หลังจากได้อ่านบทความ เทคนิคถ่ายภาพอาหาร ให้ชวนน้ำลายไหล (ภาคแรก) ยังมีเทคนิคเพิ่มเติมสำหรับถ่ายอาหารอีกครับ แล้วเรามาต่อกันเลยดีกว่านะครับ
เลือกวัตุดิบที่สดใหม่
หากผิวของวัตถุดิบเหี่ยวย่นหรือได้รับความเสียหาย ก็หาอันใหม่ หรือหามัมที่ไม่เห็นส่วนนั้น มันดูง่ายๆ แต่บ่อยครั้งที่หลายคนมักจะพลาด หลายครั้งที่คุณถ่ายมันใกล้ๆ สิ่งบกพร่องของวัตถุดิบนั้นอาจโผล่มาได้ ตรวจสอบมันให้ดีก่อน และเลือกซื้อวัตถุดิบมาอย่างรอบคอบ
แสงคือทุกอย่าง
ภาพแสงจากด้านหน้า ทำให้ภาพแบนๆ
ภาพแสงจากด้านหลังทำให้สวยดูน่ากินขึ้น
แสงจากด้านหลังเป็นกุญแจสำคัญทำให้อาหารดูดี และมันทำให้ควันหรือไอความร้อนต่างๆ มองเห็นได้ชัดขึ้นเมื่อส่องไฟจากด้านหลัง ลองดูภาพที่สองสลัดดูน่ากินขึ้นเพราะแสงจากด้านหลัง
ทำให้เรียบง่าย
อะไรที่คุณไม่ต้องการเอาออกซะ สิ่งที่มันดึงดูดความสนใจหรือทำให้ความสนใจของอาหารลดน้อยลงก็เอาออก แต่ถ้าอาหารที่ปรุงเสร็จแล้วดูไม่สวยเท่าไหร่ ก็ถ่ายเฉพาะส่วนหนึ่ง จากรูปซุปนี้ดูไม่น่าสนใจเท่าไหร่ คุณก็ต้องทำอะไรกับมันซะหน่อยแล้ว จัดแต่งให้สวยงาม และครอปภาพออกส่วนหนึ่ง
ใช้ของตกแต่งแบบเรียบง่ายรวมทั้งวัตถุดิบด้วย
ใช้จาน ชาม ช้อน มีด ฯลฯ แบบเรียบง่าย ไม่มีลวดลาย และวัตถุดิบสดๆ จะเป็นของตกแต่งที่ดีเลยทีเดียว
ถ่าย ทั้งก่อนและหลังทำ
อันนี้ก็คล้ายๆกับภาคแรก ที่ว่าถ่ายตอนปรุงอาหารอยู่ด้วย ลองถ่ายทั้งก่อน และปรุงเสร็จแล้วดูครับ
ใส่อวัยวะเข้าไปด้วย
ไม่ได้ใส่เข้าไปในอาหารนะครับ !! ใส่เข้าไปในภาพ การเพิ่มมือ กำลังตักอาหาร ทำให้มีการเปรียบเทียบขนาด เพิ่มความน่าสนใจและความ Real มากขึ้นอีกด้วย
อย่าถ่ายตอนปรุงเสร็จแล้ว
อาหารบางชนิดเช่นผัก เมื่อปรุงแล้วอาจเหี่ยว หรือหดลง เมื่อเราเห็นว่ามันกำลังอวบๆฉ่ำๆ ก็เอาลงมาถ่ายก่อนแล้วค่อยวางกลับไปปรุงต่อ
ถ่ายจากหลายๆมุม
พยายามหามุมถ่ายหลายๆมุม อาจถ่ายตรงขอบจาน พยายามหามุมใหม่ๆถ่ายไปเรื่อยๆ
ใส่น้ำมันนิดหน่อย
เพื่อให้ผักดูแวววับน่าทาน ใช้น้ำมันมะกอกคลุกเคล้านิดหน่อย หรือละอองน้ำสลัด มันทำให้ดูสดขึ้น
Credits : Darlene Hildebrandt , DPS