5 เคล็ดลับที่ช่างภาพทุกคนควรศึกษา

0

Pedro Quintela ครูสอนประวัติศาสตร์และช่างภาพฝีมือดีคนหนึ่ง เป็นคนที่สร้างแรงบันดาลใจให้ใครหลายๆคน และ เขาถูกถามบ่อยๆว่า เบื้องหลังภาพสวยๆของเขามีเคล็ดลับอะไรบ้าง ไปฟังเรื่องราวที่เขาแนะนำกันเลยครับ

Dance With Me Tonight by Pedro Quintela on 500px.com

  1. อุปกรณ์, แรงบันดาลใจ, จินตนาการ
         อุปกรณ์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงกล้องที่ดีที่สุดในโลก มีภาพสวยๆมากมายที่เราเห็นทุกวันนี้ ถ่ายด้วยกล้องราคาถูก สเปคไม่สูง บางครั้งการรู้จักอุปกรณ์ของคุณดีพอสามารถให้ภาพที่ดีกว่าการที่มีกล้องเป็น100ล้านพิกเซล แต่ไม่รู้จักใช้ ถามคุณดูว่าปรับโหมดของกล้องเป็นไหม แล้วแต่ละโหมดต่างกันอย่างไร เลนส์ที่คุณใช้มีจุดที่ชัดที่สุดอยู่ที่รูรับแสงเท่าไหร่  (sweet spot อยู่ที่ไหน) กี่ครั้งที่เราพลาดช็อตสำคัญๆ เพราะไม่รู้จักกล้องดีพอ, ISO สูงเกินไป, ชัตเตอร์สปีด ช้าไป เป็นต้น การรู้จักกล้อง และการตั้งค่า ทำให้เราถ่ายทอดความคิดเราออกมาเป็นภาพได้ง่ายและสะดวกขึ้นมาก และไม่พลาดช็อตสำคัญๆอีกด้วย
    แรงจูงใจ หรือแรงบันดาลใจ มีบทบาทสำคัญมากในอาชีพนี้ พวกเราเคยสูญเสียมันไปกันทั้งนั้น แต่เราต้องหามันให้เจอ พี่ที่จะหยิบกล้องออกไปถ่ายรูป แค่ความมั่นใจมันก็เพียงพอแล้วที่ทำให้เราออกไปไหนซักที่ และบันทึกภาพเข้าไปในการ์ดหน่วยความจำ ภาพวาด ศิลปะ ดนตรี ผู้คน หนังสือ ภาพยนตร์ มันเป็นแรงบันดาลใจในการถ่ายรูปได้หมด
    จินตนาการเป็นฝันร้ายสำหรับผมมาตลอด เพื่อนผมหลายๆคนหัวเราะเกี่ยวกับเรื่องนี้ คิดว่าผมล้อเล่น แต่มันเป็นเรื่องจริง ผมเป็นคนที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์เอาเสียเลย บางทีอาจเป็นเพราะผมเริ่มก้าวสู่วงการถ่ายภาพตอนผม สามสิบปลายๆแล้ว หรืออาจเป็นเพราะบุคลิกภาพของผมเอง แต่ผมก็ต้องหามัน แล้วผมจะหามันได้อย่างไร เคล็ดลับคือ…
    ไม่มีสูตรตายตัวหรอกครับ คุณอาจมีจินตนาการในตัวคุณหรืออาจไม่มี ทุกวันนี้ผมก็ยังคงลองถ่ายจัดองค์ประกอบให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะลองได้ หาแรงบันดาลใจในภาพเหล่านั้น และหวังว่ามันจะช่วยปิ๊งไอเดียขึ้นมาได้
  2. _Dream Chaser_ by Pedro Quintela on 500px.com

