
ถ้าคุณต้องการเป็นช่างภาพถ่ายอาหาร คุณต้องเริ่มต้นจากถ่ายร้านอาหารก่อน ช่างภาพส่วนใหญ่จะเริ่มจากตรงนี้ ร้านอาหารหลายร้านมีงบไม่สูงนัก นั่นทำให้มีโอกาสที่เขาจ้างช่างภาพหน้าใหม่ มือสมัครเล่นสูงมาก
อย่างไรก็ตามการถ่ายร้านอาหารนั่นไม่ง่าย นอกจากจะต้องมีทักษะในการถ่ายอาหารแล้ว ต้องสามารถถ่ายสถาปัตยกรรมภายใน และภาพบุคคล(เชฟ หรือพนักงาน) ได้ด้วย ยังมีอีกหลายอย่างที่คุณต้องรู้ ตามมาชมกันเลย
สอบถามรายการที่จะถ่าย
เพื่อนๆต้องรู้ก่อนว่าจะถ่ายอะไรบ้าง และสามารถคาดเดาเวลาที่จะถ่ายได้ อย่างเช่นเครื่องดื่มจะใช้เวลาถ่ายทำนานกว่าอาหารที่เป็นจาน เพราะต้องจัดการกับแสงสะท้อน เป็นต้น
ควรจะประมาณเวลา และสโคปในการถ่ายทำ ไม่อย่างงั้นจะคิดราคาได้ไม่เหมาะสม ลองสอบถามว่าจะถ่ายอาหารกี่อย่าง เครื่องดื่มกี่อย่าง และบางร้านเราต้องนำจาน, ผ้าปู หรือพร็อพต่างๆไปเอง ซึ่งอาจใช้เวลานานกว่าใช้ของที่ร้านเลย

สำรวจร้าน
ก่อนจะถ่ายควรมีการสำรวจร้าน ดูทิศทางแสง และสถานที่ที่เหมาะที่จะถ่าย และหากร้านเปิดขณะที่ถ่ายทำ ก็พยายามไม่ไปรบกวนคนอื่นๆ หรือถ้าร้านปิดบางส่วนให้เราเข้าไปถ่ายทำได้โดยไม่ไปรบกวนลูกค้าคนอื่นได้ก็จะดีมาก
สไตล์อาหาร
เมื่อถ่ายร้านอาหาร คุณต้องเข้าใจก่อนว่าคุณไม่ใช่นักออกแบบอาหาร (food stylist) และไม่ได้รับผิดชอบว่าอาหารจะออกมาแบบไหน นักออกแบบอาหารคืออาชีพที่ต่างออกไป ต้องการทักษะแยกออกไปจากการถ่ายภาพ งานของคุณคือการจัดแสงและถ่ายภาพ ไม่เกี่ยวกับการจัดวางบนจานนั้นๆ
ประเด็นคือต้องทำให้แน่ใจว่าภายในจานนั้นดูดี เชฟอาจต้องมีทักษะด้านนี้หรือต้องจ้าง Food Stylist เพิ่ม และหากทางร้านไม่สามารถจ้างมาได้ ก็อาจต้องชี้แจงว่ามีผลกระทบต่อภาพถ่ายด้วยเช่นกัน

พกพร็อพไปด้วย
เมื่อเพื่อนๆไม่สามารถจัดจานเองได้ เรื่องพรอพ และสิ่งที่อยู่รอบๆจาน หรือองค์ประกอบอย่างอื่น ก็ควรจะพิถีพิถัน เช่นหากทางร้านอยากได้โทนมืดๆวินเทจๆ ก็ควรจะพกพรอพที่เข้ากับสไตล์นั้นไป ไม่ว่าจะเป็นภาชนะรูปร่างต่างๆ คำนึงถึงเรื่องสีที่เข้ากัน เป็นต้น

