7 เทคนิคในการมองอย่างกล้อง

4

การมองโลกผ่านเลนส์กล้องนั้นมีทั้งความเหมือนและความต่างที่ชัดเจนกับการมองโดยไม่ผ่านกล้อง แม้ว่ากล้องดิจิตอลสำหรับการถ่ายภาพเบื้องต้นที่สุดที่สามารถหาได้ง่ายในทุกวันนี้ ก็สามารถถ่ายภาพแบบที่ไม่เหมือนที่ตาเปล่าเห็นได้ ความเข้าใจในเรื่องความความแตกต่างระหว่างภาพที่กล้องมองเห็นและภาพที่คุณเห็น จะช่วยทำให้คุณเป็นช่างภาพที่สร้างสรรค์ผลงานได้มากทีเดียว

Kevin Landwer-Johan จะมาบอก 7 วิธีที่ทำให้คุณได้ภาพจากกล้องที่มีมุมมองต่างจากการเห็นด้วยตาดังนี้

1. กรอบ (Frame)

ภาพทุกๆภาพจะถูกตีกรอบด้วยเฟรม ซึ่งประกอบด้วยสี่ด้านและสี่มุม คุณไม่ได้เห็นในชีวิตประจำวันของคุณในแบบที่ถูกจำกัดมุมมองแบบนี้แน่ การเรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์องค์ประกอบภาพที่ดีได้นั่นหมายถึงว่าคุณจะต้องทำงานด้วยขอบเขตของกรอบและทำมันให้มากที่สุด อย่ามองกรอบว่าเป็นข้อจำกัด แต่มันจะเป็นโอกาสในการพัฒนาและแบ่งปันมุมมองของคุณ ต้องพึงระวังองค์ประกอบของสิ่งของที่คุณเลือก ซึ่งการเลือกว่าจะคัดอะไรเข้าในเฟรมหรือคัดออกจากเฟรมนั่น เฟรมของคุณเท่านั้นที่จะแสดงให้เห็นว่าคุณต้องการสื่ออะไร
อ่าน 3 อย่างที่ควรคิด เมื่อคุณจัดองค์ประกอบภาพ เพิ่มเติม

2. กำลังขยาย (Zoom)

ถ้าคุณยังไม่สามารถจัดองค์ประกอบภาพได้ดี เพียงลองคิดว่าคุณอยากให้มองสิ่งๆนั้นยังไง คุณอาจจะพิจารณาเปลี่ยนชนิดเลนส์หรือกำลังขยายให้ใกล้หรือกว้างขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำด้วยตาเปล่าไม่ได้ การที่มองรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ คุณจะต้องมองในระยะที่ใกล้ขึ้น และในขณะเดียวกันคุณต้องเดินถอยหลังถ้าต้องการมุมมองที่กว้างขึ้น

การเปลี่ยนระยะความยาวโฟกัสจะทำให้กล้องของคุณมีความสามารถที่เพิ่มขึ้นแม้ว่าจะอยู่ในตำแหน่งเดิม และยังเห็นในมุมมองที่กว้างหรือแคบได้เช่นกัน ความเข้าใจในเรื่องระยะชัดลึกของเลนส์ และการเลือกว่าเฟรมนั้นมีอะไรที่มากไปหรือน้อยไปก็สามารถช่วยเพิ่มความน่าสนใจในองค์ประกอบภาพมากขึ้น

3. โฟกัส (Focus)

สิ่งแรกที่ผมได้เรียนรู้หลังจากซื้อกล้องตัวแรกคือความสำคัญของการโฟกัส ตั้งแต่ครั้งแรกที่ผมได้เรียนรู้เรื่องกล้อง ผมต้องเริ่มต้นสวมใส่แว่นอ่านหนังสือเพื่อให้สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้กับผมอย่างชัดเจน

ถ้าสายตาคุณดี คุณไม่เคยรู้แน่ๆในเรื่องความสามารถในการโฟกัส สายตาจะปรับได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว สิ่งสำคัญในการเรียนรู้วิธีการโฟกัสด้วยเลนส์กล้อง เพื่อให้วัตถุที่สำคัญที่สุดในองค์ประกอบของคุณมีความคมชัด บางครั้งช่างภาพก็เลือกที่จะสร้างโฟกัสที่ฟุ้งๆ(soft focus) แต่โดยทั่วไปภาพที่เน้นความคมชัดจะดึงดูดมุมมองของผู้ชมไปถึงส่วนที่สำคัญที่สุดขององค์ประกอบ

4. ความชัดลึก (Depth of field)

การควบคุมระยะโฟกัสในการถ่ายภาพเป็นอีกแง่มุมหนึ่งของการถ่ายภาพที่ตาของคุณทำไม่ได้ตามธรรมชาติ ถ้าตาของคุณดีคุณจะเห็นสิ่งที่คุณมองส่วนใหญ่คมชัด การใช้กล้องเพื่อควบคุมระยะโฟกัสภายในเฟรมของคุณเป็นแง่มุมที่สร้างสรรค์ในการถ่ายภาพ

มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้กล้องของคุณสามารถสร้างภาพที่ภาพของคุณบางภาพมีความคมชัดและบางส่วนไม่ชัดได้ ปัจจัยที่มีผลคือเลนส์และการตั้งค่ารูรับแสง ขนาดเซนเซอร์ของกล้อง และความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกล้องกับวัตถุและพื้นหลัง การสร้างสมดุลที่ดีของปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้ภาพของคุณมีคุณภาพที่คุณไม่เคยเห็น โซนที่เน้นความชัดเจนในรูปถ่ายเรียกว่า ระยะชัดลึก (Depth of Field)

5. ภาพเคลื่อนไหวแบบ Motion Blur

อีกเทคนิคหนึ่งในการถ่ายภาพที่สามารถควบคุมจำนวนภาพเบลอในภาพคือการตั้งใจเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ การใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำและการถ่ายภาพของวัตถุที่เคลื่อนที่อาจส่งผลให้ภาพเบลอเคลื่อนไหวได้

คุณสามารถควบคุมได้ว่าวัตถุเคลื่อนไหวใด ๆ จะเบลอหรือไม่เท่าใดโดยการควบคุมระยะเวลาที่ชัตเตอร์เปิดอยู่ ถ้าคุณปล่อยให้ชัตเตอร์เปิดอยู่นานพอคุณสามารถสร้างรูปถ่ายของวัตถุที่ดูมีความเคลื่อนไหว ซึ่งตาของคุณจะไม่ได้เห็นเช่นนี้เพราะรูปถ่ายบันทึกภาพในช่วงเวลาหนึ่ง

6. ช่วงเวลา

ความสามารถในการเลือกช่วงเวลาที่คุณเปิดชัตเตอร์และสร้างภาพเป็นอีกหนึ่งความแตกต่างระหว่างวิธีที่คุณเห็นและวิธีที่กล้องมองเห็น ไม่ว่าคุณจะถ่ายภาพทิวทัศน์หรือถ่ายภาพเกมฟุตบอลหรือภาพบุคคล เวลาที่คุณกดชัตเตอร์เป็นสิ่งสำคัญซึ่งเป็นการกำหนดรูปถ่ายของคุณว่าจะมีลักษณะอย่างไร

คุณเห็นด้วยตาของคุณอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ช่วงเวลาเดียวแบบกล้อง การเรียนรู้ที่จะใช้ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการกดนิ้วลงบนปุ่มและถ่ายภาพเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดในการถ่ายภาพ

7. ความสามารถในการรับค่าความแตกต่างแสง (Tonal Range)

สายตาคนเราสามารถช่วงความต่างของแสงได้มาก แตกต่างจากกล้องที่รับได้แค่ช่วงหนึ่ง ซึ่งแต่ละรุ่นก็รับได้แตกต่างกันออกไป เทคโนโลยีกล้องถ่ายรูปพัฒนาเซนเซอร์สามารถทำให้ช่วงที่เก็บแสงกว้างขึ้นกว่าในอดีตและอนาคตมันอาจจะสามารถแสดงช่วงกว้างกว่าที่เรามองเห็นได้

ตอนนี้ผมยังไม่รู้จักกล้องที่สามารถบันทึกช่วงความแตกต่างแสงกว้าง ๆ จากที่สว่างที่สุดเท่าที่จะมืดที่สุดเท่าที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาของเรา ถ้าคุณถ่ายภาพกลางแจ้งในวันที่แดดจ้าคุณจะต้องตั้งค่าแสงของคุณอย่างละเอียดเพื่อจับภาพรายละเอียดในส่วนที่สว่างหรือมืดที่สุดขององค์ประกอบของคุณ กล้องของคุณไม่สามารถจับภาพได้หลากหลายตามที่คุณเห็นด้วยตา

การเรียนรู้ที่จะมองเห็นแสงและอ่านช่วงแสงขณะที่คุณกำลังถ่ายภาพของคุณเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างสรรค์รูปภาพ

สรุป

เมื่อเข้าใจการมองภาพผ่านกล้อง ความเข้าใจความแตกต่างระหว่างการมองเห็นภาพของมนุษย์ตามธรรมชาติกับวิธีที่กล้องของคุณทำงานเพื่อถ่ายภาพ จะทำให้คุณมีความสนุกสนานมากขึ้นและช่วยให้คุณพัฒนาขึ้นในฐานะช่างภาพ

อยากแบ่งปันความคิดและความคิดเห็นของคุณบ้างเชิญคอมเม้นต์เลยครับ

LINE it!