20 เทคนิคการจัดองค์ประกอบ ที่จะช่วยให้ภาพของคุณสวยขึ้น ภาค 1

0
composition,การจัดองค์ประกอบ,กฏสามส่วน,สามเหลี่ยม,สมดุล
composition,การจัดองค์ประกอบ,กฏสามส่วน,สามเหลี่ยม,สมดุล

วันนี้ผมมี 20 แนวทางการจัดองค์ประกอบของคุณ Barry O Carroll  มาฝากกันครับ เป็นแนวทางการจัดองค์ประกอบว่า สิ่งต่างๆที่อยู่ในเฟรมนั้น ควรจะมีการจัดเรียงอย่างไรเพื่อให้ภาพออกมาดูน่าสนใจมากขึ้น ไปดูกันเลยดีกว่าครับว่ามีอะไรบ้าง

1.กฏสามส่วน

เชื่อว่าช่างภาพส่วนใหญ่น่าจะคุ้นหูกับกฏนี้มากที่สุด หรือหลายคนคิดอะไรไม่ออกก็ใช้กฏนี้เป็นที่ตั้ง กฏสามส่วนเป็นการแบ่งภาพออกเป็นสามส่วน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ส่วนไหนมีรายละเอียดที่น่าสนใจก็จะเก็บมาสองส่วน ที่เหลืออีก 1 ส่วน
จะมีจุดตัดที่เกิดขึ้นจากการแบ่งเป็นสี่เหลี่ยมเก้าช่องนี้ เรียกว่า “จุดตัด 9 ช่อง” เราก็วางสิ่งที่น่าสนใจบนจุดเหล่านั้นได้ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฏสามส่วนได้ที่นี่

ในภาพนี้  ได้วางเส้นขอบฟ้าไว้ที่ เส้นด้านล่าง และวาง ต้นไม้ที่ใหญ่ และใกล้สุดไว้ที่เส้นด้านขวา  ภาพนี้จะไม่ได้มี Impact แบบนี้ หากต้นไม้เหล่านั้นอยู่ตรงกลางภาพ

ภาพนี้ วางเส้นขอบฟ้าไว้ด้านบน เมืองส่วนใหญ่จะอยู่ส่วนกลาง และจตุรัส และผู้คนอยู่ส่วนล่าง และโบสถ์อยู่ใกล้เส้นทางขวา

2.ตรงกลางภาพ และ สมมาตร

จากที่เคยบอกว่าอย่าวาง Subject หลักไว้กลางภาพ ตอนนี้ผมจะมาพูดตรงข้าม มีบางครั้งที่วางจุดสนใจไว้กลางภาพแล้วออกมาได้ผลดี สมมาตรเป็นตัวอย่างที่ดี ในการวางจุดสนใจไว้กลางภาพ

ภาพนี้ถ่ายที่สะพาน  Ha’penny มันเหมาะที่จะถ่ายสมมาตรมาก การถ่ายสถาปัตยกรรมและถนนบ่อยครั้งที่เหมาะจะถ่ายในรูปแบบสมมาตร

3. ฉากหน้าที่น่าสนใจและความลึก

โดยทั่วไปภาพจะอยู่ในรูปแบบ 2 มิติ การใส่ฉากหน้าที่น่าสนใจเข้าไปในฉากเป็นทางที่ดีที่จะเพิ่มความลึกให้ภาพ ทำให้ดูมีมิติมากขึ้น รู้สึกเหมือน 3 มิติ

ภาพนี้เป็นน้ำตกในเนเธอร์แลนด์ หินตรงน้ำตกตรงนี้เป็นสิ่งที่เหมาะที่จะนำมาเป็นฉากหน้า การใส่ฉากหน้าที่น่าสนใจใช้ผลได้ดีกับเลนส์ Wide

ภาพนี้ถ่ายที่ Dublin Docklands โซ่ที่ท่าเรือนี้สามารถเป็นฉากหน้าได้ ทำให้รู้สึกถึงระยะห่างและความลึกได้

4. กรอบ

กรอบที่พูดถึงไม่ได้หมายถึงกรอบรูปที่อยู่ภายนอกรูป แต่หมายถึงสิ่งที่อยู่ในรูป สิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันใช้เป็นกรอบได้ สามารถเพิ่มความลึกของภาพได้เช่นกัน ทีเห็นบ่อยๆ ก็เป็น หน้าต่าง,ประตู ฯลฯ

ภาพด้านบนนี้ถ่ายที่ จตุรัส St Mark ในเมืองเวนิช โดยถ่ายฉากสวยๆผ่านประตูโค้ง ช่วยเพิ่มความลึก และบังคับสายตาไปยังจุดที่น่าสนใจ และในฉากไม่มีผู้คนพลุกพล่าน นี่เป็นประโยชน์ของการตื่นมาถ่ายตอน 5 โมงเช้า

กรอบไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ภาพด้านล่างนี้ถ่ายที่ไอร์แลนด์ ใช้ต้นไม้เป็นกรอบก็ได้ พยายามหากรอบจากสิ่งรอบๆตัวดู

อ่านเพิ่มเติมเรื่องกรอบได้ที่ สร้างภาพสวยๆ ด้วย Frame

5.เส้นนำสายตา

เส้นนำสายตาเป็นเส้นที่ดึงสายตาเราไปยัง Subject หรือสิ่งที่น่าสนใจในภาพ มีหลายอย่างที่สามารถนำเป็นเส้นนำสายตาได้ กำแพง, รูปแบบที่ซ้ำๆกัน (pattern)

ในภาพนี้ใช้รูปแบบที่ซ้ำๆกันของพื้น เป็นเส้นที่นำสายตาไปยังหอไอเฟล ที่ตำแหน่งนี้ เส้นบนพื้นทุกเส้นจะนำสายตาไปยังหอไอเฟล และหากใครสังเกตเห็น ภาพนี้ก็ให้จุดเด่นอยู่กลางภาพและมีลักษณะสมมาตร (ข้อที่ 2)

จุดนำสายตาไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรง เส้นโค้งก็สามารถดึงดูดสายตาได้ดี ในภาพนี้ เส้นถนนเลี้ยวไปทางขวาก่อนจะวกกลับมายังด้านซ้านหลังต้นไม้ และภาพนี้ยังใช้กฏสามส่วนอีกด้วย

อ่านเส้นนำสายตาเพิ่มเติมได้ที่ 6 เทคนิคในการสร้างเส้นนำสายตา ให้ภาพคุณเจ๋งขึ้น และ การจัดองค์ประกอบกับเส้นสาย โดย Drew Hopper

6. เส้นทะแยงและสามเหลี่ยม

บางคนคงได้ยินมาแล้วว่าสามเหลี่ยมและเส้นทะแยงช่วยเพิ่ม “dynamic tension” ให้ภาพ แล้วมันคืออะไร? สมมติว่าคุณเอาผู้ชายคนนึงไปวางบนเส้นแนวนอน เขาจะดูมั่นคง แม้ว่าเขาจะเพิ่งออกมาจากผับก็ตาม แต่หากไปวางบนเส้นเอียงเขาจะดูมั่นคงน้อยลง มันเป็นการสร้างความตึงเครียดทางสายตา และอาจรู้สึกว่ามีความเคลื่อนไหว

การรวมกันของเส้นทะแยง และสามเหลี่ยมจะช่วยสร้างความรู้สึกที่เรียกว่า “dynamic tension” สามเหลี่ยมที่ว่าอาจเป็นรูปร่างสามเหลี่ยมจริงๆ หรือสามเหลี่ยมโดยนัยก็ได้ จะอธิบายให้ฟังด้านล่างนี้

ภาพสะพานที่ Dublin นี้ มีการรวมกันของสามเหลี่ยมและเส้นทะแยง ตัวสะพานมีรูปร่างสามเหลี่ยมด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว แต่ก็มีสามเหลี่ยมโดยนัยอยู่มาก ลองสังเกตดูเส้นนำสายตาด้านขวาของภาพ มีเส้นเอียงเส้นเหล่านั้นรวมกันที่จุดเดียวแล้วเป็นรูปร่างสามเหลี่ยม เส้นทะแยงที่ออกไปยังทิศทางต่างๆจะช่วยเพิ่ม dynamic tension ให้ภาพ

ภาพโรงแรง de Ville ที่ปารีสนี่ เป็นสามเหลียมโดยนัย รวมกับมีเส้นเอียง ช่วยสร้าง Dynamic tension ให้ภาพ มุมมองรูปร่างแบบนี้เรามักไม่ค่อยเห็นในชีวิตประจำวัน มันส่งผลต่อความรู้สึกเสียสมดุลของภาพเรานิดหน่อย และนั่นหมายความว่าเราสร้างความตึงเครียดทางสายตาแล้ว

7. รูปแบบและพื้นผิว (Patterns และTextures)

มนุษย์จะถูกดึงดูดสายตาโดยอัตโนมัติโดย Pattern โดย Pattern นั้นอาจเกิดจากมนุษย์สร้งขึ้นเรียงต่อๆกันหรือธรรมชาติเช่นสวนดอกไม้  การมี pattern ในภาพช่วยทำให้ภาพดูน่าสนใจขึ้น พื้นผิวก็เช่นกัน

 

