การถ่าย Long Exposures จะทำให้ส่วนที่เคลื่อนไหวอยู่ เบลอ เห็นเป็นการเคลื่อนไหว ส่วนสิ่งที่อยู่นิ่งก็จะคงอยู่กับที่ แต่ สิ่งที่อยู่นิ่ง ก็สามารถเบลอได้หากกล้องสั่น หรือ ตั้งค่ากล้องไม่เหมาะสม
วันนี้มีเทคนิค 5 อย่าง เพื่อให้ภาพ Long Exposures ของคุณมีความคมชัด
1) ใช้ขาตั้งที่เหมาะสม
เมื่อคุณถ่ายโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ ช้าๆ หากใช้มือเปล่ามีโอกาสได้ภาพมาไม่คมชัดแน่ๆ คุณต้องใช้สิ่งที่มั่นคงกว่ามือของคุณ ซึ่งอาจตั้งไว้บนโต๊ะ บนหิน อะไรก็ตามแต่ แต่ส่วนใหญ่จะใช้ขาตั้งกล้องที่มั่นคงแข็งแรงจะแน่นอนกว่า
2) ใช้รีโมท หรือ ตั้งเวลา
ถึงแม้เราจะใช้ขาตั้งแล้ว แต่เมื่อเรากดชัตเตอร์อ็อาจทำให้กล้องสั่นได้ มีสองวิธีที่ช่วยในเรื่องนี้คือ หาสายลั่นชัตเตอร์ หรือ รีโมทแบบไร้สายก็ได้ อีกวิธีคือตั้งเวลา หรือให้มันถ่ายหลังจากกดไป 2 วินาที
3) ใช้ Manual Focus
Auto Focus เป็นสิ่งที่ดี ส่วนมากคุณสามารถพึ่งพามันได้ และทำให้ชีวิตการถ่ายภาพของคุณง่ายขึ้น แต่มีหลายครั้งเมื่อคุณใช้มันถ่าย Long Exposure กลับให้ผลตรงกันข้าม
ยิ่งในสถานการณ์ที่แสงน้อย ออโต้โฟกัสจะมีปัญหาในการหาสิ่งที่จะโฟกัส และการใช้ ND Filter ก็เช่นกัน
ทางแก้คือใช้ Manual Focus หรือใช้ แฟลช เพื่อให้มันออโต้โฟกัส เมื่อมันโฟกัสได้แล้วก็ปิดออโต้โฟกัสไป ลองอ่าน เพิ่มเติมได้ที่ 9 เทคนิคที่ช่วยให้ถ่ายภาพในที่มืดได้คมชัด
4) ล็อคกระจก (Mirror Up)
หากคุณใช้ DSLR จังหวะยกกระจก จะเกิดการสั่นเล็กน้อย ให้ใช้ Mup (Mirror Lockup) จะทำให้เวลาคุณกดชัตเตอร์ครั้งหนึ่งจะทำการยกกระจกขึ้น และกดอีกครั้งเพื่อถ่ายภาพ (แยกเป็นสองขั้นตอน ปกติ จะรวมเป็นขั้นตอนเดียวหากคุณคุณชัตเตอร์)
5) ใช้รูรับแสงที่ Sweet Spot
การใช้รูรับแสงเล็กๆ ทำให้ได้ภาพชัดลึกก็จริง แต่หากรูรับแสงเล็กเกินไปจะทำให้ไม่เกิดความคม เนื่องจาก การเลี้ยวเบน (diffraction effect)
เลนสืแต่ละชนิดจะมี sweet spot ต่างกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ช่วง f/5.6-f/8 จะทำให้คุณได้ภาพคมชัดที่สุด ลองดูวีดีโอเกี่ยวกับเรื่องนี้ดูครับ
การถ่าย long exposure ใช้ทั้ง ศาสตร์และศิลป์ วันนี้เราได้เผยศาสตร์หรือเทคนิคช่วยเพิ่มความคมชัด ไปแล้ว หวังว่ามันจะช่วยให้การถ่าย Long Exposure ครั้งต่อไปของคุณได้ดีขึ้น
Credits: Kevin Choi | dps