วิธี Backup ข้อมูล โดยใช้ NAS สำหรับช่างภาพฉบับเข้าใจง่าย

0
nas คือ
nas คือ

ก่อนหน้านี้ผมใช้การสำรองข้อมูล (Backup) ภาพและวีดีโอบน External Harddisk 2 ชุดที่มีข้อมูลเหมือนๆกัน เมื่อฮาร์ดดิสก์ตัวใดตัวหนึ่งเสีย ก็จะมีสำรองอีกตัว เรียกว่าการทำ Mirror คือการเอากระจกอีกอันที่เหมือนกันมาแทน ก็คิดว่าโอเคดี มีปัญหาเล็กน้อยในการอัพเดทไฟล์บ้างเช่นเพิ่มภาพใหม่เข้าไปใน Drive นึงแต่รีบยังไม่อัพลงไปอีกไดรฟ์นึง สุดท้ายทั้ง 2 ไดรฟ์ก็มีจำนวนไฟล์ไม่เท่ากันซะที จนกระทั่งลองมาศึกษาเรื่อง NAS ดู ก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า ทำไมเพิ่งมารู้จักจริงๆจังๆเนี่ย น่าจะใช้ตั้งนานแล้ว จะขออธิบายเป็นภาษาเข้าใจง่ายๆให้ฟังกัน

แล้ว NAS มันคืออะไร?

NAS คืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอัจฉริยะที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบเน็ตเวิร์ค นั่นหมายความว่าคนที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกับคุณสามารถตั้งค่าให้เขาเข้าถึงไฟล์ได้ จัดการไฟล์ได้ แต่ต้องมีรหัสผ่านเพื่อความปลอดภัย มีระบบจัดการสิทธิ์ และมีฟีเจอร์อื่่นๆ อีกมากเช่นดูหนัง ฟังเพลง ผ่านระบบเครื่อข่าย ไม่ต้องเอาไฟล์มาไว้ที่เครื่องตัวเอง, แชร์ไฟล์กันได้, Backup ข้อมูลได้, Sync กับ Cloud ได้ ฟีเจอร์อื่นๆอีกมาก โดย NAS ก็มี CPU และ RAM ในตัวมันเองทำให้ไม่ได้ลดประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ของเราไป

NAS มันคุ้มกว่าตรงไหน?

สมมติมีฮาร์ดดิสก์ทั้งหมด 6 ตัว ตัวละ 2TB ปกติถ้าผมทำแบบเดิมคือ Mirror แบ่งข้อมูลที่เหมือนกันลงฮาร์ดดิสก์ 2 ตัว จะได้เก็บข้อมูลจริงๆ 3 ตัวรวมเป็น 6TB เท่ากับว่าคุณต้องจ่ายเงิน 2 เท่า แต่สมมติคุณใช้ NAS ทำ RAID 5 มันจะได้เก็บข้อมูลถึง 10TB อีก 2TB เป็น Parity เผื่อฮาร์ดดิสก์ลูกใดลูกหนึ่งเสีย ถอดเปลี่ยนขณะที่มันทำงานได้เลย NAS จะสร้างข้อมูลที่หายไปลงไปบนฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่เอง เฮ้ยยย!! ฟังดูเจ๋งใช่ไหมละ อันนี้แค่เรื่องเนื้อที่นะ ยังไม่รวมฟีเจอร์ลูกเล่นอีกเพียบ

Raid คืออะไร?

Raid คือการรวมร่างฮาร์ดดิสก์หลายลูกให้ดูเหมือนเป็นลูกเดียว แต่เพิ่มประสิทธิภาพหรือลดการสูญเสียข้อมูลหากเกิดการเสียหาย Raid มีหลายประเภท แต่ขอยกตัวอย่างประเภทที่ใช้บ่อยมาแนะนำกัน

nas คือ

Raid 0 เป็นการรวมร่างฮาร์ดดิสก์เพื่อประสิทธิภาพด้านความเร็ว ไม่มีการ Backup อะไรทั้งสิ้น

