15 วิธีที่พัฒนาการถ่ายรูปของคุณ โดยไม่ง้ออุปกรณ์ใหม่

2

กล้องใหม่ เลนส์ใหม่ หรืออุปกรณ์ใหม่ๆ มันช่วยให้คุณได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราก็สามารถพัฒนาได้ด้วยอุปกรณ์ที่เรามีอยู่แล้ว นี่เป็น 15 คำแนะนำที่ช่วยให้คุณพัฒนาฝีมือขึ้นโดยไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ใหม่

1) จดจ่ออยู่กับอะไรที่คุณสามารถถ่ายได้ ดีกว่าจดจ่ออยู่กับอะไรที่คุณถ่ายไม่ได้

มันง่ายมากที่จะเดินหนีโอกาสที่คุณสามารถคว้าเอาไว้ได้ เพราะคุณรู้สึกว่าเลนส์ของคุณไม่กว้างพอ หรือ ซูมได้ไม่ไกลพอ หรือ คิดว่าความเร็วในการถ่ายต่อเนื่องของภาพคุณช้า หรือ ระบบออโต้โฟกัสแย่

อย่าไปคิดว่ามีอุปสรรคมากมายในการถ่ายรูปของคุณไม่มีโน่น ไม่มีมีนี่

แทนที่คุณคิดว่าควรใช้เลนส์ 600mm ที่คุณไม่มี คุณก็ลองใช้เลนส์ Wide ที่คุณมี ถ่ายให้ดูดีออกมาดู

หากไม่มีเลนส์ super wide ในการถ่ายชายฝั่ง ก็ลองถ่ายหลายรูปมาต่อกันดู

ไม่มี f/1.2 แต่อยากได้ Portrait หลังเบลอ ก็ลองหาสถานที่ ที่ตัวแบบ อยู่ห่างจาก พื้นหลังระยะหนึ่ง มันก็ทำให้หลัง เบลอได้ แม้คุณจะใช้ f/5.6 ก็ตาม

2) อ่าน คู่มือกล้อง (Camera Manual)

การอ่านคู่มือกล้องมันอาจไม่ช่วยให้คุณเก่งขึ้นเลย แต่ความรู้ด้านเทคนิคนี้จะทำให้คุณสร้างความแตกต่างในคุณภาพของภาพคุณได้ในระยะยาว

คุณจะรู้ว่าต้องตั้งค่าอะไรอย่างไร ตรงไหน และตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ไวขึ้น

คุณจะเข้าใจว่ามีระบบ ออโต้โฟกัสกี่แบบ แต่ละแบบต่างกับอย่างไร และเอาไปใช้แบบไหน คุณจะรู้ว่ากล้องของคุณจัดการกับแสงได้แตกต่างกันในโหมดที่แตกต่างกันอย่างไร และอีกมากมาย

3) ใช้อุปกรณ์ของคุณทุกวัน

ยิ่งใช้กล้องของคุณมากขึ้น คุณก็ยิ่งมีสัญชาตญาณในการใช้มันมากขึ้น มันทำให้คุณสามารถคุณปรับ aperture หรือ ISO โดยที่ตาคุณไม่จำเป็นต้องดู viewfinder หรือคุณอาจปรับให้ภาพมืดหรือสว่างขึ้นในการถ่ายครั้งต่อไปได้โดยธรรมชาติ

4) สร้างอุปกรณ์มาเล่นกับกล้องด้วยตัวของคุณเอง

ลองสร้าง อุปกรณ์กล้องด้วยตัวคุณเอง แทนที่จะซื้อ flash diffuser ทำไมไม่ลองสร้าง light modifier ด้วยตัวคุณเอง

พยายามตัดขวดนมพลาสติกใส หรือใช้พลาสติดกันกระแทก (bubble wrap) ไว้ด้านหน้า Flash คุณ เพื่อทำให้แสงแฟลชนุ่มลง

ฟอยล์ที่ใช้ในครัว ก็เป็น รีเฟลกเตอร์ราคาถูกๆสำหรับถ่าย Portrait หรือ macro ได้ ขณะที่ iPad หรือ หน้าจอโน๊ตบุ๊ค ใช้เป็น แหหล่งกำเนิดแสงคงที่ ในการถ่าย still-life ได้

สร้างแฟลชวงแหวนด้วยตัวเอง หรือสร้าง เมาท์กล้องไว้กับจักรยาน ยังมีอีกหลากหลายที่คุณสามารถทำได้ แต่ยังไงก็คำนึงความปลอดภัยของกล้องและตัวคุณเองด้วยนะ

