
ISO เป็นค่าหนึ่งที่อยู่ในสามเหลี่ยม Exposure แต่จริงๆแล้วมันคืออะไรกันแน่
ในกล้องฟิลม์คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่านี้ได้ยกเว้นคุณเปลี่ยนฟิลม์ แต่ในกล้องดิจิตอล คุณสามารถเปลี่ยนมันได้ในแต่ละครั้งที่จะถ่าย แต่เมื่อคุณกล้าที่จะเร่ง ISO ไปสูงๆ สิ่งที่ตามมาก็คือ noise บนภาพ
นั่นทำให้เราถูกขังอยู่ในความคิดที่ว่าต้องใช้ ISO ช่วงแคบๆ (ต่ำๆ)
ความจริงแล้วกล้องรุ่นใหม่ๆมีความสามารถทำให้คุณใช้งานได้ยืดหยุ่นขึ้น รวมถึงการถ่าย ISO สูงๆด้วย ตอนนี้กล้องสามารถถายได้ที่ ISO 25,600 และสูงกว่านั้น เป็นตัวเลขที่ไม่เคยได้ยินเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว
และ ในยุคนี้ เมื่อปรับ ISO สูง noise ก็ไม่ได้เยอะเหมือนเก่า ลองดูกราฟต่อไปนี้
กราฟแสดงให้เห็นว่ายุคนี้คุณสามารถเพิ่ม ISO ได้มากขึ้นโดยไม่มี noise
และช่างภาพส่วนใหญ่มักจะเปลี่ยน ISO บ่อย ทางโรงงานกล้องก็ได้ออกแบบมาให้เปลี่ยนค่ามันได้อย่างง่ายดาย แต่ถึงแม้จะมี Noise มาโปรแกรมสมัยนี้ก็สามารถกำจัดมันออกได้ในระดับนึง
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มันทำให้คุณสามารถปรับใช้ ISO ได้อย่างอุ่นใจมากขึ้น มาดูเคล็ดลับ ทั้ง 6 ข้อในการใช้ ISO กันดีกว่า
ข้อแรก: เริ่มที่ ISO 200
ถ้าคุณถ่ายภาพมานานแล้วคุณจะติดนิสัยและเริ่มที่ ISO 100 หรือน้อยกว่า เพื่อไม่ให้เกิด noise แต่อย่างที่บอกไปด้านบนถึงเทคโนโลยีกล้องในสมัยนี้ ISO 100 และ 200 แทบจะไม่ได้ต่างอะไรเลยในกล้องหลายๆรุ่น เมื่อคุณใช้ ISO 200 มันทำให้คุณได้ shutter speed ที่สูงขึ้น มีโอกาสได้ภาพที่คมขึ้นในกรณีที่คุณถือกล้องด้วยมือ และทำให้คุณเปิดรูรับแสงได้แคบมากขึ้น
ข้อที่สอง : ใช้ ISO 400 เมื่อมีเมฆหรือยามพลบค่ำ
อย่าลังเลที่จะใช้ ISO ขึ้นถึง 400 (หรือสูงกว่านั้นขึ้นอยู่กับกล้อง) เมื่อคุณออกไปถ่ายนอกบ้านแล้วเจอเมฆ หรือในสถานการณ์ที่ไม่มีแสงอาทิตย์แล้ว คุณอาจเจอ noise นิดหน่อยใน ISO ระดับนี้
ภาพนี้ต้องการความเร็วชัตเตอร์ที่สูงมาก เลยต้องดัน ISO ไปที่ 400
ข้อที่สาม : ดัน ISO สูงๆ เมื่อต้องการหยุดการเคลื่อนไหว
ก่อนหน้านี้หลายคนตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเมื่อจะถ่ายภาพที่ต้องหยุดการเคลื่อนไหวคือ เพิ่ม ISO ก็จะเกิด noise แต่ถ้า ISO ต่ำก็หยุดการเคลื่อนไหวไม่ได้
มันเป็นตัวเลือกที่ตัดสินใจยาก แต่ในปัจุบันด้วยเทคโนโลยีกล้องและโปรแกรมลด noise ต่างๆ ไม่มีเหตุผลอะไรที่คุณจะไม่เพิ่ม ISO
ข้อที่สี่ :ใช้ ISO 1600 ในอาคารต่างๆ
เมื่อคุณเข้าไปในอาคารส่วนใหญ่ให้ตั้งค่าไปที่ ISO 1600 ถ้ามีแสงที่ดีพอสมควร และดันขึ้นไปสูงอีกหากแสงน้อย แต่ถ้าคุณมีขาตั้งให้ตั้งไว้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หากถ่ายตัวอาคารและไม่ได้จับการเคลื่อนไหวต่างๆ
ภาพนี้ไม่ได้ใช้ขาตั้ง เลยใช้ ISO 3200
ข้อที่ห้า: อย่ากลัวที่จะใช้ ISO 6400
เมื่อได้ไปถ่ายน้องสาวที่กำลังเต้นในที่ที่มีแสงน้อย และห้ามใช้แฟลช เขาใช้รูรับแสงน้อยที่สุด และใช้ ความเร็วชัตเตอร์อย่างน้อย 1/400 เพื่อจับการเคลื่อนไหว เขาจำเป็นต้องใช้ ISO 6400 และมาแก้ noise ในโปรแกรมทีหลัง ภาพที่ได้ก็ไม่ได้ออกมาแย่นัก
1/500th, f/2.8, at ISO 6400
ถามว่าภาพที่ได้ดีที่สุดไหม ไม่เลย แต่มันไม่มีตัวเลือกอื่น และมันทำให้คุณได้ภาพ ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
ข้อที่หก: เมื่อต้องเลือก ISO กับ ความเร็วชัตเตอร์
ไม่มีใครอยากใช้ค่า ISO สูงๆ แต่เมื่อคุณต้องเลือก ISO 6400 หรือ 12,800 ที่จะต้องเกิดปัญหา noise ตามมา กับต้องเลือกภาพเบลอจากการถ่ายที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ คุณควรจะเลอกือย่างแรกคือดัน ISO สูงๆไว้ เพราะคุณยังมีหวังกับโปรแกรมเช่น Lightroom แต่คุณแทบไม่มีหวังกับภาพที่ถ่ายออกมาเบลอ
ภาพนี้ถ่ายผ่านหน้าต่างใน Louvre ห้ามใช้ขาตั้ง เลยต้องถือด้วยมือ เลยต้องดัน ISO ไปสูงๆ Exposure info: 1/8th, f/4, at ISO 3200
สุดท้ายนี้ การใช้ ISO ขึ้นอยู่กับกล้องด้วย กล้องยิ่งใหม่และยิ่งแพงมีโอกาสสูงที่จะถ่ายในที่ที่มีแสงน้อยได้ดีกว่า สิ่งที่ดีที่สุดคือ ทดลองถ่ายด้วยกล้องของคุณเอง โดยการถ่ายภาพเดียวกันในแต่ละค่า ISO และมาดูในคอมพิวเตอร์ (ซูม 100%) จะช่วยให้คุณรู้จักกล้องคุณมากขึ้น