ดวงจันทร์เป็นสิ่งที่หลายคนอยากถ่าย แต่การถ่ายนั้นต้องอาศัยการฝึก และความอดทนไม่น้อย เพราะต้องให้รายละเอียดที่ชัดและคม ค่าแสงที่ถูกต้อง ทั้งสถานที่นั้นๆ แต่ตัวดวงจันทร์ ช่วงเวลาที่ถ่ายนั้นบางครั้งมืดเกินไปก็ไม่มีรายละเอียด การถ่ายช่วง Blue hour นั้นช่วยให้มีรายละเอียดและได้ภาพที่สวยขึ้น
ถ่ายโดย Ganapathy Kumar on Unsplash
การถ่ายรูปดวงจันทร์เฉยๆนั้นไม่ยากนัก แต่การถ่ายรูปดวงจันทร์ให้ได้รายละเอียดทั้งฉากหน้าและฉากหลัง นั้นค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งเราจะมาอธิบายกันในบทความนี้
ถ่ายโดย zan douglas on Unsplash
อุปกรณ์ในการถ่าย Moonscape
- กล้องที่สามารถถ่ายโหมด Manual ได้
- เลนส์ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะถ่ายออกมาแนวไหน ใช้เลนส์มุมกว้าง (wide) ถ่ายเน้นภูมิทัศน์ (Landscape) และให้ดวงจันทร์เป็นแค่จุดที่ส่องแสงสว่าง ใช้เลนส์ระยะ 70-200mm หากต้องการรายละเอียดของดวงจันทร์ โดยให้ Landscape หรือ Cityscape เป็นฉากหน้า หากใช้กล้องฟูลเฟรม อาจต้องใช้ระยะมากกว่า 200mm
- ขาตั้งกล้องที่มั่นคงและหัวบอล เพราะบางครั้งต้องใช้เลนส์ระยะไกลซึ่งยาวและมีน้ำหนักมาก
- แอพเช็คสภาพอากาศและการขึ้นลงของดวงจันทร์ ณ สถานที่นั้นๆ
- รีโมทหรือสายลั่นชัตเตอร์เพื่อลดการเบลอระหว่างการกด
นี่เป็นทิปเล็กน้อยในการถ่าย Landscape พร้อมดวงจันทร์ เนื่องจากคุณต้องให้ฉากหน้าและฉากหลังชัด
- วางกล้องบนขาตั้งที่มั่นคง เพราะคุณต้องการรายละเอียดในที่ๆแสงน้อย และอุปกรณ์ที่หนัก
- ใช้ระบบยกกระจก(mirror lock up)เพื่อลดการเบลอ เมื่อซูมเยอะๆ การสั่นเพียงนิดเดียว ส่งผลต่อภาพมาก
- ใช้สายลั่นชัตเตอร์เพื่อเลี่ยงการสั่นจากการกดชัตเตอร์
- ใช้รูรับแสงอย่างน้อย f/7 แนะนำว่าอยู่ในช่วง f/11 ถึง f/16
ถ่ายโดย Kyle Johnson on Unsplash
- ใช้ iso ต่ำช่วง 100-400 เพื่อลด noise
- ใช้โฟกัสแบบ Manual เพื่อให้ได้ดวงจันทร์ที่คมชัด ใช้ live view และซูมไปที่ดวงจันทร์เพื่อดูรายละเอียดว่าโฟกัสเข้าไหม
- ถ้าส่วนใหญ่ในเฟรมเป็นภูมิทัศน์ให้โฟกัส 1 ส่วน 3 นับจากด้านล่าง เพื่อให้ทุกอย่างชัด ถ้าดวงจันทร์เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาพให้โฟกัสที่ดวงจันทร์
- ช่วงวันพระจันทร์เต็มดวงหรือก่อนหลัง 1 วัน เป็นช่วงเวลาที่ดีในการถ่ายดวงจันทร์ และช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้ขอบฟ้าทำให้ถ่ายคู่กับ Landscape ได้ง่าย ช่วงใกล้มืดช่วยให้มีแสงเพียงพอและมีสีสวยงามในการถ่าย
