วันนี้มีเรื่องราวการถ่ายภาพที่ไม่ธรรมดาของ Cory Mottice มาเล่าให้ฟังครับ เป็นภาพทางช้างเผือกเหนือฟ้าผ่า เขาเคยถ่ายมันมาแล้วแต่ระยะไกลกัน ภาพนี้ทั้ง ทางช้างเผือกและฟ้าผ่าอยู่ใกล้กันเลย เขาทำอย่างไรมาดูกันครับ
ณ เวลา 11 โมง ในวันที่ 4 มิ.ย. 2018 Cory Mottice ได้เดินทางออกจากบ้าน ขับรถประมาณ 3 ชั่วโมง ถึงเมือง Eastern Montana ที่หมาย นั่งทานขนมกันเพื่อรอพายุก่อตัว และพายุก็ก่อตัว 4-5 โมงเย็น ก็ไม่มีอะไรน่าประหลาดใจ เขาก็ถ่ายฟ้าผ่ากัน และเขาก็เห็นพายุเกิดขึ้นทาฃตอนใต้จากที่เขาอยู่ เลยขับรถไป 1 ชั่วโมงเพื่อไปล่ามัน
ถ่ายโครงสร้างของพายุที่น่าสนใจมานิดหน่อย และพายุเริ่มอ่อนตัวลง ดูเหมือนไม่คุ้มค่าที่จะถ่ายกันต่อ และต้องกลับรถกลับบ้านอีกหลายชั่วโมง เลยตัดสินใจกลับ
เมื่อเขาไปเติมน้ำมัน ก็เห็นว่าพายุมุ่งหน้าไปด้านตะวันออกซึ่งผ่านทางกลับบ้านของเขา แทนที่จะหยุดเพื่อทานอาหารเย็น พวกเขาขับเพื่อไปถ่ายฟ้าผ่ากันต่อ แต่โชคไม่ดีเขาไปไม่ทัน ฝนได้ตกไปแล้ว เขาตัดสินใจรอ ครึ่งชั่วโมง เพื่อจะถ่ายขอบหลังของพายุฝน
เขารออย่างใจเย็น เมื่อฝนผ่านไป เขาตั้งขาตั้งกล้องและสังเกตดาวที่โผล่บนท้องฟ้า ซึ่งเป็นฟ้าที่ใสเห็นดาวชัด หลบอยู่หลังพายุ เขาก็เริ่มถ่ายท้องฟ้ายามค่ำคืนและสายฟ้า เขาได้ถ่ายความสว่างที่ต่างกัน และได้การตั้งค่าที่เหมาะสมคือ ISO 2500 ความเร็วชัตเตอร์ 25 วินาที ที่ f/2.8 ถ่ายด้วย D610 + tamron15-30 f/2.8
และทันใดนั้นเองเขาก็เห็นทางช้างเผือกมากขึ้นเรื่อยๆ เฝ้ารอเวลาจนได้ภาพที่มีทางช้างเผือกและพายุอยู่ใกล้ๆกันมาก
ภาพก่อนแต่ง
ภาพหลังแต่ง
เรื่องของ Cory Mottice สอนให้รู้ว่า ช่างภาพ Landscape ต้องพยายามออกไปถ่าย มีความอดทน แม้หลายครั้งต้องเจอความผิดหวัง แต่บางครั้งโชคจะเข้าข้างคุณ ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงาม ขอให้ศึกษาจนมีพื้นฐานในการถ่ายสิ่งที่เราชอบ พยายามถ่ายมันบ่อยๆ ไม่นานก็เก่ง ไม่นานก็จะได้ภาพสวยๆครับ
credits: petapixel