การเลือกหน้าจอสำหรับการแต่งภาพ

2

ช่างภาพบางคนคิดแล้วคิดอีกเรื่องการซื้อกล้อง และเลนส์ราคาแพงๆ แต่สำหรับหน้าจอแล้วมักจะไม่ค่อยใส่ใจในการเลือกซื้อซักเท่าไหร่ อาจเป็นเพราะคิดว่ามันคงเหมือนๆกันหมด บ้างก็คิดว่ามันต่างกันที่ขนาด บทความที่ผมจะแปลวันนี้ จะช่วยให้คุณรู้ว่าเวลาเลือกซื้อจอ ควรดูอะไรบ้าง? และยิ่งซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่เห็นภาพจริงๆ ต้องดูสเปคอย่างไร มาติดตามกันเลยครับ

Panel Technology

ส่วนของ Panel คือส่วนของหน้าจอเลย จะมีเป็นชั้นๆหลายชั้น เช่น ชั้นโพลาไรซ์, พื้นผิวแก้ว, ชั้นคริสตัลเหลว (LCD) และตัวกรองสี จะแบ่งใหญ่ๆได้ 3 ประเภทดังนี้

TN Panels

พาเนลประเภทนี้เจอบ่อยในเหล่าเกมเมอร์ เพราะมีอัตราตอบสนอง(response times) ที่ไว ช่วยลด โกส เอฟเฟคเบลอ ในภาพที่เคลื่อนไหว และราคาค่อนข้างถูก แต่ข้อเสียคือ ความผิดเพี้ยนของสี มุมมองภาพที่แคบ เช่นขยับไปดูข้างๆหน้าจอ สี คอนทราสต์ต่างๆ จะเพี้ยนไปทันที 

และจงระวัง สเปคหน้าจอที่บอกว่า TN panel มีมุมมองทั้งแนวตั้งแนวนอน 170/160° เงื่อนไขการทดสอบของพวกเขาจะไม่ตระหนักถึงเรื่องคอนทราสต์มากนัก

โน๊ตบุ๊คส่วนใหญ่เป็น TN Panel จะต้องอยู่ในตำแหน่งตรงพอดีกับหน้าจอถึงจะแต่งภาพได้ 

IPS Panels 

จอประเภทนี้ มีมุมรับภาพที่กว้าง มองจากข้างๆ หรือด้านบนสีก็จะไม่เพี้ยน เหมาะสำหรับแต่งภาพหรือ งานที่ต้องการคุณภาพ และความแม่นยำของสีที่สูง ช่างภาพมักเลือกจอประเภทนี้มากกว่า TN Panels

ข้อเสียของ IPS คือจะแพงกว่า และ response times ต่ำกว่าถ้าเน้นเล่นเกมอาจไม่ดีเท่า TN และมีโอกาสเกิด IPS glow หรือแสงรั่ว เวลามองจอดำๆ ในที่แสงน้อย รุ่นที่แพงๆหน่อยจะมีโอกาสเจอน้อยกว่า

จาก IPS แบ่งย่อยเป็นหลายอย่าง เช่น S-IPS, e-IPS, H-IPS, และ P-IPS.  ส่วนมากหลักการคล้ายๆกัน แต่เรื่องย่อยๆจะต่างกัน เช่น ความลึกของสี หรือ response times, สัดส่วนคอนทราสต์ เช่น  e-IPS panel จะถูกกว่าแบบอื่น เพราะให้ความลึกของสีน้อยกว่าแบบอื่น และ AH-IPS ที่ให้คอนทราสต์ที่สูง ให้สีดำที่ลึกกว่า มีขอบเขตสีที่กว้าง เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ อ่านประเภท IPS ย่อยเพิ่มเติม

VA Panels

ประเภทนี้ จุดเด่นคือแสดงผลในส่วนของโทนมืดหรือสีดำได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ให้สีดำที่มืดสนิท ในเรื่องของสีและมุมมองการรับภาพ จะไม่ดีเท่า IPS แต่ดีกว่า TN  

Standard หรือ wide gamut?

