5 เทคนิคการถ่ายภาพสินค้าของมืออาชีพ

0

ในยุคที่ตลาดซื้อขายออนไลน์กำลังรุ่งโรจน์ ใครๆก็สามารถขายของได้ ภาพเป็นสิ่งเดียวที่ลูกค้ามองเห็น ดังนั้นภาพที่สวยงามต้องตาต้องใจกว่า มักจะขายดีกว่า วันนี้ผมเลยอยากแบ่งปันเทคนิคการถ่ายภาพสินค้าจากช่างภาพ commercial product มืออาชีพอย่าง David Butler 

1)การถ่ายภาพสินค้ามักเล่าเรื่องราว แต่คุณเล่าเรื่องเราได้อย่างถูกต้องหรือเปล่า

รายละเอียดทุกๆอย่างที่อยู่ในเฟรม จะถูกสื่อสารไปยังผู้ชม ทำให้พวกเขารู้สึกตามไปด้วย เช่น โทนภาพ, จุดโฟกัส, องค์ประกอบ และอื่นๆ ดังนั้นควรใส่ใจทุกรายละเอียด

เข้าใจทฤษฏฎีสีและใช้ประโยชน์จากมัน (อ่านพื้นฐานสีเพิ่มเติม)

แค่สีอย่างเดียวมันก็สามารถสร้างความรู้สึกต่างๆได้แล้ว เช่น ความสามัคคี, ความน่าเชื่อถือ, ความหรูหรา ขณะเดียวกันก็สร้างแรงกระตั้นบางอย่าง เช่น ความตึงเครียดได้เช่นกัน

สีเป็นวิธีที่ดีในการสร้างความรู้สึกให้แบรนด์ เป็นเครื่องมือสื่อสารที่คนดูสามารถรับรู้ได้ไว ในโทนเดียวกันจะให้ความรู้สึกต่างกันเมื่อจับคู่สีต่างกัน ตัวอย่างภาพด้านล่าง สีแดงคู่กับสีขาว และสีแดงคู่กับสีดำ ภาพด้านซ้ายจะให้ความรู้สึก มีความสุข, ปลอดภัย, สดชื่น, สะอาด ขณะที่ภาพด้านขวาให้ความรู้สึก ลึกลับ, ล่อลวง, เสี่ยง เป็นต้น

เรื่องของแสง

แสงเป็นสิ่งมหัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งจากธรรมชาติ  มันดูเรียบง่าย แต่ยังดูซับซ้อนมากที่จะเข้าใจมันอย่างถ่องแท้
มันสามาถเป็นเพื่อนที่ดี หรือศัตรูที่ร้ายกาจได้ และส่วนใหญ่การถ่ายภาพสินค้ามักจะถ่ายในสตูดิโอซึ่งเราควบคุมแสงได้ เพราะฉะนั้นอย่าคิดมากจนเกินไป

ผมเริ่มด้วยการใช้แหล่งกำเนิดแสงตัวเดียว และเริ่มต้นจากตรงนั้น ใช้สมองจินตนาการดูว่าแสงที่ตกกระทบวัตถุจากทิศต่างๆ จะทำให้เกิดผลลัพธ์อย่างไร และปรับหรือย้ายไฟทีละดวง จะทำให้รู้ว่าแสงแต่ละดวงส่งผลอย่างไรกับภาพจริงๆ มันช่วยประหยัดเวลาในการแก้ปัญหาไปได้มาก เช่นการตรวจหาแสงสะท้อนที่ไม่ต้องการ, การจัดการเงา เป็นต้น

ความเป็นศิลป์

การถ่ายภาพสินค้าดูเหมือนจะเป็นเรื่องเทคนิคมากกว่าศิลปะ โดยเฉพาะถ่ายแคตตาล็อก อย่างไรก็ตามการถ่าย Conceptual สามารถใช้แสงมาสร้างงานศิลป์ได้ ในเรื่องของแสงควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