nas คือ

Raid 1 เป็นการทำ Mirror คือเก็บข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์ทั้งสองพร้อมๆ กัน และเป็นข้อมูลเดียวกันเหมือนๆ กัน ถ้าตัวหนึ่งเสียอีกตัวมาแทนทีได้ แต่ข้อเสียคือต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ 2 เท่าเพื่อเก็บข้อมูลในชุดเดียว เลยเป็นที่มาของ Raid 3

nas คือ

Raid 3 ตั้งให้ฮาร์ดดิสก์ลูกหนึ่งเป็นพาริตี้หรือตัวตรวจสอบข้อมูล สมมติมีฮาร์ดดิสก์ 4 ลูก เสียไปหนึ่งลูกสามารถดึงออกและใส่ฮาร์ดดิสก์ใหม่เข้าไปเพื่่อกู้ข้อมูลได้เลย ทำให้ประหยัดค่าฮาร์ดดิสก์ไปพอสมควร แต่ก็มีข้อเสียอีกนั่นแหละเพราะมันตรวจสอบอยู่ตัวเดียวเลย ทำงานหนักเลยเกิดคอขวด มีการพัฒนาเป็น Raid4 แต่ก็ยังไม่ช่วยอะไรมากนักเรื่องคอขวดเลยพัฒนาเป็น Raid 5

nas คือ

Raid 5 เจ้าพาริตี้บอกว่าทำไมไปทำงานอยู่ที่ฮาร์ดดิสก์ตัวเดียวกันล่ะ งั้นแบ่งให้ฮาร์ดดิสก์ทุกตัวเก็บข้อมูลด้วยเป็นเก็บพาริตี้ที่เช็คข้อมูลไปด้วยเลย ทำให้การอ่านเขียนเร็วขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาอีกนั่นแหละ คือฮาร์ดดิสก์ห้ามเสียพร้อมกันสองตัว ถ้าเสียพร้อมกันสองตัวคือข้อมูลพังทั้งหมด

nas คือ

Raid 6 เหมือน Raid 5 แต่เพิ่มพาริตี้ 2 บล็อค ทำให้ฮาร์ดดิสก์พังพร้อมกันสองตัวก็ยังกู้ข้อมูลได้ แต่ข้อเสียคือ เปลืองฮาร์ดดิสก์มากกว่า เช่น มีฮาร์ดดิสก์ 2TB 6 ลูก ถ้าทำ Raid 5 จะใช้งานได้จริง 10TB แต่ถ้าเป็น Raid6 จะใช้งานได้จริงแค่ 8 TB แต่จะมีความเสถียรที่สูงกว่า

แล้วช่างภาพใช้ Raid ไหนดี?

อันนี้ไม่มีคำตอบที่ตายตัว แล้วแต่การใช้งาน แต่ส่วนตัวแนะนำว่าหากมีการสำรองข้อมูลลงบน Cloud แล้วด้วยสามารถใช้ Raid 5 ได้โอกาสเสียพร้อมกัน 2 ตัวน่าจะเป็นไปได้ยาก(แต่ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้) แต่หากเก็บข้อมูลแต่ใน Nas ไม่ได้เก็บไว้ที่ไหนอีกและเป็นงานสำคัญๆก็ใช้ RAID 6 ไป

เพื่อนๆสามารถใช้เว็บ Synology เพื่อลองใส่ฮาร์ดดิสก์คำนวนพื้นที่ใช้งานใน Raid ต่างๆ ก่อนได้

nas คือ

หน้าตาเว็บจะเป็นแบบนี้ ลากฮาร์ดดิสก์ลงไปยัง NAS และเลือก RAID สามารถเปรียบเทียบ 2 แบบได้

ฟีเจอร์เด่นๆ

NAS แต่ละยี่ห้อจะมีเอกลักษณ์และฟีเจอร์ต่างกันไป ผมใช้ของ Synology ซึ่งเป็นแบรนด์ชั้นนำของ Nas ในปัจจุบัน มีฟีเจอร์เยอะ ใช้ง่ายและเสถียร ซึ่งที่ผมใช้คือ DS420+ (DS ย่อมาจาก Disk Station) ด้านในก็จะมีอีกระบบปฏิบัติการหนึ่งที่รันบนเว็บไซต์เหมือนว่าคุณมีคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งเลยที่ใช้จัดการข้อมูลด้วยเฉพาะ ไปดูฟีเจอร์เด่นๆของ DS420+ กัน

