ศิลปะของการจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพ

4

ที่ผ่านมาเราก็ได้โพสต์เกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบไปบ้างแล้ว แต่เทคนิคของช่างภาพแต่ละคนนั้นต่างกัน

วันนี้ Siddharthan Raman จะบอกเล่าถึงเทคนิคและตัวอย่างให้เราชมกัน

1) มุมมอง

ก่อนที่จะถ่ายภาพอะไรซักอย่าง พยายามมองรอบๆตัวก่อน มองว่าภาพจะออกมาเป็นอย่างไร ส่วนไหนอยู่ในภาพส่วนไหนไม่ต้องการ

และถ่ายจากมุมสูงหรือมุมต่ำๆ ลองดูจะได้มุมที่น่าสนใจและเป็นมุมที่ผู้ชมภาพไม่เคยเห็นมาก่อน


Photo Credit : Adrian Sommeling


Photo Credit : Vladimir Zivancevic – krug


Photo Credit : Shlomi Nissim


Photo Credit : Rahmat Mulyono

2) ความเรียบง่าย

พยายามถ่ายให้เรียบง่าย มันช่วยให้คนดูโฟกัสเฉพาะ subject มันเรียกอีกอย่างว่า Minimalistic พยายามเลือก subject ของคุณให้ดี มันจะช่วยให้ภาพของคุณออกมาดี พยายามหาพื้นหลังเรียบๆ ให้ subject เด่นขึ้นมาได้ ดูตัวอย่างภาพ minimalist เพิ่มเติมได้ ที่นี่


Photo Credit : Marcus Björkman


Photo Credit : Rimantas Bikulcius


Photo Credit : Piotrek Lakowski


Photo Credit : Peter Svoboda

3) รูปร่าง รูปทรง เรขาคณิต

พยายามมอง รูปร่าง , pattern, ความสมมาตร , รูปทรงสวยๆ , เส้น , ส่วนโค้ง และจัดองค์ประกอบให้สอดคล้องกับสิ่งเหล่านั้น หาวัตถุที่เป็นเอกลักษณ์ (unique) ไส่ไว้ในเฟรมด้วย และถ่ายด้วยจังหวะที่เหมาะสมทำให้ภาพออกมาสวยได้


Photo Credit : Harry Lieber


Photo Credit : Ahmad Alsaif


Photo Credit : Yongjun Qin


Photo Credit : Key Gross

4) ถ่ายให้สมดุล

จัดองค์ประกอบภาพของคุณให้สมดุล เพื่อเลี่ยงพื้นที่ว่างในภาพของคุณ พยายามรักษาน้ำหนักของภาพโดยใช้ subject ที่สำคัญน้อยกว่า subject หลัก หรือ ใช้ subject ที่เกี่ยวข้องกับ subject หลัก สมดุลที่ดีอาจเกิดจากการรักษาสมดุลความสว่าง เงา ควมเปรียบต่างแสง และอีกหลายอย่าง ไม่ใช่เฉพาะ subject


Photo Credit : Tom Lingxiao


Photo Credit : Raymó


Photo Credit : Piet Flour


Photo Credit : Anna Hurtig

5) Abstract object ในภาพ

ให้ Abstract หรือ neutral object อยู่ในภาพ จะทำให้ภาพมีความน่าสนใจมากขึ้น ลองถ่ายแนววนี้ที่ ภาพพวกอนุเสาวรีย์หรือสถานที่ประวัติศาสตร์ ทำให้ภาพออกมายอดเยี่ยมเลย นอกจาก subject หลักแล้ว คนดูสามารถรับรู้ได้ถึง abstract object เหล่านั้น และมันจะช่วยเพิ่มเรื่องราวให้ภาพอีกด้วย


Photo Credit : Steve McCurry


Photo Credit : Steve McCurry


Photo Credit : Steve McCurry


Photo Credit : Steve McCurry

6) การครอป (Cropping)

เมื่อถ่ายมาแล้ว อาจครอปเพื่อเอาสิ่งที่ไม่ต้องการออกก็ได้ ไม่ใช่ทุกภาพหรอกที่จะสวยจากหลังกล้อง (จบหลังกล้อง) อาจต้องมาครอปอีกทีเพื่อให้ภาพแน่นขึ้น สวยขึ้น และ โดน มากขึ้น และตัดส่วนที่เบี่ยงเบนความสนใจจาก subject ออก


Photo Credit : Alain Turgeon


Photo Credit : Laurentlesax


Photo Credit : Ragin


Photo Credit : Elena Karagyozova

7) ความลึก

พยายามนำเสนอความลึกของภาพ ให้มีพื้นที่ระหว่าง ฉากหน้าและฉากหลัง และเติมเต็มพื้นที่นั้นด้วย subject ที่น่าสนใจ,  ทำให้คนดูคิดและสามารถแบ่งแยกภาพออกเป็นเลเยอร์ ได้ แสงจากธรรมชาติสามารถทำหน้าที่ได้ดีทีเดียวในการสร้างความลึกของภาพ  นอกจากนี้การสร้างความลึกของภาพทำให้ผู้ชมสามารถเห็นภาพในมุมมองที่กว้างขึ้น


Photo Credit : Jeanie Lazenby


Photo Credit : Lazy Vlad


Photo Credit : Syaifullah Maulana


Photo Credit : Marc Adamus

8) กฏ

การทำตามกฏ สามส่วนหรือ Golden section หรือ Golden triangles หรือ Spiral หรือ Golden mean จะทำให้ภาพออกมาดูดี แต่ถ้าตอนถ่ายไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้ คุณก็สามารถไปครอป ทีหลังได้ กฏเหล่านี้คุณจะซึมซับมาเปองโดยธรรมชาติหากฝึกถ่ายบ่อยๆ


Photo Credit : Johannes van Donge


Photo Credit : Chris Miles


Photo Credit : Rick Lundh

 

9) Negative Space

Negative Space เป็นพื้นที่รอบๆ Subject มันทำให้ subject ดูน่าสนใจมากขึ้น ถูกใช้กันมากในการถ่ายแนว art photography

มันทำให้ผู้ชมไม่สนใจพื้นที่นั้น และโฟกัสไปยัง subject ที่เราจะนำเสนอ


Photo Credit : Harry Lieber


Photo Credit : Christos Dimitriou


Photo Credit : François CONSTANT


Photo Credit : Zarko Aleksic

 

10) แหกกฏ

เรียนรู้กฏซะก่อน และเรียนรู้ที่จะแหกกฏอย่างมีประสิทธิภาพ พยายามแหกทุกกฏเพื่อทำให้ภาพของคุณมีเอกลักษณ์  ถ้าคุณสามารถแหกกฏที่กล่าวมาได้ และภาพของคุณยังน่าสนใจ ทำเลย !!

Photo Credit : Balazs Pataki


Photo Credit : Usman Arafat


Photo Credit : Jacob Jovelou


Photo Credit : Koen Pieters

Credits: 123clicks