Gamut คร่าวๆ คือ ขอบเขตของสีที่จอนั้นๆรองรับ ขอบเขตของสีแบบมาตรฐานหรือแบบกว้าง เลือกอันไหนดี? Standard gamut จะมีราคาถูกมีหลายรุ่นหลายราคาให้เลือก แต่ใช้จัดการสีตอนปริ้น inkjetได้ไม่ดี จะไม่ดีนักสำหรับคนชอบถ่าย Landscape เพราะจะสูญเสียสีที่สำคัญไปคือฟ้าและเขียวไปในบางส่วน Wide gamut ให้สีที่ดีกว่า โดยเฉพาะท้องฟ้า หญ้า, ทะเล, พืชต่างๆ เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับช่างภาพ Landscape เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการทำ soft-proof (preview) สีของการพิมพ์ภาพ Inkjet เพราะหน้าจอครอบคลุมสีแทบจะทั้งหมดของเครื่องพิมพ์ Inkjet แต่แพงกว่า

สัดส่วน (Aspect ratio)

จอภาพราคาถูกส่วนใหญ่จะเป็น 16:9 มันเหมาะสำหรับดูหนัง แต่ถ้ามีงบพอ ซื้อ 16:10 มันให้พื้นที่ทำงานแนวตั้งได้มากกว่า มันเกือบจะพอดีกับขนาดรูปภาพ ที่มีขนาดสัดส่วน 3:2

ความละเอียด

มีหลายตัวแปรที่ช่วยในเรื่องความคมของภาพ ไม่ว่าจะเป็น คอนทราสต์, ฟิลเตอร์ป้องกันการสะท้อน, ระยะห่างจากหน้าจอกับคนดู เป็นต้น แต่ตัวแปรหลักคือ ความหนาแน่นของพิกเซล ยิ่งหนาแน่นมากกว่าก็จะทำให้ภาพคมขึ้นมากกว่า สามารถตรวจสอบความหนาแน่นของพิกเซลได้จากเว็บ PPI calculator 

ตัวอย่างเช่นจอทั่วไปจะมี ppi ประมาณ 90-100 ppi ขณะที่ จอ DELL UP3218K ที่เป็นหน้าจอ 8K ขนาด 32 นิ้ว ความหนาแน่นของพิกเซล 280 ppi จะให้ความคมชัดมากกว่าเยอะเลย

เมื่อใช้จอที่คมชัดเกินไปให้ระวังด้วย เพราะจะดูภาพทุกภาพคมชัดไปหมด และคิดว่าไม่จำเป็นต้องแต่งภาพแล้ว ถ้าความละเอียดน้อยภาพก็จะไม่ชัด ช่วงจอ 21-24 นิ้วควรมีความละเอียดอย่างต่ำ 1920 x 1080 พิกเซล จอ 27 นิ้วควรเป็น 2560 x 1440 พิกเซลขึ้นไป

ขนาดหน้าจอ

ยุคนี้ยิ่งใหญ่ ยิ่งดี เพราะดูภาพ และวีดีโอได้เต็มตา แต่ผมแนะนำว่าให้ซื้อในราคาที่เหมาะกับเรา อย่าให้ความสำคัญกับมันมากไปกว่าคุณลักษณะสำคัญอย่างอื่น จอที่ใหญ่ขึ้นต้องการ ความละเอียดที่มากขึ้น เพื่อให้แสดงภาพได้คมชัด ตอนเลือกซื้อให้ดูความหนาแน่นของ pixel ด้วย
ขนาดที่เหมาะสำหรับทำภาพอยู่ที่ช่วง 24-27 นิ้ว (วัดตามเส้นทแยง)

ฟิลเตอร์ป้องกันสะท้อน (Anti-glare Filters)

