Automatic Exposure Bracketing คืออะไร? ช่วยให้ถ่ายภาพดีขึ้นได้อย่างไร ?

3

เคยไหมเวลาที่ภาพแล้วเก็บรายละเอียดไม่หมด เช่น ถ่ายคนที่พื้นหลังเป็นพระอาทิตย์ตก บางรูปแสงที่คนพอดี แต่ฉากหลังสว่างมาก ไม่มีรายละเอียดเลย พอถ่ายให้ฉากหลังแสงพอดีแล้ว ตัวคนก็มืดติ๊ดตื๋อ

นั่นเป็นเพราะมีความต่างของความสว่างมาก และกล้องก็ไม่สามารถเก็บรายละเอียดได้ไม่หมด (Dynamic Range ไม่สูงพอจะรับทั้งหมด) เรื่อง Dynamic Range หรือ DR อาจพูดละเอียดในครั้งหน้า ถ้าพูดคร่าวๆ มันคือ การไล่รายละเอียดของโทนจากมืดไปสว่าง ถ้ากล้อง DR ไม่ดี ก็ทำให้ส่วนสว่างก็สว่างจนไม่เห็นรายละเอียด ส่วนมืด ก็มืดไป ถ้า กล้องที่มี  DR ดีกว่า ก็จะเก็บรายละเอียดและไล่โทนได้ดีกว่า กล้องแต่ละตัวมีความสามารถในเรื่อง DR ต่างกัน

เมื่อกล้องไม่สามารถเก็บรายละเอียดได้ครบในครั้งเดียว ก็ต้องถ่ายหลายๆ ครั้ง จากตัวอย่างข้างต้น อาจถ่ายให้แสงที่คนพอดีรูปหนึ่ง แล้วที่ฟ้าพอดีรูปหนึ่ง แล้วนำมารวมกันภาพหลัง ด้วยหลากหลายกรรมวิธี เรียกว่า “ถ่ายคร่อม” จะถ่ายกี่รูปก็ได้ เป็นการถ่ายเผื่อๆไว้ ซึ่งหลายคนอาจจะทำแบบ Manual คือ ถ่ายรูปหนึ่ง ปรับค่ากล้องด้วยตัวเองทีนึง ปัญหาคือ เสียเวลา ซึ่งสภาพแสงอาจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือวัตถุไม่หยุดนิ่งให้ถ่าย แต่ Automatic Exposure Bracketing (AEB) เป็นการบอกกล้องว่า จะถ่ายกี่เฟรมในรูปนั้น และ แต่ละรูปความสว่างห่างกันเท่าไหร่ (กี่สต๊อป) เช่นในภาพ ถ่ายสามรูป ห่างกัน 2 สต๊อป มันจะถ่ายรูปที่เราวัดแสงพอดีมารูปหนึ่ง มึดลงไป 2 สต๊อป มารูปหนึ่ง สว่างไป 2 สต๊อป มารูปหนึ่ง โดยอัตโนมัติ

เมื่อตั้งค่าเสร็จคุณก็กดถ่ายไปได้เลย สามครั้ง ไม่ต้องมาวัดแสงอะไรใหม่ทุกครั้ง

ดูตัวอย่างครับ

ภาพแรกถ่ายกลางๆ

ภาพที่สองเก็บรายละเอียดส่วน ภูเขา

ภาพที่สามเก็บรายละเอียดฟ้า

ภาพผลลัพธ์ จะเห็นว่าได้รายละเอียดทั้งฟ้าทั้งภูเขาครับ

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้การถ่ายภาพครั้งต่อไปของคุณสนุกขึ้นนะครับ 🙂

LINE it!