
หลายคนคงคุ้นหูคำว่า กฏสามส่วน หรือ กฏต่างๆ เกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบ และหลายคนก็สงสัยว่า กฏถ้าไม่ทำตามคือผิดหรือเปล่า? วันนี้นำบทความที่น่าสนใจจาก คุณ Sornsak Sakbodin มาแบ่งปันกันครับ ลองไปตามอ่านกันเลย
เรื่องนี้ค้างตอบอยู่เป็นเวลานา
เท่าที่ผ่านๆมา ผมได้เห็นความเข้าใจในหลายๆอย่า
ในระยะเวลาประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมา ผมได้ยินคำว่า “แหกกฏ” ในการถ่ายภาพมาก คือมีผู้ที่คิดว่าหากไม่ทำตาม “กฏ” ที่ตั้งเอาไว้ จะได้ภาพออกมามาสวยกว่า หรือดีกว่า ดังนั้นก็จะ “แหกกฏ” ซะ…เพราะ “กฏ” มีไว้ให้แหก – เรื่องอย่างนี้สามารถหาอ่านได้แทบจะทุกแห่งที่มีการพูดถึงเรื่องการถ่ายภาพ และผู้คนส่วนใหญ่ หรือแทบทุกคนต่างก็จะเขัาใจไปในทางเดียวกัน
อย่างที่ผมจั่วหัวไว้ composition guidelines ซึ่งเป็นคำที่ผมก็ได้รับการสอนมาว่าในงานศิลป์ มันไม่มีกฏ มีแต่แนวทางให้ปฏิบัติตาม ซึ่งไม่มีผิดและไม่มีถูก … จากเท่าที่เรียนรู้มา คำว่า “rules” ใน composition rules มันมีความหมายว่า “แนวทาง” มากกว่า “กฏ” และผมก็ยังได้รับการสอนมาว่า “กฏ” เป็นสิ่งที่ได้รับการตั้งขึ้นมาในสังคมให้ผู้คนปฏิบัติตาม หากไม่ทำตาม ก็จะผิด ซึ่งก็จะทำให้ การแหกกฏ ยิ่งผิดหนักเข้าไปอีก ดังนั้นเวลาถ่ายภาพให้คิดถึงคำว่า guidelines แทน
หลายปีที่ผมสอน ผมก็ได้ใช้คำว่า composition guidelines แต่ว่ามันไปขัดกับความคิดเห็นของอาจารย์ท่านอื่นๆ ก็เลยออกมาทำการสอนเป็นส่วนตัวแทน ผมคิดว่าหลายคนคงอาจจะเคยได้เห็นสองประโยคนี้มากันบ้างแล้ว “The only rule in photography is that there are no rules” กับ “There are no fixed rules in photography, but there are guidelines which can often help you to enhance the impact of your photos”ที่เขียนมานี้ไม่ได้ไปคัดค้านความคิดเห็นของใคร เพียงแค่อยากนำความคิดต่างนี้ออกมาให้อ่านกันอีกครั้ง…คิดว่าน่าจะช่วยทำให้หลายๆคนถ่ายภาพได้อย่างสบายใจขึ้นเพราะมันไม่มี “กฏ” ถ่ายตามที่ตนเห็นว่าดี และเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม แนวทางหลายๆอย่าง ใน composition guidelines หรือ composition rules ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าช่วยทำให้ภาพที่อาจจะธรรมดาๆดูดีขึ้นได้ครั้งแล้ว ครั้งเล่า ดังนั้นเราจึงควรศึกษามันไว้บ้าง ไม่ควรที่จะทิ้งมันไป เพียงแค่เปลี่ยนจากความคิดที่ว่ามันคือ “กฏ” มาเป็น “แนวทาง” แทน…คุณก็จะไม่ต้อง “แหกกฏ” กันอีกต่อไป
credits: facebook