5) เริ่มทำโปรเจคเกี่ยวกับการถ่ายรูป

เป็นการสร้างเป้าหมายในการทำงานให้ตัวเอง มันเป็นวิธีที่ดีมากในการพัฒนาสายตาคุณให้มองอะไรได้เฉียบคมขึ้น เมื่อคุณเริ่มทำเป็นโปรเจค คุณจะบังคับตัวเองเพื่อสร้างรูปที่ดีที่สุดในอุปกรณ์ที่คุณมีอยู่

คุณสามารถเริ่มโปรเจคสุดคลาสสิค คือ ถ่าย 365 รูป ใน 365 วัน คือถ่ายรูปทุกวันนั่นเอง บางทีคุณอาจบังคับตัวเองอีกว่าใช้เลนส์เดียว หรือ ระยะเดียวเท่านั้น

การเลือกเป็นธีมก็อาจเข้าท่า เช่น เลือกเฉพาะสีๆ เดียว อารมณ์เดียว ที่ๆเดียว ประมาณนี้ก็น่าสน

6) เรียนรู้การถ่ายภาพจาก Henri Cartier-Bresson

เป็นตัวอย่างคลาสสิคเลย เรามักจะพูดถึง Henri Cartier-Bresson เมื่อเราพูดเกี่ยวกับภาพที่สวยมากๆจากอุปกรณ์น้อยๆ และเขาก็ยังได้รับขนานนามว่าเป็นบิดาแห่ง photojournalism เขาถ่ายภาพวยๆของเขาโดยใช้แค่เลนส์ 35mm และ 50 mm แค่นั้น

ยิ่งมากอุปกรณ์ ยิ่งวอกแวก และการเรียนรู้วิถีแห่ง Cartier-Bresson ว่าเขาสร้างภาพของเขาได้อย่างไร ความรู้สึกตอนกดชัตเตอร์ องค์ประกอบทั้งหลาย ณ ที่แห่งนั้น เหล่านี้ล้วนสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ได้ดีกว่าการซื้อเลนส์ใหม่ของคุณ

7) ติดตามช่างภาพที่คุณชื่นชอบ

เมื่อคุณไม่ได้ออกไปถ่ายรูป อยู่ที่โต๊ะทำงาน หรือเดินทางอยู่ การติดตามเว็บช่างภาพที่คุณชื่นชอบ และเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ เบื้องหลังกว่าจะได้รูปสวยๆมา  คุณจะพัฒนาสาตาของคุณที่มีต่อภาพ และ พัฒนาการถ่ายภาพของคุณได้มาก

8) อ่านหนังสือการถ่ายภาพดีๆ

มีมากกว่า ล้านล้านรูปที่ถูกในปี 2014 นี้ และก็มีรูปที่สวยใได้รับความนิยมจำนวนมาก คุณสามารถหาชมภาพเหล่านั้นได้ตามที่เขาแชร์กัน เว็บการถ่ายภาพจำนวนหน่ึง ก็ไม่ได้คัดคุณภาพมากนัก แต่บางเว็บจะคัดคุณภาพมาให้ชมกัน ซึ่งต้องเลือกดู

แล้วทำไมคุณไม่ถนอมสายตาด้วยการซื้อหนังสือบ้างละ ?

เราไม่ได้พูดถึงหนังสือว่าถ่ายรูปยังไงนะ แต่เป็นหนังสือรวมรูปภาพ (photo book) เช่น Life (Frans Lanting), Water Light Time (David Doubilet), Street Photography Now(Sophie Howarth and Stephen McLaren) and We English (Simon Roberts).

9) เลี่ยงเว็บรีวิวกล้อง

หรือควรจะเขียนว่า หลีกเลี่ยงสิ่งล่อใจดี ? อย่างไรก็ตาม เรามักจะไม่แยแสกล้องของเรา หากเราชอบดูรีวิวกล้องใหม่ๆอยู่

และกล้องใหม่ๆ ก็มาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ  บางทีอ่านแล้วคุณอาจหดหู่ ไม่พอใจในสิ่งที่คุณมีก็ได้

และนี่ก็เป็นเหตุผลที่ fotofaka.com แทบไม่เอารีวิวพวกกล้องหรืออะไรมาพวกนี้มาลงเลย

10) ตั้งใจดูซีรี่ย์

ใช่แล้ว ตั้งใจดูซี่รี่ย์ หนังชุดต่างๆ นี่แหละ มันทำให้คุณสามารถเรียนรู้การจัดองค์ประกอบได้ดีทีเดียว ดูฉาก ดูแสง และวิธีการจัดให้มาลงเฟรม องค์ประกอบไหน เอาไม่เอา