  • แสงจะช่วยให้โฟกัสไปที่แบรนด์ และเห็นโลโก้ชัดเจนหรือไม่
  • แสงสามารถเน้นรูปร่าง,ดีไซน์ และ วัสดุที่ใช้ ได้หรือไม่
  • แสงจะถ่ายถอดอารมณ์ออกมาเป็นแบบไหน

ตัวอย่างด้านล่างเป็นการใช้แสงที่ต่างกันในสินค้าตัวเดียวกัน อารมณ์ที่ได้จะต่างกัน

2) แสงธรรมชาติ หรือแสงจากไฟประดิษฐ์

ไม่มีผิดหรือถูก ขึ้นกับงานที่ถ่าย

แสงธรรมชาติ

ข้อดี

แสงธรรมชาติจากหน้าต่าง เรียบง่าย และไม่แพง สามารถส่องแสงมายังสินค้าได้สวยงาม โดยเฉพาะถ้าอยากได้ความรู้สึกแบบธรรมชาติ หรือแนวออร์กานิก แค่จัดองค์ประกอบและถ่าย เหมาะสำหรับถ่ายลง social media, ขายออนไลน์ และอื่นๆ

ข้อเสีย

  • ควบคุมได้น้อย แสงธรรมชาติเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ทำให้อย่างอื่นเปลี่ยนไปด้วย เช่น สี, อารมณ์ และ การตั้งค่ากล้อง อาจเกิดปัญหาหากถ่ายสินค้าจำนวนมากๆลงแค็ตตาล็อก เพราะอารมณ์ภาพจะต่างกัน
  • แสงธรรมชาติบางช่วงเวลา และสถานที่ อาจสว่างไม่พอ ทำให้ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลง หรือ ISO ที่สูงขึ้นทำให้เกิด noise
  • อาจทำให้เกิดแสง ambient เช่นการสะท้อนหรือ สีจากแหล่งอื่นมาผสม

ภาพตัวอย่างของแสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ แสงธรรมชาติดูเป็นธรรมชาติและเข้าถึงได้ง่าย ขณะที่ไฟสตู ช่วยให้พื้นผิวและโทนเด่นขึ้นมา 

แสงประดิษฐ์

ประโยชน์

  • ให้แสงที่คงที่ ซึ่งแสงที่คงที่จะเป็นประโยชน์มาก เมื่อถ่ายภาพชุด จะให้แสงสีที่เป็นไปทางเดียวกัน
  • ควบคุมได้ การใช้ไฟสตู จะต้องมีอุปกรณ์มากมาย มีความยืดหยุ่น สามารถจัดไฟได้ตามจินตนาการ เพื่อให้เข้ากับสินค้า

ข้อเสีย

  • แพง การใช้ไฟสตูดิโอเล็กๆ ระดับล่าง ราคาสามารถเอิ้อมถึงได้ แต่หากเป็นระดับสูงแล้วมันจะแพงมาก 
  • ต้องใช้พื้นที่เยอะ ไฟสตูดิโอ จะต้องใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ขาตั้งไฟ, ขา boom, และอื่นๆอีกมากมาย
  • ต้องใช้เวลาในการศึกษา ขึ้นอยู่กับขนาดของทีมคุณและ ประสปการณ์ในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งต้องรู้วิธีการใช้อุปกรณ์ต่างๆทั้งหมด ผมแนะนำให้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องเรียน และลองใช้ดูก่อนที่จะซื้อมัน

ภาพด้านซ้ายเป็นตัวอย่างการใช้เทคนิค Splash เพื่อสื่อถึงการทำความสะอาดแบบธรรมชาติ ด้านขวาเป็นตัวอย่างเทคนิคการใช้ Splash เพียงแค่แสดงว่าเขาทำได้

3. เพียงเพราะว่าทำได้ ไม่ได้หมายความว่าควรทำ

ทำตามเทรน

บ่อยครั้งที่เราเห็นการจัดแสงดีๆ หรือเทคนิคดีๆ ก็อยากจะใช้ตาม แต่มันจะเข้ากับสินค้าที่จะถ่ายหรือ? เทคนิคและการจัดแสงแต่ละแบบ อาจไม่เข้ากับแบรนด์สินค้าที่เราจะถ่ายก็ได้