nas คือ

การสำรองข้อมูล

  • มีฟีเจอร์การจัดสำรองข้อมูลเยอะ ไม่ว่าจะเลือก RAID ได้
  • ทำ SnapShot ได้
  • รองรับทั้ง Windows, macOS , Linux รวมถึงมือถือและอุปกรณ์พกพาต่างๆ
  • เลือก Timestamp และกู้คืนเวอร์ชันไฟล์ที่กำหนดด้วยตนเอง 
  • มีพอร์ทัลการกู้คืนข้อมูลด้วยตนเองจาก Active Backup for Business เพื่อนๆสามารถเลือกแต่ละไฟล์ต้องการจากไฟล์จำนวนมากได้โดยไม่ต้องกู้คืนทั้งระบบ

การจัดการไฟล์และการแชร์

เราสามารถจัดการตั้งค่าไฟล์ข้อมูลต่างๆ โดยไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญด้านไอที ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงและแชร์ไฟล์ของผู้ใช้ใน NAS ที่เราตั้งค่าไว้หรือแชร์ให้คนนอก ก็สามารถตั้งรหัสผ่านได้ และมี QR Code ให้เข้า scan เพื่อเข้าถึงไฟล์ได้ง่ายๆอีกด้วย

nas คือ

จัดการสิทธิ์การเข้าถึง

สามารถสร้าง User สร้างกลุ่ม สร้างรหัสผ่านได้ มีความยืดหยุ่นในการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงตั้งแต่ package ที่ดาวน์โหลดมา (read/write) ยันการทำงานไฟล์ต่างๆ ได้ตามต้องการ

nas คือ

เข้าถึงได้ทั่วโลก

NAS ของ Synology มีฟีเจอร์ QuickConnect สามารถเข้าจากอุปกรณ์ต่างๆที่ไหนก็ได้บนโลกขอแค่มีสัญญาณเน็ต ไม่ต้องตั้งค่าเพิ่มเติมเลย เน็ตบ้านทั่วไป(Private IP) ก็ใช้ได้ เพียงแต่เข้าผ่านลิงก์ที่เค้าให้มา ผ่านหน้า web browser หรือเข้าจาก application ต่างๆของ Synology ก็ได้แล้ว

การซิงค์ข้อมูลขึ้นบน Cloud

มีฟีเจอร์เพื่อเชื่อมต่อซิงค์ข้อมูลไปยังเซอร์วิสต่างๆ อย่างผมใช้ Google Drive ด้วยก็ได้ติดตั้ง Active Backup for G Suite เพื่อดึงข้อมูลจาก Google Drive มาไว้ที่ NAS เราและหรือถ้าหากต้องการการซิงค์ที่ครอบคลุมก็สามารถเลือกติดตั้งใช้ Cloud Sync ที่รองรับเซอร์วิสหลายเจ้าได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

nas คือ

การสตรีมมัลติมีเดีย

สามารถดูหนังฟังเพลงที่เก็บไว้ใน NAS ของเราได้ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น มือถือ Tablet ทีวี ได้ ผ่านบราวเซอร์ หรือ apps ของ Synology ได้

nas คือ

แอพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

ในมือถือจะมีแอพต่างๆเพื่อเข้าถึงข้อมูลจาก NAS เช่น DS Audio ไว้ฟังเพลง, Synology Moment ไว้ดูภาพ , DS Video ไว้ดูวีดีโอ, DS File และ Drive เพื่อเข้าถึงไฟล์ต่างๆ ที่สำคัญสามารถรองรับไฟล์ RAW ได้ด้วย

nas คือ

มีฟีเจอร์และแอปให้ใช้อีกเยอะมาก

nas คือ

ทั้งบน package center ในเครื่อง NAS และบนมือถือ เช่น ใช้ NAS เครื่องเดียวเก็บ footage กล้องวงจรปิดด้วย Surveillance Station (Synology NAS มี license กล้องฟรีแถมมาให้ 2 สิทธิ์อยู่แล้ว) ซึ่ง Synology รองรับกล้องอยู่หลายยี่ห้อหลายรุ่น เช็คได้จาก  https://www.synology.com/en-global/compatibility/camera

