ไม่นานมานี้ผมได้ดูวีดีโอของ TED คิดว่าน่าสนใจเลยนำมาฝากครับ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ พ่อมดแห่งการตกแต่งภาพ อย่าง Erik Johansson เขาจะมาเล่าวิธีคิด วิธีสร้างภาพ ลองดูกันครับ ซับ Eng/ไทย อยู่ด้านล่างครับ
0:15
I’m here to share my photography. Or is it photography? Because, of course, this is a photograph that you can’t take with your camera.
===========
ผมมาเพื่อแชร์การถ่ายภาพของผมครับ นี่เป็นภาพถ่ายจริงๆ หรือเปล่า แน่นอนว่านี่คือรูปภาพ ที่คุณไม่สามารถถ่ายได้ ด้วยกล้องของคุณ
0:26
Yet, my interest in photography started as I got my first digital camera at the age of 15.It mixed with my earlier passion for drawing, but it was a bit different, because using the camera, the process was in the planning instead. And when you take a photograph with a camera, the process ends when you press the trigger. So to me it felt like photography was more about being at the right place and the right time. I felt like anyone could do that.
===========
แต่กระนั้น ความสนใจถ่ายภาพของผม เริ่มขึ้น เมื่อตอนที่ผมได้กล้องดิจิตอลตัวแรก ตอนอายุ 15 ผสมเข้ากับความชอบวาดภาพของผมก่อนหน้านั้น แต่การถ่ายภาพก็ต่างออกไป เพราะการใช้กล้อง ขั้นตอนต่างๆ ไปอยู่ที่การวางแผนเสียมากกว่า และเมื่อคุณใช้กล้องถ่ายภาพ ขั้นตอนก็จบลงเมื่อคุณกดชัตเตอร์ โดยส่วนตัวผมคิดว่าการถ่ายภาพเหมือนกับการอยู่ถูกที่ถูกเวลามากกว่า ผมรู้สึกว่าใครๆ ก็ทำได้
0:57
So I wanted to create something different, something where the process starts when you press the trigger. Photos like this: construction going on along a busy road. But it has an unexpected twist. And despite that, it retains a level of realism. Or photos like these — both dark and colorful, but all with a common goal of retaining the level of realism. When I say realism, I mean photo-realism. Because, of course, it’s not something you can capture really, but I always want it to look like it could have been captured somehow as a photograph. Photos where you will need a brief moment to think to figure out the trick. So it’s more about capturing an idea than about capturing a moment really.
===========
ผมเลยอยากลองทำอะไรที่มันต่างออกไป อะไรก็ได้ที่ขั้นตอนเริ่มขึ้นตอนกดปุ่มถ่ายภาพ ภาพแบบนี้ การก่อสร้างที่อยู่บนถนนแสนวุ่นวาย แต่มีสิ่งซึ่งไม่คาดคิดอยู่ แม้จะเป็นเช่นนั้น ภาพก็ยังมีความเหมือนจริงเหลืออยู่มาก หรือภาพต่างๆ แบบนี้ ทั้งที่ออกโทนมืด หรือสีสันจัดจ้าน แต่ทั้งหมด มีจุดร่วมกันคือ การคงไว้ซึ่งของระดับความเป็นจริง เมื่อผมพูดว่า ความเป็นจริง ผมหมายถึงรูปเสมือนจริง เพราะ แน่นอน ว่าคุณคงจับภาพแบบนี้จริงๆ ไม่ได้หรอก แต่ผมคิดเสมอ ว่าอยากให้มันดูเหมือนว่าคุณสามารถ ถ่ายภาพแบบนี้ได้นะ รูปต่างๆ ที่คุณต้องหยุดสักนิดเพื่อคิด ว่าเขาทำได้ยังไงนะ ดังนั้นมันจึงเป็นเหมือนการจับภาพไอเดีย มากกว่าการจับภาพเฉพาะช่วงเวลาหนึ่ง
1:51
But what’s the trick that makes it look realistic? Is it something about the details or the colors? Is it something about the light? What creates the illusion? Sometimes the perspective is the illusion. But in the end, it comes down to how we interpret the world and how it can be realized on a two-dimensional surface. It’s not really what is realistic,it’s what we think looks realistic really.
