Toma Bonciu หรือที่รู้จักกันในนาม Photo Tom ได้ทำวีดีโอ 10 นาที ที่อธิบายถึงเทคนิคการจัดองค์ประกอบของภาพ Landscape ที่เราสามารถไปประยุกต์ใช้ได้
1.เติมเต็มภาพด้วยการเข้าใกล้ Subject (Fill the frame)
จากภาพด้านบนเห็น subject คือหินสองก้อนขนาดใหญ่เอียงอยู่ และหญ้าด้านล่างที่ดูมืดนิดหน่อย ช่วยนำสายตาไปยังหิน และเมฆที่เคลื่อนไหวก็นำสายตามายัง subject เช่นกัน ทำให้ภาพเกิด impact มากขึ้น ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้อาจได้ผลมากนักหากถ่ายมุมกว้างกว่านี้
ภาพนี้เข้าใกล้วัตถุ จนต้นไม้เป็นเส้นแนวตั้งหลักๆของภาพ และมีเส้นเอียงของแนวใบไม้ตัดตรงจุดตัดเก้าช่อง และสีของใบไม้ก็เห็นชัดเจนสวยงาม
ภาพนี้เห็นเส้นโครงสร้างของกิ่งเป็นกราฟฟิคสวยงาม และใบไม้สีสวยๆช่วยเติมเต็มเฟรม
2. ตรงกลาง
หากเรียนรู้เรื่องกฏสามส่วนมาแล้ว การวางวัตถุอยู่ตรงกลางอาจเป็นอะไรที่แปลก และไม่ควรทำ แต่ทุกกฏย่ิมมีข้อยกเว้น ภาพนี้มีเส้นขอบฟ้าและ มี subject อยู่ตรงกลางภาพ ด้านซ้ายขวาเป็นพื้นที่ว่าง ก็ช่วยภาพภาพดูน่าสนใจขึ้นมาได้เช่นกัน
3.การใช้สี
การใช้สีเป็นเครื่องมือที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพราะสีมีผลต่อความรู้สึกคนดู อย่างเช่นภาพด้านบน สีเหลืองเป็นจุดเด่นในภาพนี้ และภาพส่วนที่เหลือสีจืดมาก เลยวางต้นไม้ไว้ตรงจุดตัดเก้าช่อง
ดูตัวอย่างเพิ่มเติม
4. พื้นที่ Negative Space
พื้นที่ว่างๆ บางทีก็ช่วงยเสริมให้ภาพดูน่าสนใจได้มากขึ้นหากจัดองค์ประกอบได้ถูกต้อง
ภาพด้านบนรั้วที่มีลักษณะเป็น 3 เหลี่ยม และมีพื้นที่ว่างที่ช่วยเสริมให้รั้วนั่นเด่นขึ้น
พื้นที่ว่างที่มีพื้นผิวที่น่าสนใจ และวาง subject ที่จุดตัดเก้าช่อง
เส้นเอียงจากของพื้นหญ้า กับเส้นที่พื้นดินตัดกันที่ต้นไม้ที่เป็นพระเอกของภาพนี้
5.เส้นนำสายตา
เส้นนำสายตาหาได้ง่ายในธรรมชาติถ้ารู้จักสังเกต อย่างภาพด้านบนก็มีเส้นน้ำสายตาทั้งซ้ายและขวา ไปยังตัวอาคารที่เป็นพระเอกของภาพ
ใช้รากไม้นำสายตา
ภาพด้านบนมีเส้นชี้มาทางถนน และเส้นนำสายตาหลักของถนนนำสายตาไปยังภูเขาที่สวยงาม
เส้นนำสายตาจากถนน ลากไปยังแนวต้นไม้ซึ่งนำไปยังบ้านที่เป็นพระเอกของรูปนี้อีกที
6. ซ้ายไปขวา
เราอ่านหนังสือจากซ้ายไปขวา เลยมีความเชื่อที่ว่าเวลาดูภาพก็มักจะดูจากซ้ายไปขวา
ภาพด้านบนนี้อาจซับซ้อนนิดหน่อย วัตถุเล็กๆด้านซ้ายไม่ใช่จุดที่น่าสนใจในภาพ มันเป็นจุดเริ่มต้น และมีเส้นสายจากแนวต้นไม้ นำสายตาไปยังมุมขวาบน ทำให้คนมองภาพไล่ดูภาพจากซ้ายไปขวา
7. ความลึก
ภาพปกติเราเห็นเป็น 2 มิติ กว้าง x ยาว แต่เมื่อภาพดูเหมือนมีความลึกขึ้นมาทำให้ภาพดูน่าสนใจขึ้น
ภูเขามืดๆด้านหน้า(1) ทำให้รู้สึกว่าภูเขาที่สว่างนั้นอยู่ด้านหลัง(2) ทำให้ดูมีระยะลึก
นอกจากเลเยอร์ของภูเขาแล้วภาพนี้ยังมีเส้นจากแนวหินนำสายตาไปยังแสงอีกด้วย
8. เปลี่ยนมุมมอง
บางครั้งมุมระดับสายตาอาจธรรมดาไป ลองถ่ายมุมต่ำหรือมุมสูงดูจากภาพด้านบนนี้ ถ่ายมุมต่ำช่วยให้เห็นเส้นของน้ำและหินที่ชัดเจนขึ้นหินเรียงกันเป็นเส้น เห็นความโค้งของแนวหิน และมีเส้นจากป่าเช่นกัน
อีกตัวอย่างที่ถ่ายมุมต่ำแล้วดงดอกไม้เป็นรูปร่างสามเหลี่ยมชี้ไปยังโขดหิน ทำให้ภาพดูสวยขึ้น
9. ซิกแซก
เส้นชิกแซกที่ชี้ไปมา และจบที่ subject ทำให้ภาพดูสนุก ไม่น่าเบื่อ
หวังว่าเพื่อนๆคงได้ความรู้เกี่ยวกับการถ่าย Landscape ไปไม่มากก็น้อยนะครับ ไม่อยากพลาดบทความดีๆ กดติดตามเราเลยจ้า FOTOFAKA
credits: Photo Tom | petapixel
