เคล็ดลับการตัดภาพ(Crop) เพื่อให้ได้ภาพที่สวยขึ้น ภาคสอง

1

ใครที่ยังไม่อ่านภาคแรกตามไปอ่านได้ที่ เคล็ดลับการตัดภาพ(Crop) เพื่อให้ได้ภาพที่สวยขึ้น ภาคแรก
ภาคนี้จะเป็นการพูดถึงเรื่อง “ศิลปะการ Crop”

การ Crop รูปไม่มีกฏข้อบังคับตายตัวที่จะรับประกันว่าผลลัพธ์จะออกมาสมบูรณ์แบบ แต่ก็มีแนวทางเพื่อให้ภาพออกมาดูดีขึ้นอยู่บ้าง

ครอบตัดเพื่อเน้นความสนใจต่อ subject

ในขณะที่ฉันแต่งภาพถ่ายของฉันใน Lightroom ฉันมักพบว่านอกเหนือจากเรื่องหลักของฉัน ยังมีองค์ประกอบอื่นๆในเฟรม บางครั้งก็ประกอบเรื่องราวได้ดี แต่บางครั้งก็รบกวนสายตา และลดความน่าสนใจในภาพลง

 

นี่เป็นภาพที่ไม่ได้ crop เป็นภาพครอบครัว แต่มีต้นไม้ ท้องฟ้า และสะพานในพื้นหลัง มีแนวโน้มที่จะหันเหความสนใจของผู้ชม ภาพนี้ถ่ายด้วย D200 ขนาด 10 ล้านพิกเซล ถ้าอยากให้ภาพมี impact มากกว่านี้ก็ครอปไปอีก ครอปแล้วเหลือ 6  ล้านพิกเซล สามารถปริ้นท์ออกมาขนาด 8×10 หรือ 11×14 นิ้วก็ยังได้

 

มันจะดีกว่าหากถ่ายมาแบบนี้ตั้งแต่แรก แต่บางครั้งก็ไม่มีทางเลือก และหากเกิดขึ้นกับคุณ ก็ไม่ต้องกลัวที่crop

ไม่ใช้แค่ภาพบุคคล

การครอปไม่ได้ใช้เฉพาะภาพบุคคล สามารถใช้อย่างอื่นได้ด้วยเช่นภาพนี้ เป็นไซต์ก่อสร้าง คุณต้องถามตัวเองว่าคุณอยากให้คนดูโฟกัสที่จุดไหน อยากนำเสนอจุดไหน ?

ต้นฉบับที่ไม่ถูกตัดออก จะเห็นว่ามีสิ่งไม่น่าสนใจเยอะแยะไปหมด

ก่อนที่ฉันจะแสดงเวอร์ชันที่ตัดออกมา ฉันต้องใส่ข้อแม้ไว้ที่นี่ – เป็นความชอบส่วนตัว อาจเป็นไปได้ว่าบางคนชอบต้นฉบับเนื่องจากแสดงกิจกรรมมาก แต่ผมอยากจะให้สนใจช่างเหล็กนั่งอยู่บนเหล็กทางด้านขวามือ เลย crop ดังนี้

ตัดแล้วจะลดสิ่งรบกวนสายตาลงไป แต่ก็ยังมีรั้วบังอยู่ด้านหน้า แต่เดี๋ยวเรื่องตัดรั้วเราจะพูดในครั้งต่อไป

Crop เพื่อปรับองค์ประกอบใหม่

หลายคนเมื่อตอนถ่ายรูปจะคิดง่ายๆว่าให้ subject อยู่ตรงกลางภา แต่นั่นก็ไม่ใช่ผลลัพธ์ที่ออกมาดีนัก จากภาพด้านล่าง ผมว่าเด็กไว้กลางภาพ เด็กชายมองไปทางซ้าย พื้นที่ด้านขวาจะดูว่างๆ

จะเห็นว่าเมื่อครอปแล้วอารมณ์ภาพเปลี่ยนไปอย่างมาก เด็กผู้ชายอยู่ด้านขวามองไปพื้นที่ว่างด้านซ้าย ดูลงตัวและมี impact น่าสนใจมากขึ้น

 

 

วัตถุเคลื่อนที่

เทคนิคนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อใช้กับวัตถุเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็น รถ เครื่องบิน เด็ก หรือเต่า เป็นต้น

ภาพนี้เห็นว่าท่อ PVC ด้านซ้ายรก และไม่เสริมอะไรกับภาพ เราเลย crop ออก จะได้ภาพที่เน้นเด็กและเต่ามากขึ้นไม่กวนสายตา เด็กอยู่ทางซ้ายกำลังเคลื่อนที่ไปทางขวา เราก็เว้นพื้นที่ว่างทางขวา ให้ภาพเกิดสมดุล และดูน่าสนใจมากขึ้น

 

ใช้เส้นนำสายตา

เราจะแสดงการครอปโดยอ้างอิงจากเส้นนำสายตามาให้ชมกัน

จะเห็นว่าทิศทางของภาพจะมาจากมุมบนขวาไปยังล่างซ้าย

เมื่อเราครอปแบบนี้ ทิศทางมันก็จะมาชนขอบซ้ายเลย ไม่มีที่ว่าง แต่ดันไปมีที่ว่างด้านขวาแทน คุณจะรู้สึกอึดอัด

แต่เมื่อครอปแล้วให้ subject อยู่ด้านขวา ทิศทางจะไหลลงมาสู่พื้นที่ว่างด้านซ้ายดูสบายตาสบายใจขึ้น

 

การครอปตัดเพื่อความสนุก

การถ่ายภาพมีแนวทางมากมายและมีกฏตายตัวน้อยมาก และบางครั้งกฏเหล่านั้นก็สามารถแหกได้และได้ภาพที่ดีอีกด้วย เวลาครอปภาพไม่ต้องกลัวที่จะตัดสิ่งที่ไม่ชอบ ลองเล่นไปเรื่อยๆ ตามที่ใจคุณต้องการ รวมถึงการลองปรับสัดส่วนภาพด้วย เช่นภาพนี้พื้นที่ว่างซ้ายขวามากไป ผมเลยทำให้เป็นสัดส่วน 1:1

บางครั้งคุณอาจไม่รู้เหตุผล หรือทฤษฎีมารองรับ แต่ถ้าคุณครอปแล้วชอบ ก็ทำตามหัวใจคุณต้องการ

แม้บทความนี้จะแสดงให้เห็นว่าการครอปนั้นดีแค่ไหน แต่จะดีกว่าหากถ่ายมาให้ดีตั้งแต่ตอนแรกจะได้ไม่เสียรายละเอียดภาพไป
บางครั้งการลองครอปบ่อยๆ จะช่วยให้ครั้งต่อไปเรารู้องค์ประกอบและภาพที่ควรจะเป็นได้มากขึ้น ลองใช้กันดูนะครับ

credits: dps