===========
แต่ว่า เทคนิคทำยังไง ให้รูปดูเหมือนจริงที่สุดล่ะ มันเป็นอะไรที่เกี่ยวกับรายละเอียด หรือสีหรือเปล่า หรือเป็นเรื่องของแสง อะไรกันที่สร้างภาพมายาได้ บางครั้งมุมมองที่มีก็เป็นภาพลวงได้ แต่ในที่สุด มันขึ้นอยู่กับเราจะตีความ และทำให้มันออกมาในพื้นผิว 2 มิติได้อย่างไร ที่จริงมันไม่เกี่ยวกับความเหมือนจริง มันเกี่ยวกับว่าอะไรที่เรา “คิด” ว่ามันเหมือนจริงต่างหาก
2:21
So I think the basics are quite simple. I just see it as a puzzle of reality where you can take different pieces of reality and put it together to create alternate reality. And let me show you a simple example. Here we have three perfectly imaginable physical objects,something we all can relate to living in a three-dimensional world. But combined in a certain way, they can create something that still looks three-dimensional, like it could exist. But at the same time, we know it can’t. So we trick our brains, because our brain simply doesn’t accept the fact that it doesn’t really make sense. And I see the same process with combining photographs. It’s just really about combining different realities.
===========
ผมเลยคิดว่าโดยพื้นฐานแล้ว มันค่อนข้างเรียบง่ายมาก ผมมองว่ามันเป็นเหมือนภาพปริศนาของความจริง ที่คุณสามารถนำส่วนต่างๆ ของความจริงมารวมกัน เพื่อสร้างความเป็นจริงใหม่ขึ้นมา ผมขอโชว์ตัวอย่างง่ายๆ ให้พวกคุณดูเรามีวัตถุรูปร่างธรรมดามาก สามชิ้น เป็นอะไรที่เราพบเห็นได้ทั่วไปในโลกจริง 3 มิติ แต่เมื่อนำมารวมเข้าด้วยกันในรูปแบบหนึ่ง มันสามารถสร้างบางอย่างที่ยังคงดูเหมือนวัตถุ 3 มิติ ดูเหมือนเกือบจะมีอยู่จริงได้ แต่ในขณะเดียวกัน เราก็รู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ ซึ่งเรากำลังหลอกสมองอยู่ เพราะสมองของเราไม่ยอมรับกับความจริง ที่ว่ามันดูไม่มีเหตุผล และผมเห็นสิ่งเดียวกับ การรวมภาพต่างๆ มันก็แค่จับรูปความจริงที่ต่างกันมารวมกัน
3:12
So the things that make a photograph look realistic, I think it’s the things that we don’t even think about, the things all around us in our daily lives. But when combining photographs, this is really important to consider, because otherwise it just looks wrong somehow. So I would like to say that there are three simple rules to follow to achieve a realistic result. As you can see, these images aren’t really special. But combined, they can create something like this.
===========
ดังนั้นสิ่งที่ทำให้ภาพดูเหมือนจริง ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่พวกเราไม่ได้คิดถึง สิ่งต่างๆ รอบตัว ในชีวิตประจำวันเรา แต่เมื่อเรารวมรูปต่างๆ เข้าด้วยกัน ต้องคำนึงอย่างมาก เพราะไม่งั้นมันจะดูเหมือนอะไรมันผิดปกติไป ดังนั้นผมคิดว่ามีกฎง่ายๆ 3 ข้อที่ต้องทำตาม เพื่อให้ดูเหมือนจริง อย่างที่คุณเห็น รูปเหล่านี้ไม่ได้ดูพิเศษอะไร แต่เมื่อนำมารวมกัน มันสามารถสร้างบางสิ่งแบบนี้
3:47
So the first rule is that photos combined should have the same perspective. Secondly, photos combined should have the same type of light. And these two images both fulfill these two requirements — shot at the same height and in the same type of light. The third one is about making it impossible to distinguish where the different images begin and end by making it seamless. Make it impossible to say how the image actually was composed. So by matching color, contrast and brightness in the borders between the different images, adding photographic defects like depth of field, desaturated colors and noise, we erase the borders between the different images and make it look like one single image, despite the fact that one image can contain hundreds of layers basically.
