การประยุกต์ใช้ทฤษฎีสีในการแต่งภาพ Landscape ภาค 1

0

การถ่ายภาพเป็นเรื่องศาสตร์และศิลป์ ทฤษฎีสีเป็นอีกหนึ่งศาสตร์ที่ช่วยให้งานศิลป์ของคุณสวยขึ้น หลังจากที่เราเคยโพสต์ทฤษฎีสีพื้นฐาน กันไปแล้ว เราจะมาประยุกต์ใช้ทฤษฎีสีในการแต่งภาพ กันบ้าง โดยบทความนี้จะเน้นแต่งภาพ Landscape ครับ

“เมื่อฉันเริ่มเห็นภาพรวมของสิ่งที่เกิดขึ้น มันเปลี่ยนความคิดของฉันต่อการถ่ายภาพ ฉันคิดผิดพลาดว่าหญ้าเป็นสีเขียว” 

-Galen Rowell

ERIN BABNIK ผู้เขียนบทความนี้กล่าวว่าก่อนหน้านี้เขาแต่งภาพโดยไม่มีเทคนิคหรือทฤษฎีอะไรมาจับ จนเมื่อเขาได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสี ศิลปะ และประวัติศาสตร์ของมัน เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ เขาพบว่างานของเขาน่าสนใจขึ้นกว่าเดิม เขาเลยสรุปเป็นหัวข้อ พร้อมยกตัวอย่างมาให้เราลองไปประยุกต์ใช้กันครับ

ทำให้อยู่ในโทนสีที่ใกล้กัน (เลื่อนสีเพื่อให้สีอยู่ติดกันของวงล้อสี)

เปลี่ยน hue หรือ เนื้อสี เพื่อให้มันอยู่ใกล้กันในวงล้อของสี สีที่สดและอิ่มตัวในบริเวณเล็กๆหรือส่วนที่มืดจะช่วยให้ภาพ Landscape ดูดีขึ้น

ภาพ Landscape ส่วนใหญ่จะสวยจากสีที่มีความสัมพันธ์กัน แต่ถ้าเป้าหมายของคุณจะสร้างงานที่ดูแตกต่างหรือขัดแย้งกัน การเลือกสีที่ไม่ใกล้เคียงกันเป็นสิ่งที่คุณสามารถทำได้ 

  1. สีที่คล้ายกัน การเลือกสีที่เนื้อสี(hue) ใกล้เคียงกัน และการรวมกันของเนื้อสีที่อยู่ใกล้กันของวงล้อสี อาจ 2 หรือ 3  เนื้อสีที่อยู่ใกล้กัน ช่วยให้ภาพกลมกลืนกัน

2. คู่สีที่ตรงกันข้าม คือสีที่ตรงข้ามกันในวงล้อของสี จะให้ภาพที่ดูดีที่สุดของก็ต้องอยู่ตรงกันข้ามกันเป็ฯเส้นตรงของวงล้อสี  นอกจากนี้อาจใช้สีที่ใกล้เคียงกับคู่สีตรงข้าม (เป็นลักษณะตัว Y) ก็ได้ (Split Complimentary)

โดยทั่วไปหากใช้สีที่กระจายออกไปในวงล้อสีแบบสะเปะสะปะ การทำให้มันสมดุลนั้นยาก และดึงดูดสายตาไปในหลายทิศทาง และความสมดุลขึ้นอยู่กับการวางเฟรมของสีในจุดต่างๆของภาพด้วย

ทิปในการแต่งภาพ: ระบุสีที่โดดเด่น ที่สุดในภาพ จากนั้น ไปดูในวงล้อสี และเลือกรูปแบบของสีตามทฤษฎีสี ที่ใกล้เคียงกับรูปของคุณ จากนั้นปรับสี hue, saturation เพื่อให้เข้ากับรูปแบบสีที่คุณเลือก

น้อยแต่มาก : ลดความซับซ้อนของจานสี ลดสิ่งรบกวน

ภาพด้านบนนี้ก่อนหน้านี้มันเคยมีโทนอุ่นปะปนอยู่ แต่ถูกทำให้เป็นโทนเย็นทั้งภาพ เพื่อจะได้ไม่ดึงสายตาผู้ชมจะเห็นถึงรายละเอียดพื้นผิว(texture) เส้นที่เป็นระรอกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

เมื่อในภาพมีหลากสี มันจะแข่งกันเด่น และทำให้ภาพดูน่าสนใจน้อยลง บางครั้งภาพที่น่าสนใจมากๆ เป็นภาพที่เรียบง่าย ดึงดูดสายตาผู้คนได้ ดูแล้วสบายตา เมื่อสีไม่แย่งกันเด่น คนจะโฟกัสไปยังรายละเอียดและองค์ประกอบอื่นๆ (เส้น, รูปแบบ, พื้นผิว ฯลฯ) ทำให้ภาพโดดเด่นขึ้นมา 

ทิปในการแต่งภาพ: มองหาสีต่างๆในภาพของคุณที่ไม่ได้อยู่ทั่วภาพ ถ้ามันมีสีที่แหวก แตกต่างออกไป ให้ถามตัวเองว่ามันเป็นจุดที่สำคัญในภาพหรือไม่ เพราะมัยจะดึงดูดสายตา ถ้าไม่อาจเปลี่ยนมัน การเปลี่ยนทำได้หลายแบบเช่น

  • ลดความสดของสี
  • เปลี่ยนเนื้อสี (hue) ไปยังโทนที่ใกล้เคียง เช่นในภาพด้านบนจะเปลี่ยนไปเป็นโทนเย็น
  • ทำพื้นที่นั้นให้มืด
  • เปลี่ยนสี เพื่อให้เข้ากับสีอื่นๆในภาพ
  • ลบ (crop หรือ clone) สิ่งนั้นออกไป

รักษาความจริง: เลือกแต่งภาพเฉพาะจุดเพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติขึ้น

ภาพด้านบนนี้เฉพาะท้องฟ้าก็มี 5 สีที่ต่างกัน หากคุณปรับสีแบบ (Global) หรือปรับทั้งภาพจะทำให้บางสีเละ และภาพก็เละตามไปด้วย ดังนั้นต้องปรับเฉพาะเจาะจงไปพื้นที่ไป ทำเหมือนเดิมเลือกสีส่วนใหญ่ในภาพและ map ไปยังวงล้อสีแล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นจุดๆไป

ทิปในการแต่งภาพ: มีการปรับแต่งเฉพาะจุดได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น 

  • HSL panel ใน Adobe Camera Raw/Lightroom
  • Selective Color adjustment layer ใน Photoshop
  • Hue/Saturation adjustment layer ใน Photoshop 
  • Curves adjustment ตั้งค่าเป็น single color channel ใน Lightroom และ Photoshop

ลองไปเล่นกันดูก่อนนะครับ ส่วนภาคต่อไปเนื้อหาจะเป็นอย่างไร รอแอดมินแปลแปปนะ อย่าลืมกดติดดาวเพจ FOTOFAKA ไว้น้า

credits: petapixel