ปัจจุบันหน้าจอทุกจอแทบจะมีฟิลเตอร์กันแสงสะท้อนเกือบหมดแล้ว ช่วยลดการรบกวนสายตาจากการมองจอ ถ้าเป็นจอ Glossy ไม่มีการเคลือบด้าน มองนานๆจะปวดตา ซึ่งจอ Matte จะสารที่เคลือบด้านบนของหน้าจอทำให้จอด้าน มีผลต่อความคม ซึ่งการเคลือบมีหลายระดับ บางจอก็แทบไม่รู้สึก แต่บางจอก็สังเกตได้ ขึ้นอยู่กับราคา
หากเคยปริ้นกระดาษมันวาว(glossy)กับกระดาษด้าน(matte) จะสังเกตได้ว่ากระดาษ glossy จะดูคมกว่าเล็กน้อย
นอกจากมี Glossy และ Matte ยังมี Semi-Glossy ซึ่งมีน้อยมากในตลาดเป็นการรวมข้อดีของทั้งสองไว้ด้วยกัน คมใส ไม่สะท้อนแสง อย่างเช่น Dell U3415W

ฟิลเตอร์ป้องกันการสะท้อน ไม่ใช่สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง แต่ควรจะศึกษาหาข้อมูลจอที่กำลังจะซื้อก่อนว่ามันเป็นอย่างไรบ้าง ควรไปเลือกซื้อดูด้วยตัวเอง หรือหากซื้อออนไลน์ ให้ดูรีวิวสินค้านั้นๆด้วย

ความลึกของสี (Color Depth)

มันฟังดูงงๆ พยายามทำให้เข้าใจง่าย ก็คือ ความลึกของสีเกี่ยวข้องกับจำนวนสีที่จอแสดงผลสามารถแสดงได้

ในทางทฤษฎี ยิ่งจอสามารถแสดงผลสีได้มากเท่าไหร่ โทนภาพก็จะเนียนยิ่งขึ้น posterization effects (banding) น้อยลง

ภาพด้านบน 16 ล้านสี ภาพด้านล่าง 256 สี

จอส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะเป็น

  1. 8-bit color (native)
  2. 6-bit color + FRC (2 bits)

อย่างที่สองเป็นการรวมจุดสีเพื่อให้เกิดสีที่ไม่สามารถแสดงได้ และส่วนมากจะเกิดปัญหา banding ตามที่กล่าวไปด้านบน โน๊ตบุ๊คส่วนใหญ่จะเป็น 6 bit color และคุณอาจเห็น 10 bit color ในจอแพงๆ

Dell UP2715K เป็นอีกรุ่นที่เป็น 10 bit color
และจอ10 bit แสดงผล 1.07 พันล้านสีได้เฉพาะเครื่องมือที่รองรับกัน เช่นหน่วยประมวลผลแสดงภาพด้านกราฟฟิก, เชื่อมต่อด้วย Display Port หรือ HDMI, โปรแกรม, วีดีโอ เป็นต้น

Hardware LUT calibration

การคาลิเบรทเป็นการทำให้แสงสีตรงและแม่นยำ ซึ่งจอแพงๆส่วนใหญ่จะมี LUT built-in ซึ่งเป็นการคาลิเบรทในระดับฮาร์ดแวร์ทำให้ได้ความแม่นยำของสีที่มากขึ้น และการไล่สีหลังคาลิเบรทจะเนียนกว่าจอทั่วไปหรือจากการคาลิเบรทแบบธรรมดา แต่ราคาจอพวกนี้ก็สูงพอสมควรครับ

และยังมีปัจจัยอื่นๆเล็กๆน้อยๆ เช่นความบางของขอบที่เมื่อนำมาต่อกันแล้วทำให้ดูไร้รอยต่อ เพิ่มอรรถรสในการมองขึ้นด้วย หรือจอที่ปรับให้ตั้งได้ ก็อาจจำเป็นสำหรับบางคนเช่นกัน

จอที่ดีก็ช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น พยายามซื้อจอดีๆที่สามารถรับราคาได้ หากมีงบจำกัด ให้ดูสิ่งสำคัญที่สุดคือชนิด panel ตามด้วยขอบเขตการรองรับสีต่างๆ และอื่นๆไล่เรียงลงมาครับ

credits: dps | pcmag | colormanagement

LINE it!