การใช้ แม่แบบการจัดองค์ประกอบ เพื่อพัฒนาฝีมือถ่ายภาพ

0

ETIENNE BOSSOT กล่าวว่า แม่แบบการจัดองค์ประกอบหรือ composition templates เหมือนเรามีตัวอย่างการจัดองค์ประกอบไว้ในหัวแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ภาพที่จัดองค์ประกอบแบบนี้จะดูน่าสนใจ เมื่อเราไปถ่ายสถานการณ์จริง เราก็จะใช้แม่แบบนี้มาปรับใช้ได้

การเรียนรู้แม่แบบเหล่านี้จะช่วยให้คิดและถ่ายได้เร็วขึ้นในสถานการณ์ที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะคุณไม่ต้องคิดมากมีแม่แบบอยู่ในหัวแล้ว

แม่แบบนี้คุณสามารถคิดหรือออกแบบได้ด้วยตัวเอง เป็นสไตล์ของตัวเอง และ ETIENNE BOSSOT จะมาโชว์ composition templates ที่เขาใช้ เวลาไปเที่ยวและถ่ายผู้คนในเอเชีย

กฏสามส่วน และพื้นหลังแบบ clean

กฏสามส่วนเป็นแนวทางการจัดองค์ประกอบพื้นฐานที่ช่วนให้ subject มี dynamic (ไม่เหมือนกับการวาง subject ไว้ตรงกลางที่ทำให้ subject ดูนิ่งไม่มี dynamic ) และพื้นหลังที่ clean นั้นช่วยให้ไม่มีอะไรรบกวนสายตาหรือดึงดูดสิ่งสนใจไปจาก subject หลัก

การใช้พื้นหลัง clean นั้น ทำได้หลายวิธี อาจหาพื้นหลังที่ไม่รบกวนสายตา เช่นผนังที่ไม่มีลวดลายมากนัก หรือท้องฟ้า หรืออื่นๆอีกมากมาย แต่หากพื้นหลังนั้นรบกวนสายตาอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็ถ่ายชัดตื้น ให้หลังเบลอ ก็สามารถช่วยได้

และถ้าให้ดีกว่านั้นเลือกพื้นหลังที่เป็นสีที่ตัดกันระหว่าง subject และพื้นหลัง จะช่วยให้ภาพดูน่าสนใจขึ้นไปอีก

กฏสามส่วน และพื้นหลังที่สมดุล

ถ้าคุณต้องการเพิ่มเรื่องราวในภาพของคุณมากขึ้น ลองหาพื้นหลังมาช่วยสร้างสมดุลในภาพของคุณ สายตาคนมองจะดูกลับไปกลับมาระหว่างฉากหน้าและฉากหลัง และที่สำคัญ ฉากหลังควรจะเรียบง่าย ไม่มี รายละเอียดเยอะเกินไป จนทำให้สับสน และสิ่งสำคัญคือการชั่งน้ำหนักให้ภาพสมดุล อย่าให้หนักไปข้างใดข้างหนึ่ง

กฏสามส่วน และ ฉากหน้า

แม่แบบนี้ได้แรงบันดาลใจมาจาก photojournalism มันช่วยเพิ่มอารมณ์แอคชั่นให้ภาพ เพิ่ม dynamic และช่วยลดฉากหลังที่ยุ่งเหยิงอีกด้วย

เส้นทะแยงมุม

เป็นองค์ประกอบที่ง่ายๆ แต่มีประสิทธิภาพ และใช้งานได้ดีเมื่อมีสิ่งที่เคลื่อนไหว มันช่วยเพิ่ม Dynamic มากกว่าเส้นตรง ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว

กรอบ

เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมกันเยอะมาก หรือเรียกว่า  frame within a frame มันได้ผลดี ช่วยบังคับสายตาคนมองให้มองไปยังจุดที่เราต้องการ

ใช้คนเป็นกรอบ

อีกเทคนิคนึงที่ยังมีประสิทธิภาพ ขณะที่ใช้เลนส์ไวด์ คือให้คนเป็นกรอบโดยธรรมชาติ เพิ่ม Dynamic ลดความรกของพื้นหลังและช่วยให้คนดูโฟกัสไปยังจุดที่น่าสนใจได้เช่นกัน

ความว่างเปล่า

อีกไอเดียหนึ่งก็คือ สร้างความรู้สึกที่ว่างเปล่า เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดูดราม่า ใช้ได้แบบถ่ายเงา (silhouettes) หรือท้องฟ้า โดยสร้างพื้นที่ว่างในส่วนนั้นเยอะๆ เพื่อเพิ่มความดราม่า

สามเหลี่ยม

สามเหลี่ยมเป็นรูปร่างที่เรียบง่าย และช่วยให้สายผู้ชมมองตาม 3 องค์ประกอบหลัก และ 3 subject ต้องเติมเต็มภาพ ไม่ให้มีพื้นที่ว่างที่ไร้ประโยชน์