ส่วนมาคนทำหนัง คนจัดแสง เขาผ่านการถ่ายภาพมาแล้ว ส่วนมากการถ่ายภาพจะเป็นจุดเริ่มต้นของอาชีพพวกเขา ดังนั้นเมื่อคุณมองงานของพวกเขา คุณก็ได้พัฒนาด้านการจัดองค์ประกอบไปด้วย

11) ไปเที่ยวซะบ้าง

หลายคนรักที่จะอัพเกรดอุปกรณ์ ชอบซื้ออุปกรณ์ใหม่ๆ แต่ จะดีกว่าไหม หากเอาเงินนั่นไปเที่ยวที่ดีๆ เพื่อจะได้ภาพดีๆ

คุณจะรู้สึก มีแรงกระตุ้นขึ้นมาเมื่อไปถ่ายในสถานที่ใหม่ๆ

ถ้าเราไปถ่ายที่ใหม่ๆ ด้วยเลนส์ถูกๆ มันน่าจะดีกว่า นั่งอยู่บ้านกับอุปกรณ์แพงๆ

12) ใช้ขาตั้ง 

คุณได้ยินคำแนะนำนี้มากแค่ไหนแล้ว ผมเดาว่า อย่างน้อย 320 ครั้งได้แล้ว แต่ขาตั้งนี่จำเป็นมากๆ และมันทำให้การถ่ายรูปของคุณดีขึ้น เช่นกัน

เราไม่ได้พูดถึงเรื่องเทคนิค ที่ว่า มันจะช่วยให้ภาพคุณคมขึ้น แต่เราจะพูดถึงเรื่องการใช้ขาตั้งถ่ายรูปแบบช้าๆ เพื่อให้เกิดศิลปะของการถ่าย

อีกอย่าง การตั้งค่าขาตั้ง มันช่วยให้คุณตั้งใจที่จะถ่ายรูปนั้นมากขึ้น ตั้งใจจัดองค์ประกอบ อะไรที่อยู่ในกรอบ อะไรที่ควรอยู่นอกกรอบ

13) ถ่าย JPEG ซะบ้าง

มันง่ายที่จะถ่าย Raw file มาเพื่อความปลอดภัย มันช่วยในการทำรูปทีหลังได้เยอะ

การถ่าย JPEG มันยอมรับความผิดพลาดได้น้อยกว่า แม้ว่าจะแก้ภายหลังได้ก็จริง แต่ก็ทำได้น้อยกว่า ไฟล์ Raw

การถ่าย Jpeg มันทำให้คุณ ตั้งใจถ่าย ตั้งใจดู histogram มากขึ้น และพิจารณา แสง อารมณ์ ฯลฯ ที่คุณต้องการสร้างมันขึ้นมา ก่อนที่ไปปรับ white balance, picture style , และก่อนใส่ filter

14) ใช้ memory card เนื้อที่ไม่เยอะเกินไป

หลายคนถ่ายโดยคิดว่า มีเนื้อที่เยอะ กดๆ ไว้ก่อน  ฝรั่งจะบอกว่า spray and pray คือ ถ่ายมั่วๆเยอะๆ ไว้ก่อน แล้วค่อยมาภาวนาว่าจะได้ภาพที่ดีที่หลัง การใช้ เมมโมรี่เนื้อที่น้อยจะช่วยลดปัญหาตรงนี้ได้

15) ถ่ายโดยใช้ Live View Mode

เมื่อคุณถ่ายโดยใช้ Viewfinder คุณจะรู้สึกมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดกับการถ่ายภาพของคุณ

การใช้ Live View ก็เหมือนกับการที่คุณถอยออกมาอีกก้าว เพื่อดูภาพในจอของคุณ

ภาพที่ใหญ่กว่าที่แสดงในหน้าจอ Live View คุณจะรู้สึกดีกว่าในเรื่องของขนาด ของวัตถุ และ เมื่อภาพไปอยู่ในเฟรมจริงๆ (ภาพใน Viewfinder ไม่ได้ไปอยู่ใน หน้าจอทั้งหมด) ทำให้ง่ายขึ้น การตั้งค่าโฟกัส และ ค่าแสงก็ทำได้แม่นยำขึ้น

 

 

เขียนโดย Jeff Meyer

Credits: petapixel PhotoVenture,