ภาพสะท้อนในหยดน้ำหลายคนคงเคยเห็นกันบ้างแล้ว แต่มีคุณเคยลองถ่ายดูบ้างไหม? หากถ่ายดีๆ จะได้ภาพที่สวยงาม และทำให้ผู้ชมประทับใจได้
Simon Bond จะมาแนะนำเทคนิคในการถ่ายกัน
ทำความเข้าใจกับการสะท้อน
การสะท้อนเกิดขึ้นเมื่อแสงผ่านวัตถุที่มีความหนาแน่น ในการถ่ายภาพเราเคยเห็นการสะท้อนผ่านน้ำ หรือ แก้ว และทำให้เกิด distortion หรือการบิดเบี้ยว แล้วเมื่อผ่านวัตถุทรงกลมที่โปร่งใส สิ่งมหัศจรรย์ได้เกิดขึ้นนั่นคือ ภาพจะกลับหัว จริงๆแล้ว ในชิ้นส่วนเลนส์เราก็ใช้หลักการเดียวกันนี้ คิดซะว่า เจ้าลูกแก้วนี้ก็เหมือนกับเป็นเลนส์พิเศษ ที่สามารถเคลื่อนย้าย ไปยังที่ต่างๆที่ต้องการจะถ่ายได้
ถ่ายอย่างไร
1. จัดการกับภาพกลับหัว
อย่างที่บอกในข้างต้น ภาพที่ผ่านลูกแก้วจะเป็นภาพกลับหัว เพราะฉะนั้นเราต้องคิดว่าจะให้ภาพในลูกแก้วกลับหัว หรือ ภาพพื้นหลังกลับหัว และเพื่อที่จะไม่ให้พื้นหลังดึงดูความสนใจ ให้ถ่ายด้วยระยะชัดตื้น ให้พื้นหลังเบลอ จะช่วยให้ภาพดูน่าสนใจขึ้น
2. ตำแหน่งของลูกแก้ว
วางลูกแก้วให้เหนือพื้น ในระดับที่คุณถ่ายแล้วเห็นฉากหลังสะท้อนมายังลูกแก้วแล้วสวยงาม ส่วนตรงกลางของลูกแก้วจะมีการบิดเบี้ยวน้อย และจะมากขึ้นเมื่อไปยังขอบ
3. ถ่ายใกล้ๆ
ภาพที่อยู่ในลูกแก้วจะมีขนาดเล็กให้ถ่ายใกล้ๆ โฟกัสให้ดี และถ้าฉากเหมาะกับการถ่ายเลนส์ Wide ก็เหมาะกับการถ่ายแบบนี้เช่นกัน เพราะจะให้ภาพมุมกว้าง แบบ fish eye
4. เลือกเลนส์ที่ถูกต้อง
เลนส์ที่เหมาะที่สุดสำหรับการถ่ายคือเลนส์มาโคร หรือ เทเล ที่ถ่ายระยะใกล้ๆได้ เลนส์มาโครช่วยให้เข้าใกล้ลูกแก้วได้มากขึ้น และช่วยให้ฉากหลังเบลอได้ง่าย เลนส์ Wide ก็อาจถ่ายได้ในบางกรณี
5. เลือกรูรับแสงที่เหมาะสม
รูรับแสงที่แคบไปจะทำให้ฉากหลังไม่เบลอ แต่กว้างไปก็เก็บระยะชัดมาไม่ครบ ส่วนมากเขาใช้ f/4 แต่มันขึ้นอยู่กับฉากและระยะห่างด้วย
6. หาสถานที่ที่ปลอดภัยในการตั้งลูกแก้ว
นี่เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะถ่ายจากจุดสูงๆ ลูกแก้วต้องตั้งอยู่บนพื้นราบ หารอยแยกจะช่วยให้ลูกแก้วไม่กลิ้ง เมื่อตั้งแล้วต้องมั่นใจว่ามันจะไม่ตก ถ้าไม่มีที่วางจริงๆ ให้ใช้เพื่อนถือให้ และระวังเรื่องลมด้วยครับ
7. เรื่องของแสง
หากไม่มีค่อยมีแสง ให้ส่องแสงไปยังด้านหน้าลูกแก้วเล็กน้อย หากส่องมากไปจะสว่างและเห็นเงาสะท้อนน้อย
เปรียบเทียบการถ่ายแบบสะท้อน และ Landscape แบบธรรมดา
ข้อดี
- ลูกแก้วราคาถูก และให้ effect ออกมาเหมือนดเลนส์ fish eye
- สามารถเลื่อนตำแหน่งได้ตามสะดวก
- การใช้รูรับแสงกว้างๆ ทำให้ได้ภาพที่มีโบเก้ ดูเรียบง่าย แต่น่าสนใจ
- ภาพดู อาร์ต ขึ้น
- ลูกแก้วเป็นตัวสร้างกรอบในตัวมันเอง
ข้อเสีย
- ลูกแก้วยิ่งใหญ่ ยิ่งหนัก
- ต้องใช้เลนส์ มาโคร ซึ่งปกติคนถ่าย Landscape ไม่ค่อยได้พกกัน
- การบิดเบี้ยงรอบๆลูกแก้ว
- ถ่ายให้ออกมาคมชัดยาก
- ภาพจะเป็นภาพกลับหัว
credits: dps