ติดตั้งยังไง?

nas คือ

แกะกล้อง Synology DS420+ ออกมาก็จะเป็นแบบนี้ มี NAS 4 Bay, สาย Power, สาย LAN, กุญแจล็อคฮาร์ดดิสก์ และคู่มือ ส่วนน็อตถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์แบบ 3.5″ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ น็อตไว้ใช้สำหรับฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5″

nas คือ

เอาฮาร์ดดิสก์ใส่ไปใน NAS เสียบปลั๊ก เสียบสาย LAN เปิดเครื่อง จากนั้น เข้าเว็บ http://find.synology.com กด Connect ก็สามารถเข้าถึง NAS ของเราผ่านเว็บไซต์ได้แล้ว

nas คือ

ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กับ NAS

ฮาร์ดดิสก์ควรเป็นที่เขียนว่าใช้กับ NAS ได้โดยเฉพาะ อย่าง Seagate ก็เป็น iron wolf อย่าง WD ก็เป็น Red และเนื้อที่ควรมีขนาดเท่ากัน ไม่เช่นนั้นมันจะเอาพื้นที่น้อยที่สุดมาคำนวน เช่น RAID 1 = ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ตัวน้อยที่สุดของคู่ฮาร์ดดิสก์ที่นำมาทำ RAID สมมติจะทำ RAID 1 มีฮาร์ดดิสก์ 2 TB และ 4TB อย่างละลูก ฮาร์ดดิสกที่จัดเก็บได้จริงๆคือ 2TB

ราคา NAS

มีตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักหมื่นขึ้นอยู่กับจำนวน Bay หรือใส่ฮาร์ดดิสก์ได้กี่ลูก ความแรงของ CPU และ Ram รวมถึงฟีเจอร์ต่างๆ

ควรเลือกซื้อ NAS อย่างไร?

nas คือ

ก่อนเลือกอยากให้คิดก่อนว่าเราจะทำ Raid ไหน สมมติ Raid6 แนะนำว่าให้ใช้ 6 Bay คือใส่ฮาร์ดดิสก์ได้ 6 ลูกจะคุ้มกว่า เพราะ Raid6 จะเสียฮาร์ดดิสก์เสมือนไป 2 ลูก แต่ยังมีที่เก็บข้อมูลอีก 4 ลูก จะคุ้มกว่าใช้ 4 Bay เพราะ จะเหลือที่เก็บข้อมูลแค่ 2 ลูก ทำให้ได้เนื้อที่เหมือน Raid1 ไม่ได้ใช้ความฉลาดของมันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

สำหรับผมผมใช้ 4 Bay ทำ Raid 5 ถ้าดิสก์ตัวหนึ่งเสียก็สามารถกู้มาได้ใหม่อัตโนมัติ และเก็บข้อมูลไว้บน Cloud อีกที่เผื่อไฟไหม้ หรืออุบัติเหตุฮาร์ดดิสก์พังทั้งหมดก็ยังมีบน Cloud อีกที่ที่มีข้อมูลอยู่ และ Nas ของ Synology มีฟีเจอร์อัพเดทไฟล์จากฮาร์ดดิสก์ขึ้นไปบน Cloud ได้อีกด้วย

ระบบ UX UI ก็สำคัญ ของทาง Synology มีเป็น OS ที่สามารถเข้าถึงได้บนเว็บจากทั่วโลก และระบบปฏิบัติการออกแบบมาให้ใช้งานง่าย และเสถียร ผมมองว่าคุ้มค่าสำหรับการลงทุนระยะยาวเลย

ช่วงนี้ Synology เขามีแจก NAS ด้วยนะสามารถเข้าไปกรอกแบบสอบถามผ่านลิงก์นี้ http://sy.to/yourdatabutler ถ้าโชคดีรับไปเลย DiskStation DS220+ 1 รางวัล นอกจากนี้เดือน ธ.ค. นี้จะมีโปรโมชั่นลด Synology NAS ราคาพิเศษสำหรับพ่อบ้านดาต้า ติดตามได้ใน Synology APAC