การจัดรูปแบบพร็อพและสินค้า

การออกแบบหรือ Styling  เป็นสิ่งที่ท้ายทาย เป็นงานฝีมือ ต้องใช้สายตาที่ดี รสนิยม และความอดทน นี่เป็นข้อควรคิดเล็กๆน้อยๆสำหรับ styling

  • Less is more ยิ่งน้อยยิ่งมาก  ใช้ประโยชน์จาก Negative space
  • พร็อพ มีหน้าที่เสริมเรื่องราว แต่ไม่ใช่ฮีโร่ อย่าให้เด่นเกินตัวสินค้า
  • พิจารณาพื้นผิว พิ้นผิวที่จะวางสินค้าให้ความรู้สึกของสถานที่ได้ ขณะเดียวกัน หากใช้สีทึบ (solid color) จะให้ความรู้สึกสะอาดและเรียบง่าย
  • คำนึงถึงความชัดเจนของโลโก้สินค้า 

การทำงานร่วมกับ stylist ที่เข้าใจแบรนด์จะช่วยลดความเครียด และประหยัดเวลา และได้ภาพที่สวยขึ้นอีกด้วย

4. เล่าเรื่อง

เราต้องเข้าใจสินค้าและแบรนด์ เข้าถึงการออกแบบ และข้อความที่เขาจะสื่อ ผมชอบถ่ายรายละเอียดและเรื่องราวของสินค้า เหมือนกับช่างภาพ portraits ที่ต้องเข้าใจตัวแบบ

ในทุกๆเส้น ส่วนโค้งทุกโค้ง ทุกรายละเอียดมันมีจุดประสงค์ของมัน และเป็นลักษณะเฉพาะตัว ภาพสินค้าที่ดี จะให้ความรู้สึกได้ว่า มันรู้สึกอย่างไร กลิ่นอย่างไร หรือบางกรณี เสียงเป็นอย่างร เช่นฟองจากเครื่องดื่มน้ำอัดลม หรือเสียงติ๊กต๊อกของนาฬิกา เป็นต้น

5. ถ่าย,แต่ง,พิมพ์,แต่ง,พิมพ์

ผมคิดว่าในกระบวนการพิมพ์ภาพ เราต้องอยู่กับมันซักวันสองวัน ลองพิมพ์ภาพออกมา แล้วปรับแต่งภาพ และพิมพ์ออกมาใหม่ ผลลัพธ์ในตอนท้ายที่ได้จะคุ้มค่า แม้ว่าผลลัพธ์สุดท้ายของคุณไม่ใช่งานพิมพ์ก็ตาม
ภาพที่ได้จากการพิมพ์จะต่างจากที่เรามองหน้าจอดิจิตอล  ผมพบว่าการติดภาพไว้ที่ฝาผนัง ถอยหลังออกมา แล้วมองมัน มันจะแสดงอะไรหลายอย่างที่เรามองไม่เห็นบนหน้าจอ กระบวนการดังก่าวอาจไม่เหมาะนักกับการถ่ายภาพจำนวนมากเพื่อทำแค็ตตาล็อก

สุดท้ายดูงานก่อนหน้านี้ของคุณและงานปัจจุบันบนฝาผนัง ช่วยตรวจสอบข้อผิดพลาดต่างๆได้

หวังว่าจะได้รับความรู้ด้านการถ่ายภาพสินค้ากันไปไม่มากก็น้อย หากต้องการจะถ่ายภาพสินค้า ลองฝากประวัติและผลงานของคุณกับ Fastwork.co เพื่อเป็นช่องทางในการรับงานได้ นอกจากนี้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ต้องการรูปสินค้าสวยๆ ก็สามารถมองหาฟรีแลนซ์จาก Fastwork.co ได้เช่นกันครับ

credits: Instagram | petapixel