11 เทคนิคช่วยลดการสั่นของกล้อง

0
ท่าลดกล้องสั่น
ท่าลดกล้องสั่น

หากคุณถ่ายภาพแล้วภาพคุณไม่ได้เป็นคนเดียวที่เกิดปัญหานั้น การที่กล้องสั่น ภาพเบลอ เป็นปัญหาที่เจอบ่อยมากในการถ่ายภาพ ไม่ใช่แค่มือใหม่ แต่ช่างภาพที่มีประสปการณ์เมื่อเจอบางสถานการณ์ก็อาจพลาดได้เหมือนกัน เรามีเทคนิคลดการสั่นของกล้องมาแนะนำเพื่อนๆชาว FOTOFAKA กัน

ทำไมภาพถึงเบลอ?

การสั่นเบลอนั้นเกิดจาก 2 สาเหตุพื้นฐานคือ

  1. กล้องไม่มั่นคง หรือกล้องสั่นนั่นเอง
  2. ความเร็วชัตเตอร์น้อย

หากมือของคุณสั่นและความเร็วชัตเตอร์ของคุณช้าเกินไป ภาพจะเบลอ แต่ถ้าคุณสามารถทำให้มือของคุณมั่นคงหรือเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ได้ ก็มักจะขจัดปัญหาการสั่นไหวไปได้ แต่มีเทคนิคเพิ่มเติมที่ช่วยกันสั่นตรงนี้ได้เหมือนกันไปดูกันเลย

เทคนิคลดการสั่นของกล้อง (เชิงเทคนิค)

1.เพิ่มความเร็วชัตเตอร์สปีด

ความเร็วชัตเตอร์น้อยเกินไปทำให้ภาพเบลอได้ แล้วมากแค่ไหนถึงจะดี? อันนี้ขึ้นกับสถานการณ์ ในกรณีที่พูดถึงการสั่นที่เกิดจากกล้อง ไม่ได้ถ่ายวัตถุที่มีความเร็วสูงนะ จะขึ้นกับทางยาวโฟกัสของเลนส์ ยิ่งทางยาวโฟกัสเยอะหรือเป็นเลนส์เทเล ความสั่นยิ่งเยอะตาม มักจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/ทางยาวโฟกัส เช่น ใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสประมาณ 125mm ก็จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/125 วินาทีเป็นอย่างต่ำบนกล้องฟูลเฟรม แต่หากเป็นกล้อง M4/3 ที่เลนส์ 125 mm จะเทียบเท่าระยะ 250 mm บนกล้องฟูลเฟรม ก็แนะนำให้ใช้ 1/250 วินาทีขึ้นไป แต่การปรับความเร็วชัตเตอร์จะส่งผลต่อ ISO และรูรับแสงด้วยต้องดูสมดุล Exposure ดีๆด้วย

2.ใช้กันสั่น

กันสั่นในเลนส์ และกันสั่นบนตัวกล้อง เป็นสิ่งที่ช่วยลดการสั่นได้ดีมากๆ ซึ่งกล้องและเลนส์บางตัวก็มี บางตัวก็ไม่มี บางตัวกันสั่นได้เทพมากๆ ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ล้วนๆเลยครับ เพราะฉะนั้นการเลือกซื้อกล้องและเลนส์ กันสั่นเป็นอีกปัจจัยที่ควรพิจารณา ถ้าคุณมีกันสั่นของกล้องและเลนส์แนะนำให้เปิดและดูสปเคว่ากันสั่นได้กี่ stop และลองไปทดสอบการใช้งานจริงๆ อาจเริ่มจาก 1/60 วินาที และลดไปเรื่อยๆ เป็น 1/30 วินาที, 1/15 วินาที ต่อไปจนภาพสั่น เพื่อทดลองและรู้ข้อจำกัดของกล้องและเลนส์ของเราได้จริงๆ

ข้อควรระวังคือหากใช้ขาตั้งควรปิดกันสั่นนะครับ

3. ใช้ขาตั้ง

หากมือเราไม่นิ่งก็ใช้อะไรที่นิ่งกว่า แน่นอนมันคือขาตั้งนี่แหละครับ ขาตั้งที่ดีต้องมีความมั่นคง และป้องกันการสั่นได้ไม่ว่าจะความเร็วชัตเตอร์น้อยแค่ไหน และสามารถใช้ถ่าย Long Exposure ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาที 2 วินาที หรือนานกว่านั้นได้สบาย การเลือกขาตั้งกล้อง อย่าคำนึงถึงราคาถูกอย่างเดียว บางคนกล้องเป็นแสนใช้ขาตั้งกล้องราคาถูกมากๆ ไม่มั่นคง กล้องหล่นเสียหายไปก็มีให้เห็นกันนะครับ

4. ใช้รีโมทชัตเตอร์ หรือตั้งเวลา

เมื่อใช้ขาตั้งกล้องและตั้งความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ ความเสี่ยงของภาพสั่นอีกอย่างก็คือนิ้วมือที่กดลงปุ่มชัตเตอร์อาจทำให้ภาพสั่นได้ วิธีนี้สามารถแก้ได้โดยการตั้งเวลาถ่ายภาพหรือใช้รีโมทชัตเตอร์ในการถ่ายแทน

5. ใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสสั้นๆ

ทางยาวเลนส์ที่ยาวขึ้นจะจับภาพในมุมมองที่เล็กลง ซึ่งหมายความว่าเลนส์จะขยายผลกระทบของการสั่นมากขึ้น บวกกับเลนส์เทเลส่วนใหญ่ จะใหญ่และยาวและหนัก ทำให้จับถือให้นิ่งยาก ดังนั้นการเปลี่ยนเลนส์ให้กว้างขึ้นหรือทางยาวโฟกัสน้อยลงช่วยลดกันสั่นได้เช่นกัน

เทคนิคลดการสั่นของกล้อง (เชิงกายภาพ)

การลดการสั่นของกล้อง โดยใช้กายภาพหรือท่าทางต่างๆ เพื่อให้กล้องมั่นคงขึ้น มีวิธีไหนบ้างมาดูกันครับ

1.หุบข้อศอกเข้า

เทคนิคนี้เรียบง่ายแต่ได้ผลจริง

เพียงดึงศอกเข้าหาตัวแล้วพักไว้กับลำตัว (คุณสามารถกดศอกเข้าที่ลำตัวไว้ให้แน่นเพื่อความมั่นคงยิ่งขึ้น) แบบนี้

มันจะทำให้แขนของคุณมีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเพื่อให้มือของคุณนิ่งสนิท และเมื่อคุณกดปุ่มชัตเตอร์ คุณจะไม่มีอาการกล้องสั่น

เคล็ดลับเพิ่มเติมคือ เมื่อคุณแนบข้อศอกแล้ว ให้หายใจออกจนสุดก่อนกดชัตเตอร์

2.ยกไหล่ซ้ายขึ้น

หากคุณเป็นช่างภาพตาขวา คุณจะต้องเลื่อนมาใช้ตาซ้ายเพื่อใช้เทคนิคนี้ หากคุณเป็นช่างภาพตาซ้าย คุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเลย!

ยกไหล่ซ้ายของคุณให้สูง จากนั้นให้ข้อศอกซ้ายแนบกับซี่โครง เพื่อความมั่นคงยิ่งขึ้น คุณสามารถดึงศอกขวาเข้าที่ลำตัว

3.ใช้เข่าสร้างขาตั้ง

นั่งลงบนพื้นและใช้เข้าเป็นขาตั้ง วิธีนี้อาจเลอะผ้าหน่อย แต่จะให้ภาพที่นิ่งได้

4.นอนลงกับพื้น

หากคุณไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้อง วิธีนี้จะเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดในการหลีกเลี่ยงไม่ให้กล้องสั่น สิ่งที่คุณทำคือนอนราบและปล่อยให้ฐานของกล้องกดลงกับพื้น เพื่อป้องกันไม่ให้เอียงลง คุณสามารถวางมือไว้ใต้กระบอกเลนส์หรือกำมือได้เสมอ

แน่นอนว่าเทคนิคนี้ไม่สามารถทำได้เสมอไป หากตัวแบบของคุณอยู่สูงจากพื้น คุณคงไม่ต้องการถ่ายภาพจากมุมต่ำเช่นนี้ นอกจากนี้การนอนบนพื้นอาจลำบากโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณกำลังถ่ายบนซีเมนต์ ในโคลน ในน้ำ ฯลฯ

หากคุณไม่ต้องการล้มลงกับพื้น ให้พยายามหาพื้นผิวที่มั่นคง เช่น ฝากระโปรงหน้ารถ หน้าต่างรถ กำแพง หรือต้นไม้ แล้วเอนกายพิงมัน จะทำให้ถ่ายนิ่งได้จนน่าตกใจได้!

5. ท่าปืนกล

เทคนิคต่อไปนี้บางครั้งเรียกว่าการถือปืนกลเพราะคุณถือกล้องเหมือนปืนกล

โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ได้ใช้เทคนิคนี้มากนัก เพราะพบว่ามันน่าอึดอัดใจและยากที่จะรักษาไว้นานกว่าหนึ่งหรือสองวินาที แต่เพียงเพราะมันไม่เหมาะสำหรับผม ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่ได้ผลสำหรับคุณ ดังนั้นลองดูท่านี้และลองดูว่าคุณคิดอย่างไร!

นี่คือสิ่งที่คุณทำ:

ถือกล้องไว้ที่ตาด้วยมือขวา จากนั้นยกศอกซ้ายขึ้นจนกระบอกเลนส์วางอยู่บนนั้นได้อย่างสบาย เพื่อความมั่นคงยิ่งขึ้น ให้วางมือซ้ายบนไบเซ็ปขวา

ฝึกจนทำท่าได้เร็วและสบาย ด้วยวิธีนี้ คุณสามารถสร้างขาตั้งกล้องจากแขนได้ตามต้องการ

6. แท่นวางจำลอง

นี่เป็นเทคนิคสุดท้ายของการวางกล้องไม่ให้สั่น

อย่างที่เห็น ฉันย่อตัวลงและวางศอกซ้ายไว้ที่หัวเข่า จากนั้นฉันก็สร้างแท่นรองสำหรับเลนส์ระหว่างไหล่กับข้อมือ มันจะมั่นคงแต่ การเปลี่ยนตำแหน่งจะไม่สะดวกนัก ดังนั้นการถือเลนส์จึงทำงานได้ดีที่สุดหากคุณกำลังถ่ายภาพวัตถุที่ไม่เคลื่อนไหว (เช่น นางแบบระหว่างการถ่ายภาพบุคคล)

หวังว่า 11 เทคนิคช่วยลดภาพไม่ให้สั่นนี้จะช่วยให้คุณถ่ายภาพได้ดีขึ้นะครับ

credits: Natalie Norton @dps