  3. องค์ประกอบ
    เมื่อคุณไปถ่ายในที่แห่งหนึ่งที่ว่าสวยนั้น มุมมองที่คุณเห็น และจับจังหวะภาพมาลงในหน่วยความจำได้ เป็นเรื่องสำคัญ  การมองผ่านช่องมองภาพจะสร้างอีกมิติขึ้นมา กล้องเรามีตัวแปรหลากหลายมาก (เซนเซอร์, มุมมองของเลนส์,ความสูง ฯลฯ) ที่ทำให้ได้ภาพแตกต่างกันกับสิ่งที่ตาเราเห็นปกติ หากเราไม่มีภาพในหัวว่าอยากได้อะไรประมาณไหร ก็ลองส่องผ่าน ช่องมองภาพ เพื่อหาองค์ประกอบที่เหมาะสมที่คุณชอบ มันเป็นเรื่องที่ท้าทาย และสำคัญต่อภาพคุณมากๆ ต้องรู้สึก คิด วิเคราะห์ เพื่อจับภาพมา
    บทความนี้เราไม่ได้พูดถึงกฏการจัดองค์ประกอบ  แต่คุณมีหลากหลายวิธีที่จะสร้างองค์ประกอบที่สวยงามออกมาได้ ที่เราเห็นทั่วไปก็มี กฏสามส่วน, เส้นนำสายตา, ความลึก สิ่งพวกนี้เห็นบ่อยมากในงานของผม คุณอาจใช้มันเดี่ยวๆ หรือผสมกันก็ได้ จะได้ภาพออกมาน่าสนใจ เช่นเมื่อถ่าย Landscape นอกจากจะเพิ่มความลึกให้ภาพแล้ว เราอาจใช้การเทียบขนาดเข้าไปในการจัดองค์ประกอบด้วย สิ่งสำคัญอีกอย่างคือแสง มันจะช่วยให้ภาพคุณดูโดดเด่นได้
  4. You, Me and the Universe by Pedro Quintela on 500px.com

  5. ทำให้เรียบง่าย
    ความเรียบง่ายคือสิ่งที่สำคัญมากที่ผมพยายามทำมันอยู่ มันอาจเป็นเรื่องของรสนิยมส่วนตัว ผมไม่ค่อยสนใจภาพที่มีสิ่งต่างๆมากมายอยู่ในฉาก มันกวนสายตาผู้ชม ทำให้ยากต่อการเข้าใจ สมองของคนเราแทบถ่ายจะตัดสินโดยสัญชาตญาณว่าภาพนี้เราชอบมันหรือไม่  เมื่อคุณแชร์รูปของคุณ คุณมีเวลาไม่นาน(ไม่เกิน 15 วินาที) เพื่อให้ผู้คนสนใจภาพของคุณ เมื่อมันดูง่ายน่าสนใจ ผู้ชมก็จะดูต่อ และพยายามเข้าถึงภาพของเรา สำหรับผมไม่มีรางวัลอะไรที่ดีไปกว่าผู้ชมบอกว่า “ฉันไม่สามารถหยุดดูภาพของคุณได้”
    ผมไม่เคยใช้ elements เกิน 3 ชิ้น ในงานของผมยิ่งมากทำให้มีการเบี่ยงเบนความสนใจมากขึ้น รวมถึง negative space และให้ภาพมีพื้นที่ว่างให้หายใจบ้าง ทำให้ไม่อึดอัด เรื่องสีก็เช่นกันมีสีน้อยๆ เรียบง่าย ก็อาจดูน่าสนใจกว่ามีสีเยอะๆแต่ไม่มีสีไหนเด่นเลยดูเบี่ยงเบนความสนใจไปหมด
  6. Nothing Left to Lose by Pedro Quintela on 500px.com

