ใครยังไม่อ่านภาคแรก ตามไปอ่านกันก่อนนะครับ 20 เทคนิคการจัดองค์ประกอบ ที่จะช่วยให้ภาพของคุณสวยขึ้น ภาค 1 ไปต่อกันเลยดีกว่า
11. ความเรียบง่าย
จากข้อ 10 คุณพอจะรู้เกี่ยวกับการเว้นที่ว่างรอบๆตัว subject หลัก ไปแล้ว มันสามารถสร้างความเรียบง่ายได้ ความเรียบง่ายเป็นการจัดองค์ประกอบที่มีพลังโดยตัวมันเอง ความเรียบง่ายบ่อยครั้งที่ถูกถ่ายด้วยพื้นหลังที่ไม่รกหรือซับซ้อน ไม่ดึงดูดความสนใจจากสายตาไปจาก subject หลัก คุณอาจจัดองค์ประกอบง่ายๆโดยการซูมไปยังส่วนไปยังส่วนหนึ่งของ Subject และโฟกัสรายละเอียดบางส่วนเหล่านั้น
ในภาพแรก เป็นการซูมไปที่หยดน้ำบนใบไม้ มันเรียบง่ายแต่สวยงาม การมีเลนส์มาโครดีๆซักตัวเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มาก
ภาพต้นไม้ในตอนเช้า พื้นหลังไม่ชัด ไม่กระจุก ไม่รก ทำให้โฟกัสที่ต้นไม่ได้ชัดเจน ภาพนี้ก็ใช้ Negative Space เพื่อสร้างความรู้สึกเรียบง่าย และภาพนี้ก็ใช้กฏสามส่วนและเส้นนำสายตาด้วย
12. การแยก Subject ออกจากพื้นหลัง
การใช้ความชัดตื้นแยก Subject ออกจากพื้นหลังเป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการถ่ายหน้าชัดหลังบลอหรือโบเก้ ตามไปอ่านได้ที่ วิธีการถ่าย โบเก้
13. เปลี่ยนมุมมอง
ภาพส่วนใหญ่ถ่ยที่ระดับสายตา การเปลี่ยนมุมมองให้สูงขึ้นหรือต่ำลง ทำให้ได้มุมมองที่แปลกตา ต่างจากระดับที่เราเห็นปกติ ช่วยให้ทำให้ดูภาพน่าสนใจมากขึ้น ช่างภาพถ่ายสัตว์ป่าบางคนยอมนอนราบลงบนโคลนเพื่อให้ได้ภาพที่สวยงาม
ภาพนี้ถ่ายช่วงกลางคืนที่ปารีสบนหลังคาตึก Montparnasse เมื่อต้องไปในเมืองผมพยายามหาตึกสูงๆ ที่สามารถถ่ายจากด้านบนได้
บางครั้งการหาจุดที่ดีจำเป็นต้องให้เท้าเปียกน้ำ
14. ใช้สี
การใช้สีเป็นเครื่องมือที่หลายคนมองข้าม ทฤษฎีสี นอกจากกราฟฟิกดีไซเนอร์ แฟชั่นดีไซเนอร์ และ นักออกแบบภายใน แล้วช่างภาพก็จำเป็นต้องรู้ หากเข้าใจเรื่องสีและการให้อารมณ์ของแต่ละสี คุณจะทำให้ภาพดูน่าสนใจขึ้น อ่านการใช้สีได้ที่ มาทำความเข้าใจเรื่องสี กันเถอะ
ภาพนี้ใช้สีน้ำเงินของท้องฟ้าและเหลืองของ Custom House ใน Dublin ทำให้ภาพดูน่าสนใจ
ภาพนี้ก็เป็นการใช้สีตรงข้าม ผมชอบถ่ายเมืองช่วง Blue Hour ฟ้าสีน้ำเงินเข้มกับแสงไฟในเมืองมันให้ได้ภาพที่น่าใจ หากรอให้ฟ้ามืดจนสีดำก็จะดูไม่น่าสนใจแล้ว
