Supermoon เป็นชื่อเรียกของเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นได้ยาก เป็นช่วงที่พระจันทร์เต็มดวง และใกล้โลกของเรามากๆ ทำให้ขนาดใหญ่ และสว่างกว่าปกติ ดวงจันทร์หมุนรอบโลกเราเป็นวงรี โดยช่วงที่ดวงจันทร์โคจรเข้าใกล้โลกที่สุดนี้เรียกว่า lunar perigee ส่วนช่วงที่โคจรไปห่างจากโลกมากที่สุดจะเรียกว่า lunar apogee
Supermoon ที่ใกล้จะถึงนี้ จะเกิดขึ้นวันที่ 14 พ.ย. นี้ ซึ่งจะอยู่ใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 70 ปี โอกาสอย่างนี้หาได้ยาก เลยจะมาแนะนำวิธีการถ่ายกันครับ
สิ่งที่ต้องมี
- กล้องความละเอียดสูงๆ
- ขาตั้งที่มั่นคง
- เลนส์เทเล
- รีโมทชัตเตอร์
- แบต, การ์ดหน่วยความจำ
ขั้นตอนเหล่านี้จะเป็นการถ่ายเฉพาะดวงจันทร์ล้วนๆ หากจะถ่ายเอาฉากหน้าด้วยจะพูดท้ายบทความนี้ครับ มาเริ่มกันเลยดีกว่า
- ถ้าคุณไม่มีสายลั่นชัตเตอร์ให้ใช้ ระบบตั้งเวลาในกล้อง เพื่อป้องกันภาพสั่นตอนที่เรากดชัตเตอร์ และขณะกระจกด้านในกล้องยกตัว ถ้าคุณถ่ายระยะ 300 mm ขึ้นไป ควรเปิด โหมด exposure delay ที่มีการนับเวลาถอยหลัง ถ้าใช้ Nikon DSLR ให้ไปที่เมนู Custom Setting หา Exposure Delay แล้วเปิดมัน หากใช้ Nikon ตัวใหม่ๆ ให้ตั้ง Exposure Delay ซัก 3 วิ แต่ถ้าใช้สายลั่นชัตเตอร์ การตั้งเวลาพวกนี้ไม่จำเป็นแล้ว แต่เปิด Exposure Delay ไว้ช่วยป้องกันการสั่นของกระจก
- เมื่อใช้ขาตั้งแล้วให้ปิดระบบกันสั่นของเลนส์
- ตั้งตัวกล้องและเลนส์บนขาตั้งที่แข็งแรง และดวงจันทร์เคลื่นที่รวดเร็ว คุณอาจต้องปรับตำแหน่งหลายรอบ
- ตั้งค่าเป็น Mode Manual เพื่อควบคุมได้ทั้งหมด
- ตั้งค่า ISO ต่ำๆ 100-200 และปิดระบบ Auto ISO คุณอาจเพิ่ม ISO ในกรณีที่ความเร็วชัตเตอร์ช้าไป ภาพด้านบนถ่ายที่ ISO 200
- ตั้งค่ารูรับแสงประมาณ f/8 – f/11 ถ้าคุณใช้ teleconverter ก็ลดลงมาหน่อย เช่น หากคุณมีเลนส์ f/2.8 พอใส่ teleconverter 2x ก็จะกลายเป็น f/5.6 ตั้งค่ารูรับแสงประมาณ f/8-f/11 จะได้รูปที่คมชัด ภาพด้านบนถ่ายที่ f/11
- ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/125 – 1/500 วินาที อย่าใช้ชัตเตอร์ช้าๆ เพราะดวงจันทร์เคลื่อนที่เร็ว ถ้าคุณใช้วัดแสงแบบจุด ก็สามารถวัดดูที่ดวงจันทร์ได้ว่าตั้งค่าพอดีไหม
- หากตั้งกล้องเรียบร้อยแล้วดวงจันทร์ใหญ่พอแล้ว ก็อาจใช้ Live view เพื่อดูภาพแล้วโฟกัสดวงจันทร์ กล้องควรจะโฟกัสได้ แต่ถ้าโฟกัสไม่ได้ให้หมุน Manual ไปที่ระยะอนันต์
- ถ่ายลองก่อนว่าสว่างพอดีไหม ไม่สว่างไป ไม่มืดไป และปรับ ISO ความเร็วชัตเตอร์เพื่อให้ได้ภาพที่พอดี
- ถ่าย Raw และอย่าให้สว่างไปจนไม่มีรายละเอียด (หลุด ไฮไลท์) หากมืดไปสามารถมาแก้ในโปรแกรมภายหลังได้
เมื่อถ่ายมาแล้วขั้นตอนการแต่งภาพให้เพิ่ม Clarity ไป 70 ใน Lightroom ปรับ Black ลง เพิ่ม Contrast เพิ่ม Sharpness เล็กน้อย แล้วแต่ชอบ แล้วแต่ความเหมาะสมกันเลยครับ
แต่ถ้าคุณจะเอาฉากหน้าด้วย ค่าที่กล่าวมาอาจต้องพลิกแพลง เพราะต้องเก็บรายละเอียดของฉากหน้าหรือองค์ประกอบอื่นด้วย หรืออาจต้องซ้อนภาพ เราเคยเขียน
วิธีการวางแผนเพื่อถ่ายดวงจันทร์ไว้แล้ว อ่านได้ที่นี่
(ภาพโดย Albert Dros)
หรือจะถ่ายแนวนี้ด้านล่างนี้ก็สามารถเข้าไปอ่านได้ที่นี่
(ภาพโดย Philipp Schmidli)
การถ่ายดวงจันทร์สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ถ่ายได้หลายแบบ แต่ต้องวางแผนกันให้ดีๆ สำหรับคนที่ยังไม่เคยถ่ายหรือถ่ายกลางคืนแล้วกลัว แนะนำให้ไปกับเพื่อนๆช่างภาพก็ได้ครับ ส่วนใหญ่เขาก็จะนัดกันไปถ่ายอยู่แล้ว เช่นที่เชียงใหม่ก็นัดกันไปถ่ายที่ หลังวัดพระ
credits: photographylife