ภาพสองภาพด้านบนถูกถ่ายทีตูนีเซียทั้งคู่ ด้านแรกใช้ Pattern ของลวดลายบนพื้น ดึงดูดสายตา และนำสายตาไปยังโดม และตัวโดมเองก็มี Pattern ของประตูโค้งเหมือนๆกัน และหลังคาก็มีลักษณะโค้งมนเหมือนกัน และภาพที่สองนั้นแสงเงาสวยงาม แสงสาดมากระทบพื้นผิวบนพื้น, ผนัง และเพดาน เห็นลวดลายพื้นผิวสวยงาม และหากสังเกตให้ดีภาพนี้ตรงประตูเป็นกรอบอีกด้วย

8. กฏเลขคี่

ในโลกของการถ่ายภาพ มีความเชื่อที่ว่า Subject ที่เป็นเลขคี่นั้น ดึงดูดความสนใจได้มากกว่า การใช้เลขคู่นั้นมันจะดึงดูดความสนใจของกันและกัน และไม่รู้จะโฟกัสอันไหนดี เลขคี่จะเป็นธรรมชาติและดูสบายตากว่า

ตัวอย่างได้บนมีกรอบสามกรอบ ถ้าใช้สองกรอบมันจะแบ่งสายตาคนดูไม่รู้จะมองทางไหน และยังมีคนสามคนในภาพอีกด้วย

ภาพนี้เป็นคนพายเรือสองคนคุยกันที่เวนิช ภาพนี้ไม่ได้ใช้ กฏเลขคี่ มันอาจทำให้คุณให้ความสนใจทั้งคู่สลับไปสลับมา และนีเป็นฉากการคุยกันของคนสองคนสลับไปมา และด้วยเหตุผลนี้ภาพนี้เลยดูน่าสนใจถึงแม่จะเป็นเลขคู่

9. เข้าใกล้อีก

การเข้าไปใกล้ไม่ว่าจะเดินหรือซูม ช่วยลดพื้นที่ว่าง การลดพื้นที่ว่าบางสถานการณ์จะช่วยให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้น ทำให้คนดูโฟกัสกับ Subject หลักได้ง่ายขึ้น โดยไม่มีสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจ ทำให้คนดูสำรวจรายละเอียดต่างๆของ Subject ได้ หากถ่ายมามีพื้นที่ว่างที่ไม่จำเป็นก็สามารถ ครอป ภาพตอนแต่งภาพเพื่อให้ภาพดูแน่นขึ้นได้

 

ภาพสิงโตด้านบน ครอป พื้นที่ว่างออกให้เหลือแต่หน้าและสร้อยทำให้คนดูสามารถสำรวจรายละเอียดบนหน้าของสิงโตได้ง่าย และสัมผัสถึงพื้นผิว บนขนของมัน คุณอาจตระหนักได้ว่าภาพสิงโตนี้ผมใช้กฏสามส่วนเช่นกัน

ส่วนภาพที่สอง วิหาร Notre Dame ในปารีส เหลือส่วนที่ว่างไว้นิดหน่อย เพื่อไม่ให้แน่นเกินไป แต่ก็ยังเห็นรายละเอียดของสถาปัตยกรรมได้อยู่

10. สร้าง Negative Space

และเป็นอีกครั้งที่พูดขัดแย้งกันเอง ข้อเมื่อกี้เพิ่งบอกไปว่าตัดพื้นที่ว่างเพื่อให้ภาพดูน่าสนใจ คนสามารถโฟกัส Subject ได้ง่าย แต่การทำตรงกันข้ามก็ได้ผลเช่นกัน การสร้างพื้นที่ว่างๆ รอบๆ Subject ช่วยทำให้ภาพดูน่าสนใจและ ดึงดูดสายคาคนไปยัง Subject ได้ หากพื้นที่นั้นว่างจริงๆ ไม่รกหรือกวนสายตา

ภาพรูปปั้นเทพเจ้าฮินดูขนาดยักษ์นี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้ negative space แน่นอนว่ารูปปั้นคือ subject หลัก แต่เราจะสร้างพื้นที่ด้านซ้ายด้วยท้องฟ้าเท่านั้น มันทำให้ผู้คนยังสนใจไปยัง subject หลักอยู่ และมีพื้นที่ว่างให้หายใจได้ไม่แน่นเกินไป และการจัดองค์ประกอบดูเรียบง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อน มันเป็นรูปปั้นและมีท้องฟ้ารายล้อม แค่นั้นเอง และภาพนี้ยังใช้กฏสามส่วนอีกด้วย

อ่านต่อ: 20 เทคนิคการจัดองค์ประกอบ ที่จะช่วยให้ภาพของคุณสวยขึ้น ภาค 2

credits: petapixel | bocphotography

LINE it!