เข้าใจเรื่องแสงธรรมชาติกับการถ่ายรูป: ภาค 2 สีของแสง

0

แสงมีคุณสมบัติที่ต่างกันในแต่ละประเภท การเข้าใจมัน สามารถทำให้ถ่ายภาพได้ดีขึ้น ใครยังไม่อ่านภาค 1 ตามไปอ่านกันก่อนที่ เข้าใจเรื่องแสงธรรมชาติกับการถ่ายรูป: ภาค 1 คุณภาพของแสง

ในบทนี้เราจะพูดถึง

  1. สีมีผลต่อความรู้สึกคนดูอย่างไร
  2. เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของสีของแสงที่ผ่านไปในแต่ละวัน
  3. เข้าใจการผสมสีของแสงเพื่อสร้างความลึกให้ภาพ
  4. แบบทดสอบ

Oded Wagenstein เป็นช่างภาพ Portraits จะยกตัวอย่างภาพบุคคลมาให้ดู แต่เนื้อหาสามารถประยุกต์ได้กับการถ่ายภาพสาขาต่างๆ

สีกับเรื่องราวในภาพ

สิ่งที่มองเห็นว่าเป็นสีนั้น แท้จริงแล้วเป็นการตีความของสมองเราที่เกิดจากการสะท้อนของแสงที่ลงบนวัตถุเข้าตาเราผ่านสมองและเส้นประสาท ในแง่ของจิตวิทยาของสี หลายคนคงรู้แล้วว่าสีมีผลต่อกระทบกับเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น จากรสชาติอาหารที่เรากิน, เรารู้สึกอย่างไรกับบรรจุภัณฑ์แบรนด์ใหม่ในห้าง สีส่งผลต่อความรู้สึกเรา มันจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ช่างภาพต้องรู้เรื่องนี้

มีหลายวิธีที่เราสามารถควบคุมหรือเปลี่ยนสีในภาพของเรา เช่นการใช้ฟิลเตอร์, ปรับ white balance และ แต่งภาพ แต่ตอนนี้เราพูดถึงเรื่องแสงธรรมชาติ และการรับรู้ของอารมณ์โดยใช้สีจากแสงธรรมชาติ 

เราทุกคนเห็นสีต่างกันเล็กน้อย มันมาตรฐานกำหนดโทนสีอยู่ที่เรียกว่า อุณหภูมิสี แต่บทความนี้จะไม่พูดถึงคำจำกัดความด้านเทคนิคของอุณหภูมิสีด้วย 2 เหตุผลด้วยกัน เหตุผลแรกคือมันจะทำให้คุณง่วงนอน และอย่างที่สองไม่ได้ช่วยให้รูปของคุณดีขึ้น สิ่งสำคัญที่ต้องรู้เกี่ยวกับอุณหภูมิสีคือมีมาตรฐานวัดที่เรียกว่า Kelvin คราวนี้คงรู้แล้วว่าตัวย่อ K ในเมนู white balance มาจากอะไร

อุณหภูมิสีที่ต่ำกว่า  4000K จะออกไปทางโทนอุ่น ให้สีแดงและเหลือง และเหนือ 4000K จะให้โทนเย็น ออกไปทางสีน้ำเงิน

วางแผนเวลาการถ่ายรูป

เมื่อภาคแรกคุณได้เรียนรู้ถึงการให้ลืมไปว่าแสงไหนดีแสงไหนแย่ และคิดเรื่องความเหมาะสมแทน ดังนั้นมันเป็นความรับผิดชอบของคุณที่จะถ่ายในแสงที่เหมาะสมเพื่อเล่าเรื่องราวที่ต้องการ และนั่นใช้ได้กับเรื่องสีของแสงด้วย คราวนี้มาดูกันว่าช่วงไหนของวันมีสีแบบไหนบ้าง

แสงน้ำเงิน (ประมาณ 11000K)

เมื่อ ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นและหลังดวงอาทิตย์ขึ้น

อารมณ์ที่ได้ เศร้า หม่นหมอง ลึกลับ หนาวเย็น

เทคนิค หากอยู่ในเมืองให้ถ่ายกับแสงเมืองสีส้มตัดกับสีน้ำเงินในช่วงเวลาดังกล่าวจะให้สีตัดกันและความลึก (จะอธิบายภายหลัง)

และเนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวแสงจะน้อยโปรดระวังเรื่องความเร็วชัตเตอร์ด้วย เพราะอาจทำให้ภาพเบลอได้

แสงสีทอง (ประมาณ 3500K)

เมื่อไหร่ แล้วแต่ว่าคุณอยู่ส่วนไหนของโลก โดยทั่วไปจะอยู่ช่วงดวงอาทิตย์ขึ้น และ ดวงอาทิตย์ตก 

อารมณ์ที่ได้ ให้สีที่รู้สึกอบอุ่น ช่างภาพส่วนใหญ่ไม่ว่าจะถ่ายคนหรือวิวจะชอบช่วงนี้

เทคนิค ถ่ายเหนือตัวแบบ 45° จะสามารถช่วยเก็บแสงสวยๆ (แสงประกายในดวงตา) เนื่องจากแสงสะท้อนฟ้ามายังดวงตา (ดูจากภาพด้านล่าง)

และมีอีกหลายเทคนิคเช่นถ่ายย้อนแสงเก็บริมไลท์ แต่ข้อสำคัญคือต้องวางแผนให้ดีเพราะหากถ่ายช่วงอาทิตย์ขึ้นต้องตื่นเช้ามากๆ