กึ่งกลาง

นี่เป็นการจัดองค์ประกอบที่ ETIENNE BOSSOT ชอบมากที่สุด วาง Subject ไว้กลางภาพเมื่อเจอ พื้นหลังที่สมมาตร จะให้ภาพที่เรียบง่าย สมดุล มันอาจไม่มีความ Dynamic แต่ให้ความรู้สึกที่สงบ แต่บางครั้งเขาก็ไม่ชอบให้สงบเกินไป เลยเก็บท่าทางการเคลื่อนไหวของตัว subject  มาด้วย

คนมองไปยังขอบภาพ

ข้อนี้เป็นการแหกกฏของใครหลายๆคน แต่เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดภาพที่น่าสนใจได้ แทนที่จะให้ subject มองไปยังพื้นที่ว่างในภาพ หรือ เขา/เธอ มองไปยังขอบภาพแทน มันทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า opposing tensions ทำให้คนดูดูทั้งสองด้านของภาพ

เครื่องประหาร

อีกไอเดียหนึ่งคือถ่ายเอาหัวออก(เหมือนตัดคอ subject) เพื่อเน้นส่วนอื่นเช่น มือ เท้า เครื่องมือ เพราะผู้คนจะมองที่ตาคนก่อนอันดับแรก  เมื่อตัดหัวออกแล้ว ความสนใจจะไปยังส่วนที่เหลือ อาจไม่ต้องตัดไปทั้งหัวก็ได้ แต่ถ่ายไม่ให้ติดตามาก็พอ

ETIENNE BOSSOT ได้พบปะกับช่างภาพหลายคน พวกเขาไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์ เขารู้พื้นฐานกล้องดี รู้การตั้งค่าทั้งหมด รู้กฏพื้นฐาน แต่ไม่สามารถสร้างภาพที่ดูไม่ธรรมดาได้ เมื่อได้มอง portfolio ของพวกเขาเหล่านั้นมีคำหนึ่งโผล่ขึ้นมานั่นคือ “คาดเดาได้” ภาพเหล่านั้นมา แม่แบบเดียวกับ ภาพมันก็สวยดี แต่ขาดความคิดสร้างสรรค์ ความแปลกใหม่ ขาดความเป็นต้นตำรับ

ฉะนั้น ช่างภาพที่ฉลาดเฉลียว ใช้แม่แบบที่บอกไปเพื่อความรวดเร็วในการเก็บภาพให้มีประสิทธิภาพ แต่ต้องปรับใช้ให้เข้ากับสถาณการณ์ และจังหวะด้วย

และมันก็สำคัญมากที่จะผลิตแม่แบบใหม่ๆของตัวเองขึ้นมา เมื่อแม่แบบเก่าๆ มันดูไม่หวือหวา แล้ว หากคุณต้องการพัฒนาตัวเอง ลองมอง portfolio ของคุณว่าภาพที่คุณถ่ายๆมานั้นใช้ แม่แบบ หรือ template ไหนอยู่ และมันซ้ำซากไหม มันช่วยให้งานคุณออกมาดีไหม หากคุณทำมันซ้ำๆ มันจะไปจบกับผลลัพธ์ที่ “คาดเดาได้” 

และเมื่อคุณมองภาพที่คุณชอบที่สุด ทำไมคุณถึงชอบมัน มันต่างจากรูปอื่นตรงไหน มันผิดจากแม่แบบเดิมๆของคุณอย่างไร เมื่อพิจารณาดีแล้วมันอาจทำให้ครั้งต่อไปคุณถ่ายภาพออกมาได้น่าสนใจขึ้น

ความคิดสร้างสรรค์

เรียนรู้จากงานคนอื่น

วิธีที่ง่ายที่สุดคือดูงานคนอื่น เมื่อคุณดูงานคนอื่นมันทำให้คุณหยุด และดู  คุณได้ใช้เวลาในการวิเคราะห์มันไหม? คุณพยายามเข้าใจว่าองค์ประกอบไหนที่ทำให้ภาพดูน่าสนใจ? เราสามารถเรียนรู้ได้มากมาายในการดูภาพคนอื่น มันเลยเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

หรือาจเข้า workshop ถ่ายภาพนอกสถานที่ ที่ที่ไม่คุ้นเคย ไม่นานมานี้ ETIENNE BOSSOT ได้เข้าร่วมทริปถ่ายภาพที่มาเลเซีย เขาเหมือนได้พบโลกใหม่ ผู้คนมีเรื่องราวที่สวยงามและน่าสนใจ เมื่อไปยังสถานที่ใหม่ๆ เจอคนใหม่ๆ ก็จะได้รับความคิดไอเดียใหม่ๆ

