“ถ่ายภาพแนว Life” และ “ถ่ายภาพแนว Street”

0
ถ่ายภาพ, ถ่ายรูป, หัดถ่ายภาพ, ช่างภาพ, เรียนถ่ายภาพ, เรียนถ่ายรูป, สอนถ่ายรูป, แต่งรูป , แต่งภาพ
ถ่ายภาพ, ถ่ายรูป, หัดถ่ายภาพ, ช่างภาพ, เรียนถ่ายภาพ, เรียนถ่ายรูป, สอนถ่ายรูป, แต่งรูป , แต่งภาพ

วันนี้ก็ขอนำบทความของ อ. Sornsak Sakbodin มาเผยแพร่อีกครั้งในเรื่องของ “ถ่ายภาพแนว Life” และ “ถ่ายภาพแนว Street” ลองอ่านกันดูครับ
ได้ยินคำว่า “ถ่ายภาพแนว Life” และ “ถ่ายภาพแนว Street” บ่อยมาก แล้วก็เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า การถ่ายภาพแนว Life นั้นควรจะเป็นอย่างนั้น ถ่ายภาพแนว Street ควรจะเป็นอย่างนี้…จะว่ากันจริงๆ แล้ว

การถ่ายภาพแนว Street มันก็คือการถ่ายภาพแนว Life นั่นละครับ

ถ่ายภาพ, ถ่ายรูป, หัดถ่ายภาพ, ช่างภาพ, เรียนถ่ายภาพ, เรียนถ่ายรูป, สอนถ่ายรูป, แต่งรูป , แต่งภาพ

ภาพถ่ายแนว Life มันมีอยู่ด้วยกันมากมาย หลากรูปแบบ อย่างเช่น การถ่ายภาพการดำรงชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป การถ่ายภาพงานทำบุญหรืองานประเพณี การถ่ายภาพผู้คนยามราตรี การถ่ายภาพสัญลักษณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของผู้คน การถ่ายภาพสิ่งของที่ทำให้เห็นถึงความเชื่อทางด้านศาสนา ความเจริญทางด้านอารยธรรม การถ่ายภาพผู้ไร้ที่อยู่อาศัย และการถ่ายภาพบันทึกยามสงคราม หรือการจราจล เป็นต้น ซึ่งวิธีการก็ไม่ได้ต่างกันมากมายเลย นอกเสียจากในเรื่องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ และช่างภาพเลือกมองอย่างไรในการถ่าย การนำเสนอ กับการนำไปใช้เท่านั้นเอง

ถึงแม้ว่าแนวของการถ่ายภาพจะมีความแตกต่างกันออกไป และเป็นเหตุการณ์ที่ต่างกันออกไป แม้กระทั่งความเสี่ยงที่ต่างกัน แต่อย่างหนึ่งที่จะเหมือนกัน คือ มันเป็นการถ่ายแบบที่เรียกกันว่า Candid และStraight หมายถึงการถ่ายโดยฉับพลัน เป็นการถ่ายมาตามที่เห็น แบบที่เห็น ไม่มีการจัดฉาก หรือโพสท์ท่าใดๆทั้งสิ้น และก็ไม่มีการตัดทอน หรือแต่งเติมให้มากไปกว่าที่เป็นจริง ในส่วนของการถ่ายสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ กรณีนี้อาจจะมีเวลามากหน่อยในการเลือกหามุมที่จะนำเสนอ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่จำเป็นที่จะต้องถ่ายโดยฉับพลัน นอกเสียจากว่ามีอันตรายอยู่รอบด้าน

เพื่อที่จะให้เห็นชัดเจนขึ้น ขอยกตัวอย่างง่ายๆประกอบในการอธิบายการถ่ายภาพแนว “Life” สักหัวข้อหนึ่ง…

โจทย์มีอยู่ว่า ให้ไปถ่าย “ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน” หัวข้อง่ายๆครับ ทุกสิ่งทุกอย่างมีอยู่รอบตัวเราทั้งนั้น (นอกจากสงคราม และจราจล) ทีนี้ทุกอย่างก็จะขึ้นอยู่กับการตีความของแต่ละคนว่าจะเข้าใจโจทย์กันอย่างไร มากน้อยเพียงไร หรือว่าต้องการที่จะนำเสนออะไร ทางบวก หรือทางลบ

บางคนเลือกที่จะตีความของโจทย์โดยเสนอความเป็นอยู่แบบง่ายๆของผู้คนตามชนบท หรือชุมชนที่ยังมีความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่หาดู หรือสัมผัสได้ยากขึ้นทุกวัน…บางคนก็อาจจะถ่ายทอดให้เห็นถึงความสนุกสนานของวัยเด็ก…บางคนต้องการถ่ายทอดให้เห็นถึงวิธีการทำมาหากินของผู้คนในบางอาชีพ ซึ่งกำลังจะถูกเปลี่ยนไปด้วยการพัฒนาให้ทันสมัยขึ้น ด้วยการให้เครื่องจักร เครื่องยนต์มาแทนที่…บางคนก็เลือกที่จะถ่ายทอดให้เห็นถึงการปฏิบัติ หรือการทำกิจวัตรประจำวัน ทางด้านศาสนาแบบชาวบ้าน ซึ่งก็กำลังจะเลือนหายไปเช่นกัน…บางคนอาจจะเลือกในการถ่ายทอดให้เห็นถึงงานประเพณีของท้องถิ่น

บางคนอาจจะตีความกว้างออกไปอีก โดยการนำชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในเมืองมาแสดงให้เห็น และยิ่งกว่านั้น บางคนก็อาจจะต้องการที่จะให้ผู้ชม ได้คิดให้ลึกซึ้งมากไปกว่าการมองชีวิตแบบง่ายๆในแบบที่เห็นๆและเข้าใจได้โดยฉับพลัน จึงเลือกที่จะหาสิ่งที่จะทำให้ผู้ชมภาพต้องคิดให้มากขึ้น โดยการเลือกถ่ายสัญลักษณ์ของความเชื่อถือ หรือสัญลักษณ์ของความเจริญก้าวหน้าของสังคมมาแสดง…บางคนอาจจะเลือกถ่ายให้เห็นถึงความลำเค็ญของชีวิต เลือกถ่ายในเรื่องของความขัดแย้ง การทะเลาะวิวาท หรือบางสิ่งบางอย่างที่ส่อไปในด้านลบ หรือบางคนเลือกถ่ายเหตุการณ์ของความไม่สงบของบ้านเมือง ฯลฯ

คาดว่าที่อธิบายมาแบบคร่าวๆนี้ คงจะช่วยให้ผู้ที่สนใจในการถ่ายภาพแนว Life ได้มองเห็นถึงแนวทาง และแนวคิดในการนำเสนอภาพได้บ้างไม่มากก็น้อย เพราะความจริงแล้วการถ่ายภาพแนว Street, Documentary, Reportage, News, Photojournalism และ War Photography ก็คือแนว Life ทั้งนั้น ไม่ได้ต่างกันมากมายเลยครับ นอกเสียจากในเรื่องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ และช่างภาพเลือกแนวมองในการถ่าย หรือการนำเสนอ และการนำไปใช้เท่านั้นเอง

credits: Sornsak Sakbodin