Jason De Freitas ช่างภาพออสเตรเลียที่รักการถ่ายฟิล์ม เขาได้มาแบ่งปันวิธีถ่ายฟิล์มด้วยกล้อง Medium Format ที่หลังบ้านของเขา ซึ่งออกมาสวยงามชัดเจนมาก
สิ่งที่ท้าทาย
สิ่งที่ยากในการถ่ายทางช้างเผือกด้วยกล้องฟิล์มคือการคำนวนความเร็วชัตเตอร์ ซึ่งไม่ได้เหมือนกล้อง DSLR หากเป็นกล้อง DSLR ใช้รูรับแสง f/2.8 ความเร็วชัตเตอร์ประมาณ 20-30 วินาที และ ISO1600-3200 ก็พอจะได้ทางช้างเผือกให้เห็นแล้ว แต่กับกล้องฟิล์มต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1 ชั่วโมง และมันแตกต่างไปในแต่ละฟิล์มที่เขาใช้ ซึ่งในบทความนี้เขาจะใช้ฟิล์ม Acros, Provia, Ektachrome และ Ektar
การถ่ายทางช้างเผือกบนฟอร์แมต 35mm เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเพราะมีเลนส์รูรับแสงกว้างให้เลือกมากมาย มี f/1.4 ด้วยซึ่งใช้รูรับแสงแค่ 15 นาทีบนฟิล์ม Provia 100
การตั้งค่าอุปกรณ์

จริงๆแล้วสิ่งที่สำคัญในการถ่ายดาวคือขาตั้งกล้อง ฟิล์ม และความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าๆ แต่ปัญหาคือการหมุนของโลกจะทำให้ดาวเป็นเส้น เลยต้องแก้ปัญหาโดยใช้ star tracker ซึ่งจะหมุนไปอัตราเร็วเดียวกับการหมุนของโลก เขาใช้ยี่ห้อ Sky-Watcher Star Adventurer Pro

ขั้นตอนแรกเพื่อให้ติดตามแม่นยำต้องจัดแนวขั้ว เพราะแกนตัวติดตามต้องได้รับการจัดตำแหน่งให้สอดคล้องกับการหมุนของโลกอย่างแม่นยำ โดยให้ชี้ไปยังขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ให้แม่นยำ ยิ่งจัดตำแหน่งให้แม่นยำเท่าไหร่ ยิ่งติดตามดาวได้นานขึ้นก่อนที่จะเห็นดาวเป็นเส้น เขาใช้ QHYCCD PoleMaster เป็นกล้องตัวเล็กๆเพื่อช่วยทำให้แม่นยำ มีโปรแกรมเฉพาะตรวจสอบดวงดาวและจะบอกเราให้ปรับการจัดแนวให้ถูกต้อง

เมื่อถ่าย medium format เลนส์ที่เร็วๆ จะเป็น f/2.8 หรือ f/3.5 ซึ่งจะใช้ความเร็วชัตเตอร์เกินชั่วโมง มันอยู่เกินขอบเขตที่ Tracker อย่าง Star Adventurer รับได้ เลยต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มประสิทธิภาพ นั่นก็คือ guiding หรือตัวนำทาง เป็นกล้องอีกตัวไว้ดูภาพเป้าหมายของเราและตรวจจับความผิดพลาดและส่งสัญญาณมาตัว Tracker ให้ทำงานให้ถูกต้อง เขาใช้ ZWO 30mm/f4 guide scope ติดกับกล้อง ASI120MC-S และโปรแกรม PHD2


กล้องหลักที่ใช้คือ Bronica SQ-A และเลนส์ Zenzanon 80mm f/2.8

วีดีโอ Timelapse ที่ถ่ายช่วงถ่ายทำหลังบ้าน
ผลลัพธ์

กล้อง Bronica SQ-A เลนส์ Zenzanon 80mm f/2.8 ฟิล์ม Provia 100f ความเร็วชัตเตอร์ 80 นาที f/2.8

ภาพด้านล่างเป็นภาพจากฟิล์ม Ektar100

Bronica SQ-A, Zenzanon 50mm f/3.5, Ektar 100, ความเร็วชัตเตอร์ 105 นาที @ f/3.5,
เขาได้ถ่ายกับกล้อง Nikon FM2 35mm SLR และเลนส์ Nikkor 35mm f/1.4 เอาไว้ด้วย


Nikon FM2, Nikkor 35mm f/1.4, Provia 400f,ความเร็วชัตเตอร์ 7.5 นาที ที่ f/3.5

ทดลองถ่าย self-portrait แบบ double-exposure
เป็นภาพที่ต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมากเลยสำหรับการถ่ายทางช้างเผือกด้วยกล้องฟิล์ม Medium format นอกจากอุปกรณ์จะเยอะแล้ว ต้องถ่ายยาวเป็นชั่วโมงเลยทีเดียว
ติดตามผลงานของเขาเพิ่มเติมได้ที่ Instagram
credits: petapixel