 

แสงช่วงกลางวัน (5000-6500K)

เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขึ้นอยู่กับอยู่ส่วนไหนของโลก ปกติจะหลังดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว 1-2 ชั่วโมงเป็นต้นไป จนถึง 1-2 ชั่วโมงก่อนดวงอาทิตย์ตก 

ผลกระทบ แสงที่เห็นจะสายตาจะเห็นเป็นกลาง แม้ว่าอุณหภูมิจะอยู่โทนเย็นหากเทียบแบบ Kelvin จะให้คอนทราสต์ที่จัด และเพิ่มความสดของสีวัตถุ

เทคนิค เนื่องจากแสงช่วงกลางวันเพิ่มความสดให้สี แต่หากเราไม่อยากได้ contrast จัด และผลกระทบจากแสงแข็งมากนัก ให้วางตัวแบบในที่ร่มใกล้ๆหน้าต่าง

ในวันที่ฟ้าครึ้ม (ประมาณ 7000K)

เมื่อ ท้องฟ้าครึ้ม เต็มไปด้วยเมฆปกคลุม

ให้อารมณ์ คล้ายๆช่วง Blue hour หรือแสงสีน้ำเงิน คือหม่นๆ เศร้าๆ เย็นๆ แต่ให้ความรู้สึก strong กว่า สว่างกว่า และช่วยให้ใช้สปีดชัตเตอร์ได้เร็วกว่า

ข้อดีของวันฟ้าหม่นคือ โทนสีจะต่อเนื่องเป็นเวลานาน เราไม่ต้องกดดันเร่งรีบในการถ่าย

ผสมสี

คุณอาจชอบผลลัพธ์จากการผสมสีของโทนเย็นและอุ่น เช่นให้สีโทนอุ่นเป็นฉากหน้าและโทนเย็นกว่าเป็นฉากหลัง นั่นช่วยเพิ่มความลึกและให้ภาพดูน่าสนใจยิ่งขึ้น

อาจทำได้โดยถ่ายระหว่างช่วงขอบของสองเวลา หรือผสมแสงธรรมชาติกับแสงจากไฟประดิษฐ์

ถ่ายระหว่างช่วงขอบของสองเวลา

William Albert Allard ช่างภาพ National Geographic กล่าวว่า “เวลาระหว่างสุนัขและหมาป่า” อย่างเช่นดังภาพด้านล่าง ที่ผสามสีอุ่นช่วงแสง golden และสีโทนเย็นช่วง Blue hour 

การผสมแสงธรรมชาติกับแสงประดิษฐ์

ถ้าต้องการแหล่งแสงผสม ท้องฟ้าเป็นข้อจำกัด ในภาพด้านล่างนี้ด้านซ้ายของผู้หญิงถูกส่องด้วยไฟสีส้มจากร้านค้า และอีกด้านแสงสีน้ำเงินเย็นจากวันที่ฟ้าครึ้ม

ภาพด้านล่างนี้แสงไฟจากคบเพลิงให้โทนอุ่นและแสงประดิษฐ์โทนเย็นจากโปรเจคเตอร์เป็นพื้นหลัง

แบบฝึกหัดที่ 1 ศึกษาจากงานช่างภาพคนอื่น

เลือกมา 20 ภาพจากช่างภาพที่ชอบและวิเคราะห์ว่า

  • ธีมสีที่เขาเลือกคือ
  • แหล่งแสงในภาพมาจากไหนบ้าง
  • ช่างภาพนี้ทำงานแบบมีเวลาเฉพาะเจาะจงไหม เช่นทำช่วง golden hour

แบบฝึกหัดที่ 2 ถ่ายด้วย White balance ที่ผิด

White Balance เป็นตัวช่วยให้กล้องดิจิตอลของคุณแสดงสีภาพได้ถูกต้อง โดยบอกกล้องของคุณว่าอยู่เงื่อนไขไหนเช่น cloudy, sunny, flash พอกล้องรู้ว่าอยู่ในสภาวะไหนก็ช่วยปรับให้ถูกต้อง

สำหรับแบบฝึกหัดนี้เราหลอกกล้องโดยตั้งค่าให้ผิด เช่น ถ้าเป็นวันที่แดดจ้า เราก็เลือก Cloudy แทน จะได้ดูสีอุ่นขึ้น หรือเลือก Tungsten หรือ Incandescent  เพื่อให้ดูเย็น

ภาพตลาดปลาที่โตเกียวอยู่ภายใต้แสง Fluorescent ก็ลองใช้ white balance แบบ Fluorescent ทางด้านซ้ายทำให้เห็นสีที่ตรง แต่ด้านขวาลองตั้งค่าผิดเป็น daylight ให้สีดูโทนอุ่นขึ้น

ถ้าคุณถ่ายแบบ Raw นั้น White Balance จะไม่มีผลคุณสามารถปรับได้ในขั้นตอนการแต่งภาพ แบบฝึกหัดเหล่านี้ช่วยให้คุณเข้าใจอารมณ์สีและแสงมากขึ้น หวังว่าบทความนี้คงมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย ขอบคุณที่อ่านจนจบ และพบกับตอนต่อไปเร็วๆนี้

ตอนที่ 1: เข้าใจเรื่องแสงธรรมชาติกับการถ่ายรูป: ภาค 1 คุณภาพของแสง

ตอนที่ 3: เข้าใจเรื่องแสงธรรมชาติกับการถ่ายรูป: ภาค 3 ทิศทางของแสง

credits: dps