7 เทคนิคที่คาดไม่ถึง ซึ่งทำให้ถ่าย Landscape ได้ดีขึ้น

0

เพื่อนๆคงได้เห็นเทคนิคการถ่าย Landscape มากมายเช่น ทิป11 ข้อ สำหรับการถ่าย Landscape , 5 เทคนิคในการถ่าย Landscape ให้มี Impact แต่บทความนี้จะต่างออกไป เพราะการจะเป็นช่างภาพที่ดีขึ้นนั้นอาจไม่ต้องทำตามกฏถ่ายภาพต่างๆมากนัก

บทความนี้จะแนะนำเทคนิคต่างๆที่ช่างภาพมือใหม่อาจคาดไม่ถึง ไปชมกันเลยครับ

1.แสงที่ดีไม่จำเป็นต้องถ่ายช่วง Golden Hour

คำแนะนำในการถ่าย Landscape ที่หลายๆคนทราบคือถ่ายช่วง Golden Hour หรือช่วงดวงอาทิตย์ขึ้นและตก แน่นอนว่าเวลาช่วงนั้นแสงจะนุ่มและมีสีสัน แต่ไม่ใช่ว่าเวลาอื่นจะไม่มีแสงที่ดี มันขึ้นอยู่กับคุณจะถ่ายอะไร

อาจประหลาดใจนิดหน่อย ที่ภาพที่ผมชอบส่วนใหญ่ถูกถ่ายระหว่างวันที่ไม่ใช่ Golden Hour บางครั้งสภาพอากาศฟ้าครึ้ม ฝนจะตก ก็สร้างแสงที่ดูดราม่าได้เช่นกัน

แสงจ้าตอนกลางวันจะให้รูปแบบและแสงในป่าลึกที่น่าสนใจ เช่นกัน

จะดีกว่าหากไม่จำกัดตัวเองถ่ายเฉพาะไม่กี่ชั่วโมงของวัน เรียนรู้เมื่อแสงในอุดมคติจะกระทบกับทิวทัศน์ที่คุณวางแผนจะถ่าย

2.ป้ายราคาบนกล้องของคุณนั้นไม่เกี่ยว

หลายคนคงเคยได้ยินเพื่อนๆชมว่า ภาพสวยจังเลย คงมีกล้องที่แพงแน่ๆ แต่กล้องที่แพงให้ภาพที่สวยตลอดไหม? ไม่เลย ไม่ได้สำคุญว่าคุณมีกล้องราคา 10,000 หรือ 50,000 หรือ 100,000 บาท คุณสามารถถ่ายภาพได้แย่ ด้วยกล้องที่แพงก็ได้

สิ่งที่สำคัญไม่ใช่ป้ายราคาบนกล้อง แต่เป็นการทำความเข้าใจการใช้งานกล้องของคุณ รู้ข้อจำกัดของมัน สุดท้ายแล้วคนที่อยู่หลังกล้อง คือคนที่สร้างภาพนั้นมา

3.ศึกษากฏเพื่อที่จะแหกกฏ

ก่อนจะแหกกฏนั้นต้องทำความเข้าใจให้ดีซะก่อน และกฎในการถ่ายภาพนั้นจริงๆแล้วเป็นแนวทาง ไม่จำเป็นต้องทำตามทั้งหมดก็ได้ เช่นกฏสามส่วน, เส้นนำสายตา หรือกฏการจัดองค์ประกอบต่างๆ อย่าให้กฏมาเป็นตัวปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของคุณ

ภาพดังๆหลายภาพในอดีตก็ไม่ได้ทำตามกฏ เรียนรู้เพื่อนเป็นแนวทาง แต่สุดท้ายให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการถ่ายทอดภาพของคุณ

4.ไม่จำเป็นต้องใช้ขาตั้งเสมอ

ไม่นะ ผมไม่ได้บ้า หลายคนเชื่อว่าถ่ายภาพ Landscape ต้องใช้ขาตั้งเสมอ ต้องทำความเข้าใจว่าเมื่อไหร่ที่จำเป็นต้องใช้ขาตั้ง เช่น

  • ถ่ายในที่แสงน้อย และความเร็วชัตเตอร์ช้าเกินไปที่จำทำให้ภาพคม
  • เมื่อต้องดัน ISO สูงๆ เพื่อให้ได้ความเร็วชัตเตอร์เร็วขึ้น
  • เมื่อใช้ฟิลเตอร์ที่ลดแสง หรือถ่าย Long Exposure

ซึ่งหลายๆสถานการณ์ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ ถ้าคุณถ่ายกลางวันความเร็วชัตเตอร์ 1/1000 และ iso 100 ผลที่ได้ก็ไม่ต่าง

5.สำรวจความยาวโฟกัส

อย่าจำกัดตัวเองอยู๋แค่เลนส์ตัวเดียว เมื่อเริ่มถ่าย Landscape ผมใช้แค่เลนส์มุมกว้าง วันนี้มีครบช่วงตั้งแต่ ultra-wide ไปถึง เลนส์ระยะไกล ลองสำรวจสถานที่ด้วยเลนส์ที่ต่างกันออกไป จะช่วยให้ได้รายละเอียดบางอย่างมากขึ้น จะได้รายละเอียดที่อยู่รอบๆ ซึ่งดูน่าสนใจไม่แพ้ภาพรวม

6.อดทนเพื่อสิ่งที่ดีที่สุด

ช่างภาพหลายคนหวังว่าไปถึงสถานที่แล้วถ่ายรูปสองรูปแล้วได้ภาพที่สวย แต่โลก Landscape ไม่ได้ใจดีขนาดนั้น หลายครั้งภาพที่สวยงามมาจากการผลลัพธ์ของความอดทน หลายครั้งต้องไปสถานที่นั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งเจอสภาพอากาศที่เป็นใจ อาจยากหากต้องเดินทางไกล แต่แนะนำให้ไปซ้ำจนกว่าจะได้รูปที่คุณพอใจกับมัน

7.ถ่ายมุมมหาชนแต่กระหายที่จะสำรวจมุมใหม่ๆ

สังคมออนไลน์ได้เปลี่ยนโลกของ Landscape ไปมาก มุมหลายๆมุมโด่งดังกว่าเมื่อก่อนมาก หลายๆคนเลยมาถ่ายกัน จึงยากที่จะได้มุมมองแปลกๆ ผมไม่ได้แนะนำให้คุณไม่ต้องถ่ายมุมมหาชน โดยเฉพาะหากคุณเป็นช่างภาพมือใหม่ การถ่ายมุมมหาชนที่คนอื่นถ่ายกัน อาจช่วยให้คุณเข้าใจช่างภาพที่คุณชื่นชอบมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้บอกว่าต้องถ่ายมุมมหาชนตลอดไป การสำรวจมุมใหม่ๆ เป็นส่วนที่สำคัญสำหรับช่างภาพประเภท outdoor และการถ่ายมุมเดิมๆ ทำให้ความคิดสร้างสรรค์เราน้อยลงเรื่อยๆ ถ่ายมุมมหาชน แล้วจงกระหายที่จะสำรวจมุมใหม่ๆบ้าง

credits: Christian Hoiberg | petapixel