15. กฏของที่ว่างและทิศทาง
ที่ว่างจะสัมพันธ์กับทิศทางการเคลื่อนไหวของ Subject สมมติคุณถ่ายรูปรถที่กำลังเคลื่อนที่จากซ้ายไปขวา ก็ควรเว้นที่ว่างด้านขวาไว้ เพราะคนดูจะรู้สึกว่ามีที่ว่างให้รถไปได้ จะไม่อึดอัด และเป็นการใช้ที่ว่างให้มีประโยชน์
ในภาพนี้เรือแล่นจากซ้ายไปขวา จึงเว้นที่ว่างด้านขวาไว้ ทำให้เราจินตนาการได้ว่าเรือจะไปทางนั้น
นักดนตรีที่นั่งด้านซ้ายหันหน้าไปทางขวา ทำให้นำสายตาไปยังด้านขวา แม้ไม่เป็นที่ว่าง แต่ก็มีเรื่องราวอยู่ ทำให้ภาพดูน่าสนใจและมีเรื่องราว
16. กฏซ้ายไปขวา
มีทฤษฎีการอ่าน ที่ว่าเราอ่านจากซ้ายไปขวา เมื่อดูภาพเราก็จะดูจากซ้ายไปขวาเช่นกัน ด้วยทิศทางการดูภาพแบบนี้ถ้าให้ subject ในภาพ เคลื่อนที่ทิศทางเดียวกับการดูภาพ หรือใช้เส้นนำสายตานำจากซ้ายมายัง Subject ที่น่าสนใจทางขวา ก็ทำให้ภาพดูน่าสนใจได้
ภาพนี้ทำตามกฏซ้ายไปขวา ผู้หญิงกำลังเดินไปกับสุนัขของเธอในสวนที่ปารีส และภาพนี้ยังคง ทำตาม กฏของที่ว่างและทิศทาง และกรอบ อีกด้วย
17. สมดุล
จาก guideline ข้อแรก “กฏสามส่วน” นั้น หากเราวางตรงเส้นแนวตั้ง หากเราพิจารณาไม่ดี จะทำให้ขาดสมดุลได้ เพื่อจัดการเรื่องนี้ คุณอาจต้องหา Subject รองมาช่วยรักษาสมดุล
นี่อาจขัดกับข้อ 10 ว่าด้วยเรื่องที่ว่าง และ เลขคี่ แต่อย่างที่รู้ว่าไม่มีกฏไหนที่แหกไม่ได้ หากมันออกมาสวยก็โอเค แนวทางบางอย่างอาจดีกับบางสถานการณ์แต่ใช้ไม่ได้กับสถานการณ์อื่น
ภาพนี้ถ่ายที่เวนิช โบสถ์ด้านหลังที่เห็นจริงๆแล้วมันสูงกว่าเสาไฟนี้ แต่ด้วยระยะทางทำให้เล็กลง และทำให้ภาพนี้ดูสมดุล และมีความลึกหรือมิติของภาพอีกด้วย
18. เทียบเคียง
การเทียบเคียงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากๆในการจัดองค์ประกอบ การเทียบเคียงคือการวางองค์ประกอบ 2 หรือ มากกว่านั้น เพื่อให้ขัดแย้งกัน หรือ คล้อยตามกัน มันทำให้ภาพดูน่าสนใจและมีเรื่องราว
ภาพนี้ถ่ายที่ปารีส ด้านล่างของภาพเป็นหนังสือวางไว้ ค่อนข้างดูรก แน่นๆและมีโปสการ์ดแขวนอยู่ด้านบน แตะฉากหลังเป็นวิหารทีสวยงาม ไม่เหมือนกับฉากหน้า มันดูขัดแย้งกัน แต่มันก็แสดงความเป็นปารีสในมุมมองที่แตกต่างออกไป มันเล่าเรื่องเกี่ยวกับความแตกต่างทั้งสองอย่าง
