นักวิทย์ถ่ายภาพขนาด 3,200 ล้านพิกเซล จากกล้องดิจิตอลที่ใหญ่ที่สุดในโลก

0

ถ้าจะถ่ายภาพครั้งเดียวแล้วได้ไฟล์ขนาด 3,200 ล้านพิกเซล ต้องทำอย่างไร เพื่อนๆหลายคนคงสงสัยกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ภาพความละเอียดระดับนี้ต้องเอาภาพหลายๆภาพมาเรียงต่อกัน แต่นี่คือถ่ายมาภาพเดียวได้ 3,200 ล้านพิกเซลเลย นักวิทยาศาตร์จากห้องปฏิบัติการ SLAC ได้ถ่ายภาพความละเอียด 3,200 ล้านพิกเซล ภาพแรกของโลกโดยใช้เซนเซอร์เรียงกันเป็นแถว ทำให้ได้ภาพเดียวขนาด 3,200 ล้านพิกเซลเลยไม่ต้องมาต่อกันแล้ว ซึ่งนี่ก็กลายเป็นกล้องดิจิตอลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ ขณะนี้ (ปี ค.ศ. 2020)

เซนเซอร์ที่ใช้เป็น CCD 16 ล้านพิกเซลจำนวน 189 ตัวมาเรียงไว้ด้วยกันจนได้เป็น LSST ซึ่งก็คือชื่อกล้องที่ใหญ่ที่สุดในโลกตัวนี้ ซึ่งก็ได้ใช้หลักการเดียวกับกล้องที่ Vera C. Rubin ที่ชิลิ ที่เป้าหมายเพื่อถ่ายดาวที่ชัดที่สุด โดยเมื่อปี 2015 เขาไปตั้งห้องปฏิบัติการกันที่ Cerro Pachon ซึ่งสูง 8,700 ฟุต เพื่อให้ใกล้ท้องฟ้ามากขึ้น และใช้กล้องรูเข็มเซนเซอร์ 189 ตัว จากนั้นก็ได้ย้ายมาที่ ห้องปฏิบัติการ SLAC และได้ใส่เลนส์,ชัตเตอร์ ฟิลเตอร์และระบบต่างๆให้สมบูรณ์ขึ้น

เซนเซอร์ที่กว้างกว่า 2 ฟุต ตัวรับภาพกว้างจนเปรียบได้ว่าสามารถเก็บภาพดวงจันทร์เรียงต่อๆกันได้ถึง 40 ดวง และหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์ทำให้ส่องเห็นวัตถุที่มืดกว่าที่สายตาเรามองเห็นถึง 100 ล้านเท่า

ภาพด้านบนเป็นตัวอย่างความละเอียด ซึ่งสามารถเจาะเข้าไปดูสนามกอลฟ์จากระยะ 15 ไมล์ หรือ 24 กม.

แต่ภาพแรกที่เขาถ่ายด้วยกล้องนี้จริงๆก็คือ บร็อคโคลี ใช่ครับ บร็อคโคลีที่เรากินกันนี่แหละ ถือเป็นภาพใช้ในการทดสอบภาพแรกแต่ตอนนั้นยังเป็นกล้องรูเข็ม สามารถคลิ๊กเข้าไปดูภาพขนาดใหญ่ได้ที่นี่

largest,digital,camera
Timelapse ตอนประกอบกล้อง

เมื่อนำมาประกอบใหม่ก็ใส่เลนส์ ฟิลเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆเข้าไปดังภาพ

largest,digital,camera

นี่ถือเป็นอีกก้าวที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์ด้านกล้อง และดาราศาสตร์ที่มีโอกาสเก็บภาพสิ่งที่อาจไม่เคยพบเจอมาก่อนได้ดียิ่งขึ้น และชื่อของหอดูดาวก็ตั้งเป็นเกียรติแก่ VERA C. RUBIN ที่คิดค้นคอนเซป Dark Matter

credits: stanford

LINE it!