  7. สีจะดูต่างออกไปในอุปกรณ์ต่างๆ และการใช้สี
    สีที่แตกต่างในอุปกรณ์ต่างๆเป็นปัญหาสำคัญ บางที่จอคุณอาจฟ้าไป เหลืองไป หรือสีไม่ถูกต้องแต่คุณไม่รู้เพราะไม่มีตัวเปรียบเทียบ มีหลายอุปกรณ์ที่ช่วยในเรื่องนี้ได้ และวิธีการที่ดีที่สุดคือ calibrate หน้าจอ และถ้าคุณจะพิมพ์ภาพออกมาคุณต้องศึกษามันเพิ่มเติมอีก และมีความลับบางอย่างที่คุณควรรู้ ปกติผมจะดูภาพในอุปกรณ์ 2-3 เครื่องที่ต่างกัน และขนาดที่ต่างกัน ผมทำมันเพราะ 2 เหตุผลดังนี้ 1) เพื่อให้รู้ว่าผู้ชมเห็นภาพแบบไหนในหน้าจอเขา 2)  ดูว่าภาพจะออกมาสวยไหมเมื่อขนาดเล็กลง หากภาพมันดูน่าสนใจทันทีในมือถือ แสดงว่าภาพนั้นมีศักยภาพ
    อีกอย่างคือ หลักการใช้สี การหา และถ่ายภาพที่มีสีออกมาสวยๆนั้นไม่ง่าย บางครั้งก็ใช้สีโทนเดียว(ใกล้กันในวงล้อสี) บางครั้งก็ใช้สีตรงข้าม อย่างแรกเห็นบ่อยมาในธรรมชาติ มันดูสบายตา ในงานของผมใช้สีตรงข้ามเมื่อยากเน้นบางอย่างขึ้นมา  และบางครั้งก็ใช้ Triad หากยังไม่เข้าใจลองดูลิงค์นี้เพิ่มเติม มาทำความเข้าใจเรื่องสี กันเถอะ
  8. Shadowland by Pedro Quintela on 500px.com

  9. ความหมายของภาพ
    เราต่างก็อยากแบ่งปันภาพลงบนโลกออนไลน์ อยากให้คนเห็นงานเราเยอะๆ เป้าหมายคือสื่อความรู้สึกไปยังผู้ชม พยายามโชว์ผลงานที่ดีที่สุดของคุณ ผมไม่ได้หมายถึงภาพที่มี detail เยอะๆ ภาพคมๆ หรือ ใช้เทคนิคอลังการ แต่หมายถึงภาพที่มีความหมาย หรือสื่ออารมณ์ให้ผู้ชมได้ดี แทนที่จะถ่ายภาพคนสวยๆ เพราะว่าคนสวยอยู่แล้ว ทำไมไม่สร้างเรื่องราวขึ้นมา อาจใส่ props หรือ มุมมองของบุคคลที่ 1 เข้าไป มันช่วยให้มีเรื่องราวมาดขึ้น และดึงอารมณ์คนดูออกมาได้ ลองถ่ายหลายระยะ และมุมมองแสงที่ต่างกัน คุณจะประหลาดใจถึงแสงและเงาที่เปลี่ยนไป และส่งผลกระทบต่อภาพ
    เราเห็นหลายภาพที่ชื่อภาพไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับภาพเลย ช่างภาพบางคน ปิดกั้นความคิดหรือ ชี้นำไปไม่ถูกทางโดยการใส่ชื่อภาพที่ไม่เข้ากัน เพื่อนผมเคยบอกว่า “ให้ภาพอธิบายของมันเอง” ไม่ต้องไปใส่ชื่อหรือรายละเอียด เพราะมันอาจรบกวนผู้ชม ผมไม่เห็นด้วยทั้งหมด มันเป็นเหตุผลว่าทำไมผมไม่ลงภาพเยอะๆทีเดียว ผมลงอาทิตย์ละภาพ ต้องการโชว์ผลงานที่ดีที่สุด ทุกภาพที่ผมโพสต์นั้นต้องการปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม ต้องการอธิบายมันถึงที่มาที่ไป มาจากหนังที่ดู จากเพลงที่ฟัง ฯลฯ ประสบการณ์เหล่านี้เป็นประสบการณ์เฉพาะ ผมเชื่อว่าผู้ชมที่ดูภาพของคุณ เขาสมควรได้รับรางวัลเป็นเรื่องราวของภาพนั้นๆ

Chasing the Sunset by Pedro Quintela on 500px.com

Winter Tale by Pedro Quintela on 500px.com

credits: 500px