งานวิจัยของ google ใช้โปรแกรมสร้างภาพถ่ายระดับบมืออาชีพ

0

การใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้จากข้อมูล โดยเริ่มจากการสร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่มีความยืดหยุ่น และสามารถปรับตัวเองเข้ากับข้อมูลที่ได้รับได้นั้น(Machine learning) มีการใช้งานอย่างกว้างขวางรวมไปถึงงานที่หลายคนคิดว่าทำไม่ได้ เช่นงานแนวศิลปะ

วันที่ 13 ก.ค. 2560 ที่ผ่านมา Google ได้ใช้เผยแพร่บทความถึงหลักการดังกล่าว ที่เรียนรู้จากภาพสวยๆ โดยเลียนแบบขั้นตอนการทำงานของช่างภาพมืออาชีพ และให้โปรแกรมสำรวจภูมิทัศน์ใน Google Street View และหามุมหรือ องค์ประกอบที่เจ๋ง และมาแต่งภาพเพื่อให้ได้ภาพสวยๆออกมา 

Google กล่าวว่าช่างภาพเสมือนของเรา(น่าจะหมายถึงโปรแกรม) ได้ไปดูภาพพาโนรามาประมาณ 40,000 บริเวณ เทือกเขา Alps, Banff, Jasper,Big Sur,Yellowstone และเก็บภาพมาประมวลผลให้ได้ภาพสวยๆ และใช้ช่างภาพมืออาชีพมาตัดสินเก็บเป็นข้อมูลว่ารูปไหนสวยไม่สวย 

a คือภาพ panorama โปรแกรมจะครอปโดยเลือกองค์ประกอบให้สวย ได้ภาพ b ออกมา เพิ่มสีสัน ทำ HDR จนได้ C และปรับแต่งด้วย  dramatic mask จนได้ภาพ d

dramatic mask เป็นขั้นตอนพิเศษที่ช่วยสร้างแสงเงาที่ได้จากการเรียนรู้เรื่อง dramatic lighting ดูผลลัพธ์เพิ่มเติมด้านล่าง

Jasper National Park, Canada.

Interlaken, Switzerland.

Park Parco delle Orobie Bergamasche, Italy.

Jasper National Park, Canada.

สำหรับการประเมินผลแบ่งเป็น สี่ ระดับ คือ ไม่สวย, เป็นภาพที่ดีแต่ไม่มีความงามเชิงศิลป์ที่เด่นชัด, กึ่งโปร, โปร จากการประเมินผลของช่างภาพมืออาชีพปรากฏว่ามี 40% ที่อยู่ระดับ กึ่งโปรและโปร

สำหรับคนที่คิดว่าถ้าโปรแกรมทำได้ขนาดนี้คงโดนโปรแกรมแย่งงานแน่ๆ เรื่องนี้ระดับ google คงมาแย่งงานระดับล่างโดยตรงแน่ๆ แต่เป็นเรื่องของการให้บริการที่ช่วยให้ช่างภาพสะดวกมากขึ้น เช่น มีระบบช่วยให้ถ่ายรูปสวยขึ้น (แม้จะเป็นมือใหม่), Street view หรือระบบ guide สถานที่ที่ให้ภาพที่สวยขี้น ไม่ต้องอาศัยการ pre-visualization มากนัก หรือ เวลาเห็นภาพที่เราชอบ สามารถคลิ๊กดูได้ว่า อยู่ส่วนไหนของ Street view และใกล้ๆ เรามีที่ไหนประมาณนี้บ้าง สรุปแล้วน่าจะช่วยช่างภาพมากขึ้น และลดช่องว่างของมืออาชีพและมือสมัครเล่นแคบลง เพื่อนๆคิดเห็นยังไงบ้างลองคอมเมนต์มาได้เลยครับ

credits: research.googleblog.com