ถ่ายโดย Eberhard Grossgasteiger
- หากช่วงแสงกว้างเกินไปเก็บรายละเอียดได้ไม่ครบ ควรถ่ายคร่อมหรือ Bracketing
- อย่าจำกัดตัวเองแค่ถ่ายดวงจันทร์ ถ่ายภูมิทัศน์มาด้วย ซึ่งในระหว่างวันสามารถถ่ายออกมาได้ดีช่วงที่ดวงอาทิตย์ไม่สว่างจ้าเกินไป
ถ่ายโดย Pgeyr
- ช่วงพระจันทร์เสี้ยวจะขึ้นและตก เวลาใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ตกและขึ้น ทำให้สามารถถ่ายในช่วงแสงเย็นได้
ถ่ายโดย Jordan Steranka on Unsplash
ถ่ายโดย Terry Richmond on Unsplash
- หากดวงจันทร์ขึ้นตอนมืดแล้ว อาจถ้าฟ้ามาเก็บไว้ก่อนเพื่อให้ได้รายละเอียดฟ้า แล้วมา blend ภาพรวมกันทีหลัง
- เมื่อถ่ายดวงจันทร์กับเลนส์ wide พยายามเลือกมุมและตั้งค่ากล้องให้ดีเพื่อลดแฟลร์และโกสต์
ถ่ายโดย Krivec Ales
- อย่าลืมถ่ายภาพ silhouette ล่ะ
ถ่ายโดย Todd Diemer on Unsplash
ความจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระจันทร์เต็มดวง
ในช่วงพระจันทร์เต็มดวงจันทร์ขึ้นช่วงดวงอาทิตย์ตก และดวงจันทร์ตกช่วงดวงอาทิตย์ขึ้น เป็นช่วงเวลาที่ดีในการถ่ายรูปมาก และบทความนี้จะพูดเกี่ยวกับทิศทางการขึ้นลงของดวงจันทร์ในแต่ละฤดู
ถ่ายโดย Jplenio
ถ่ายโดย Jordan Steranka on Unsplash
ทิปอื่นๆในการถ่ายพระจันทร์
การวางแผนนั้นสำคัญมาก มาดูหลักการตัดสินใจและวางแผนกันครับ
- ตัดสินใจว่าคุณต้องการดวงจันทร์ขนาดเท่าไหร่ในภาพ เพื่อที่จะเลือกอุปกรณ์ถ่าย
- ถ้าคุณต้องการดวงจันทร์เป็นจุดเล็กๆในภาพ ให้ใช้เลนส์มุมกว้าง 14mm – 35mm จะได้พื้นที่ภูมิทัศน์มาก
- ถ้าต้องการดวงจันทร์ขนาดใหญ่พอควรกับ ฉากหน้าให้ใช้ระยะ 50mm -200mm
- พยายามหาสมถานที่ที่มีฉากหน้า น่าสนใจ และเช็คพยากรณ์อากาศที่นั้นๆด้วย
ถ่ายโดย Skeeze
- ถ้าคุณอยู่ใกล้ทะเลสาบ, มหาสมุทร หรือแหล่งน้ำอื่นๆ น้ำจะสามารถสะท้อนดวงจันทร์ได้
- เอาฟิลเตอร์ออก เพื่อลดโกสต์และแฟลร์
- ถ่าย Raw
- พยายามลองตั้งค่ากล้องก่อนที่จะถึงจังหวะที่ต้องถ่ายจริง
หวังว่าเพื่อนๆคงได้ความรู้ในการถ่ายดวงจันทร์กันไปไม่มากก็น้อย มีบทความอื่นๆในการถ่ายดวงจันทร์อีกนะลองไปอ่านกันได้ที่
การถ่าย Portraits กับดวงจันทร์ขนาดใหญ่ ด้วยระยะ 1120 mm
วิธีการวางแผนและถ่ายดวงจันทร์ เพื่อให้ได้ภาพสวยและสมบูรณ์แบบ
อย่าลืมมาโชว์รูปดวงจันทร์สวยๆให้ดูบ้างนะครับ
credits: lightstalking
