภาพ Landscape สวยๆที่ท่านเห็นในโลกโซเชียล อาจต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมาก หลายคนคิดว่าการถ่ายภาพแค่การกดชัตเตอร์ แล้วก็เสร็จ ช่างภาพ Landscape มืออาชีพส่วนใหญ่จะมีภาพในใจอยู่แล้ว และเฝ้ารอเวลา อาจเป็น วัน เดือน หรือหลายปี เพื่อให้สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยเพื่อที่จะได้ perfect shot (แม้ว่าบางครั้งอาจโชคดี มาครั้งสองครั้งก็ได้ภาพสวยๆเลยก็ตาม) และสถานที่เดียวกัน จะดูต่างกันออกไปในแต่ละเวลา และฤดูกาล - สุดท้าย พยายามหาสิ่งที่ไม่ธรรมดาในภาพของคุณ
เมื่อคุณเห็นบางอย่างที่สวยงามเป็นพิเศษ เช่น รุ้ง 2 ชั้น เมื่อคุณมองเห็นมัน แม้จะมีเวลาไม่มาก ก็อย่าถ่ายเฉพาะรุ้ง พยายามหาสิ่งอื่นๆที่ทำให้ภาพออกมาสมบูรณ์ มันไม่จำเป็นต้องยุ่งยาก อาจเป็นเส้นใบไม้ใบหญ้า สัตว์ บ้านสวยๆ อะไรก็ได้ที่ทำให้องค์ประกอบดูน่าสนใจขึ้น อีกตัวอย่าง หาเจอฟ้าผ่า อย่าถ่ายแต่ฟ้าผ้า พยายามหาฉากหน้าที่น่าสนใจเช่น รูปปั้น, บ้าน, ตึก หรืออะไรก็ได้ที่คิดว่าน่าสนใจ แต่ระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยด้วย
credits: albert dros