มุมมองใหม่ๆ

โดยเทคนิคแล้ว มีสิ่งที่ช่วยให้คุณได้มุมมองใหม่ๆ

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ แสง ลองโฟกัสเรื่องแสงและเงา คุณอาจมองเห็นสิ่งที่ต่างจากเดิม เมื่อแสงตกลงบางส่วนของ subject เมื่อตัดส่วนที่ไม่โดนแสงออก มุมมอง และองค์ประกอบจะเปลี่ยนไปทันที พอโฟกัสเรื่องแสง มีโอกาสสูงที่จะลืมเรื่องแม่แบบไป เราจะจัดองค์ประกอบตามเส้น และ ทิศทางแสงที่เรามี

กลับมุมมอง

แทนที่จะถามว่าเอาส่วนไหนเข้ามาในเฟรมภาพบ้าง ลองถามใหม่ จะเอาส่วนไหนที่ไม่ต้องการออกไปบ้าง

วิธีนี้จะช่วยเสริมเรื่องการใช้แสงในการจัดองค์ประกอบ แทนที่จะคิดแบบเดิมๆ (subject,พื้นหลัง,…) ที่จะทำให้คุณจัดตาม Template เดิมๆ เมื่อคุณคิดเรื่องแสงและเส้น และตัดสินใจตัดองค์ประกอบอื่นๆทิ้ง สมองจะไม่พยายามจัดองค์ประกอบตาม แม่แบบเดิมๆของคุณ แต่จัดตามที่แสงให้มา

ใช้อุปกรณ์ที่ต่างออกไป

อีกวิธีหนึ่งก็คือใช้อุปกรณ์ที่ต่างจากเดิม การถ่ายภาพให้ออกมาดีไม่ใช่เรื่องของอุปกรณ์ แต่การใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างนั้นช่วยให้คุณฉีกกรอบความคิดเดิมๆ เมื่อผมเห็นช่างภาพ portraits ถ่ายคนโดยใช้ 85mm และ 105mm โดยเปิดรูรับแสงกว้างๆ ผมก็ให้พวกเขาหันมาถ่ายด้วย 35mm f/8.0 มันทำให้เขาคิดวิธีใหม่ๆ ในการถ่ายทำให้ได้มุมมองใหม่ๆ อีกอย่างคือลองเปลี่ยน สัดส่วนภาพ อาจใช้เป็น 1:1 กฏสามส่วนที่คุณใช้ จะส่งผลต่างออกไปทันที และทำให้คุณพัฒนามุมมองขึ้น

เปลี่ยนความคิด

สิ่งหนึ่งที่ไม่ใช่เรื่องของเทคนิค มันเป็นเรื่องของความคิดของคุณ การใช้อุปกรณ์ที่ต่างออกไป ตั้งค่าต่างออกไป สัดส่วนที่ต่างจากเดิมนั้น จริงๆแล้วเป็นการผลักดันไม่ให้คุณอยู่กับสิ่งเดิมๆ และเมื่อคุณออกจาก comfort zone นี้ได้คุณก็ไปยังโซนแห่งการเรียนรู้

องค์ประกอบต่างๆนั้นมาจากความคิด  เมื่อความคิดคุณเปลี่ยนองค์ประกอบภาพของคุณก็จะเปลี่ยน หากคุณเป็นช่างภาพท่องเที่ยว ทำให้คุณไม่คิดว่าคุณเป็นช่างภาพข่าวซักวันล่ะ? การถ่ายภาพและวิธีคิดจะออกมาต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง เมื่อต้องถ่ายภาพชุด ถ่ายมาเป็นโปรเจค ซึ่งปกติในฐานะช่างภาพ จะถ่ายมาช็อตเดียว ไม่มีเรื่องราวประติดประต่อกัน เมื่อคิดว่าเป็นช่างภาพข่าวอาจต้องศึกษาเรื่องราว เหตุการณ์ องค์ประกอบต่างๆ ที่ให้มาในแต่ละสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็น รูปร่าง,รูปแบบ pattern, อารมณ์ของตัวแบบ ฯลฯ

เมื่อคิดว่าเป็นช่างภาพ Street ก็มีแนวคิดอีกแบบซึ่งแตกต่างไปจาก ช่างภาพท่องเที่ยว ต้องมอง แสง เงา รูปร่างมากขึ้น และมองสิ่งต่างๆที่อาจเกิดขึ้นบนท้องถนน

เพื่ออกจากความคิดเดิมๆและ comfort zone คุณอาจต้องตั้งกฏใหม่ทั้งหมด สำหรับการจัดองค์ประกอบ และมันจะนำคุณไปสู่การทดลอง และอาจได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มันอาจยากและพบกับความผิดหวังในช่วงแรก แต่มันจะน่าสนใจหรอ ถ้ามันง่ายเกินไป?

credits: Etienne Bossot | Twitter | FlickrFacebook | petapixel