===========
ดังนั้นกฎข้อแรกคือ ภาพที่นำมารวมกัน ควรมีมุมมองหรือสัดส่วนที่เหมือนกัน ข้อที่สอง การรวมรูป ควรมีลักษณะแสงที่เหมือนกัน และสองภาพนี้ ก็มีลักษณะทั้งสองอย่างดังกล่าว ถ่ายที่ระดับความสูง และใต้แสงแบบเดียวกัน ข้อที่ 3 คือการทำให้ส่วนที่เป็นไปไม่ได้ให้กลมกลืน ในจุดที่ภาพเชื่อมต่อกัน โดยทำให้มันไม่มีรอยต่อ ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะพูดว่า รูปนี้ประกอบกันได้อย่างไร โดยการปรับ สี ความเข้ม และความสว่าง ให้เท่ากัน ในส่วนขอบภาพที่มาบรรจบกัน เพิ่มข้อบกพร่องของภาพอย่าง ความชัดลึก ลดความเข้มสี และเพิ่มเกรนภาพ เราลบรอยต่อระหว่างภาพ และทำให้ดูเหมือนภาพเดียว แม้ว่าความจริงแล้วในหนึ่งภาพ สามารถมีชั้นเลเยอร์ต่างๆ ได้นับร้อย
4:40
So here’s another example. (Laughter) One might think that this is just an image of a landscape and the lower part is what’s manipulated. But this image is actually entirely composed of photographs from different locations. I personally think that it’s easier to actually create a place than to find a place, because then you don’t need to compromise with the ideas in your head. But it does require a lot of planning. And getting this idea during winter, I knew that I had several months to plan it, to find the different locations for the pieces of the puzzle basically. So for example, the fish was captured on a fishing trip. The shores are from a different location. The underwater part was captured in a stone pit. And yeah, I even turned the house on top of the island redto make it look more Swedish.
===========
นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง (เสียงหัวเราะ) บางคนอาจคิดว่านี่เป็นแค่รูปวิวรูปหนึ่ง และในส่วนล่างนั้นคือส่วนที่ถูกสร้างขึ้นมาแต่ความจริงแล้ว รูปนี้ถูกประกอบขึ้นมา จากรูปภาพที่ถ่ายจากสถานที่หลากหลายแห่ง ส่วนตัวแล้วผมคิดว่า การสร้างสถานที่ขึ้นมา นั้นง่ายกว่า การหาสถานที่ เพราะคุณสามารถ ทำตามไอเดีย ที่อยู่ในหัวของคุณได้เต็มที่ แต่มันจะต้องใช้การวางแผนมาก และผมได้ไอเดียนี้ตอนช่วงหน้าหนาว ผมรู้ว่าผมมีเวลาหลายเดือนในการวางแผน เพื่อหาสถานที่แบบต่างๆ สำหรับนำมาต่อเป็นจิ๊กซอว์ต่อภาพ ตัวอย่างเช่น ปลานี่ถูกจับตอนไปทริปตกปลา หาดพวกนี้ ถ่ายมาจากต่างที่กันส่วนภาพใต้น้ำถ่ายได้จากแอ่งน้ำ ผมถึงกับเปลี่ยนบ้านบนยอดเกาะ ให้เป็นสีแดง เพื่อสร้างให้ดูเหมือนในสวีเดนมากขึ้น
5:34
So to achieve a realistic result, I think it comes down to planning. It always starts with a sketch, an idea. Then it’s about combining the different photographs. And here every piece is very well planned. And if you do a good job capturing the photos, the result can be quite beautiful and also quite realistic. So all the tools are out there, and the only thing that limits us is our imagination.
ดังนั้น เพื่อบรรลุถึงผลลัพธ์ที่ดูเหมือนจริง ผมคิดว่ามันเกี่ยวกับการวางแผน มันเริ่มจากการร่างภาพ ไอเดีย ก่อนเสมอแล้วก็เป็นการรวมภาพต่างๆ เข้าด้วยกัน และทุกชิ้นส่วนนั้นถูกวางแผนมาอย่างดี และถ้าคุณถ่ายภาพได้ดี ผลที่ออกมาจะสวยมาก และเหมือนจริงมาก ดังนั้นเครื่องมือต่างๆ ก็มีอยู่พร้อมแล้ว สิ่งเดียวที่จะจำกัดเราไว้ก็คือ จินตนาการของเราเอง
6:09 ขอบคุณครับ
Credits: ted