ใช้ขาตั้ง
ถ้าเพื่อนๆ ต้องการถ่ายใช้แสงธรรมชาติ ภายในร้านส่วนใหญ่จะแสงน้อยเกินไปในการถ่ายอาหาร ควรถ่ายใกล้ๆ หน้าต่างและขาตั้ง ซึ่งทำให้ได้ ISO ที่ต่ำ และลากความเร็วชัตเตอร์ได้โยไม่ต้องกลัวว่าภาพจะไม่ชัด ซึ่งเหมาะกับการถ่ายอาหาร และสถาปัตยกรรมด้านใน แต่หากถ่ายคนก็ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้น และเพิ่ม ISO และไปลด Noise ในขั้นตอนการแต่งภาพแทน
เมื่อไปสำรวจร้านควรจะทดสอบถ่ายก่อน หลังจากนั้นก็มาคิดทีหลังว่าสภาพแสงเป็นอย่างไร ควรตั้งค่ากล้องอย่างไร และสามารถมาปรับแต่งเพิ่มเติมในโปรแกรมแต่งภาพได้แค่ไหน คุณภาพโอเคไหม
ถ่ายแนวตั้ง
ร้านอาหารส่วนใหญ่นำภาพไปใช้ในเว็บไซต์ซึ่งส่วนใหญจะเป็นแนวนอน ถ้าลูกค้าต้องการภาพไปทำเมนูอาหาร หลายครั้งที่ต้องใช้ภาพแนวตั้ง พยายามสอบถามความต้องการลูกค้า ถ้าเขาต้องการทั้งแนวตั้งแนวนอน คุณจะได้วางแผนถ่ายภาพถูก เพราะแนวตั้งก็ต้องจัดองค์ประกอบถ่ายภาพกันใหม่อีกด้วย

ต่อกับโน๊ตบุ๊ค
ต่อกล้องกับ Notebook ช่างภาพสามารถและลูกค้าสามารถดูภาพได้ทันที และดูได้ละเอียดขึ้น มีความแม่นยำและถูกต้องมากขึ้น สามารถใช้โปรแกรมต่างๆที่รองรับ tethering เช่น Lightroom และ Capture One

การทำงานกับลูกค้า
คุณต้องส่งมอบงานที่ดีที่ลูกค้าพึงพอใจ ดังนั้นพยายามให้ลูกค้าอยู่ในการถ่ายทำด้วย คุยทิศทางการสร้างสรรค์งานและอนุมัติภาพดังกล่าว พวกเขาจะไม่สามารถปฏิเสธทีหลังได้ว่าเขาไม่ชอบงานหลังส่งมอบงานได้ (เพราะได้อนุมัติและตกลงกันตอนถ่ายไปแล้ว)
ในสัญญา บางคนระบุเลยว่าจะไม่เริ่มถ่ายหากไม่มีตัวแทนของร้านหรือคนที่มีอำนาจในการอนุมัติงานมาดูด้วย

การทำงานร่วมกับพ่อครัว
สื่อสารกับพ่อครัวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อไปสำรวจร้านก่อนถ่ายพยายามขอเจอกับพ่อครัว เพราะพ่อครัวเป็นเป็นปัจจัยสำคัญในการทำอาหาร และสามารถสร้างความแตกต่างในการถ่ายทำได้ การสื่อสารกับพ่อครับได้ดีจะทำให้อีกฝ่ายรู้งานซึ่งกันและกันและทำงานออกมาง่าย และสนุกขึ้น
บทส่งท้าย
อีกหนึ่งอย่างที่หลายคนมักมองข้าม คือประกันความรับผิดชอบ หากร้านโดนฟ้องร้องขึ้นมา คุณอาจมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ควรจะระมัดระวังในเรื่องนี้ด้วย
การถ่ายร้านอาหารสามารถทำให้พอร์ตภาพของคุณดูดี มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น และทำให้ลูกค้าพอใจ เขาจะได้นึกถึงคุณเวลามีการอัพเดทเมนูใหม่ๆ
credits: dps