มาดูภาพนี้กันบ้างรถเก่า กับตัวอาคารที่ฉากหลัง ให้ความรู้สึกคล้อยตามกัน ชายที่อยู่ที่ร้านเป็นเจ้าของรถรู้สึกแปลกใจที่ผมไปขอถ่ายรถ เขาสงสัยว่าทำไมชอบถ่ายอะไรเก่าๆ ดูเหมือนเขาไม่รู้ว่าการมีรถเก่ามาจอดที่แบบนี้เป็นอะไรที่น่าสนใจมาก
19. สามเหลี่ยมทองคำ
คล้ายๆกฏสามส่วน แต่แทนที่จะแบ่งด้วย 4 เหลี่ยม กลับแบ่งด้วยเส้นทะแยงมุม ลากเส้นทะแยงมุมใหญ่เส้นนึง และเส้นเล็กมาตั้งฉากกับเส้นใหญ่ อย่างที่เห็นมันช่วยเพิ่ม dynamic tension ตามที่เคยกล่าวไปในข้อ 6
ภาพด้านบนเป็นไปตามกฏสามเหลี่ยมทองคำ เส้นแสงไฟ วิ่งไปตามเส้นทะแยงมุม จากขวาบนไปซ้ายล่าง ด้านมุมบนซ้ายของตัวอาคารจะมีเส้นเล็กๆเกือบเองมาตามเส้นด้านซ้าย
ภาพนี้พยายามจะถ่ายเป็นแบบสามเหลี่ยมโดยนัย (ข้อ6) เส้นพยายามนำสายตาเราไปยังหอไอเฟล เส้นเล็กทางด้านซ้ายลากมาจุดที่กึ่งกลางของหอไอเฟล เส้นเล็กด้านขวาลากมาจบที่กึ่งกลางระหว่างรูปปั้นทั้งสอง แนวทางนี้ดูเหมือนซับซ้อน แต่มันก็ได้ผลดีมากๆ
20. สัดส่วนทองคำ
สัดส่วนทองคำเป็นสัดส่วนที่งดงามที่สุดในธรรมชาติมาจาก ลีโอนาโด ฟีโบนัชชี นักคณิตชาวอิตาลี พยายามใช้ตัวเลขมาอธิบายความงามของธรรมชาติ
ในบทความนี้จะไม่พิสูจน์สูตรให้วุ่นวายนะครับ แต่จะจำว่าอัตราส่วนเป็น 1 : 1.618 ก็ได้ ฟังดูยากแต่จริงๆมันง่ายพอๆกับกฏสามส่วน แต่แทนที่จะเป็นเส้นสี่เหลี่ยม จะเป็นเส้น ฟี (Phi Grid) แทน โดยการลากเส้นคล้ายก้นหอย ที่เรียกว่า Fibonacci Spiral หรือ Golden Spiral
คือให้วัตถุอยู่ในเส้นฟี นี้ จะทำให้วัตถุเหล่านั้นดูสัมพันธ์กัน (แต่จริงๆ เกิดจากความสัมพันธ์ของ Fibonacci Spiral) และทำให้ภาพดูน่าสนใจได้
จะเห็นว่าเส้นตรงราวบันไดจะเป็นไปในแนวเดียวกับเส้น Golden Spiral และลากยาวมาถึงผู้หญิงสองคน แม้มันไม่คล้อยตามเส้น Golden Spiral เป๊ะๆ แต่ก็ได้ผลดีเลยทีเดียว
โดย สัดส่วนทองคำนี้ สามารถหมุนปรับทิศทางได้ เส้นจะมาจากสะพาน ไปจบที่ปราสาท ทำให้องค์ประกอบภาพดูสวยงาม
ที่พูดว่ากฏนี่จริงๆก็คือแนวทางนะครับ บางคนอาจเข้าใจแนวทางพวกนี้ดีแล้ว และไม่ทำตามนี้ แล้วได้ภาพสวยๆก็ไม่แปลกครับ มันเป็นแนวทางสำหรับคนที่เริ่มหรือจับจุดไม่ถูกว่าต้องใช้องค์ประกอบแบบไหน และสุดท้ายมันอยู่ที่เราจะสื่อความหมายจากภาพไปยังคนดูด้วย บางภาพต้องการสื่อความหมายแบบหนึ่ง ก็อาจต้องทำตรงกันข้ามกับแนวทางเหล่านี้ และผลลัพธ์ก็ออกมาดี ก็เป็นได้
credits: bocphotography