เข้าใจเรื่องแสงธรรมชาติกับการถ่ายรูป: ภาค 3 ทิศทางของแสง

0

เมื่อเข้าใจแสงมากขึ้น ก็ทำให้ถ่ายรูปได้เก่งขึ้น ตามไปอ่าน ภาค 1 และ ภาค 2 กันได้ ภาคสามนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องทิศทางของแสง  เขียนโดย Oded Wagenstein ช่างภาพที่เคยทำงานกับ National Geographic, BBC และ Time 

บทที่สามนี้มีเนื้อหาดังนี้

  • วิธีควบคุมทิศทางแสงธรรมชาติ
  • วิธีการทำความเข้าใจผลกระทบของแสงในทิศทางต่างๆ
  • เทคนิคเล็กๆน้อยๆ เช่น การใช้รีเฟลกเตอร์
  • ทำแบบทดสอบ

ถ่ายใช้แสงธรรมชาติสามารถควบคุมได้เช่นกัน

หลายคนคิดว่าการถ่ายโดยใช้แสงเทียม จะสามารถควบคุมแสงได้ทั้งหมดเวลาถ่ายรูป และหากถ่ายกับแสงธรรมชาติคุณไม่สามารถควบคุมได้ ผมไม่เห็นด้วยนัก ความคิดนี้จะนำไปสูรูปภาพที่ไม่น่าสนใจ เพราะคิดว่า มันก็คงได้แค่นี้แหละ เราควบคุมอะไรไม่ได้นี่นา 

อย่างแรกที่ควบคุมแสงจากธรรมชาติคือวางแผนเรื่องแวลาถ่าย อย่างที่บอกไปแล้วในภาค 1 และ 2 ว่าเวลาในการถ่ายส่งผลกระทบต่อคุณภาพและสีของแสงอย่างไร ตอนนี้มาทำความเข้าใจ ทิศทางของแสงในระหว่างวันกัน และมันส่งผลอย่างไร

แสงด้านหน้า

แสงด้านหน้า (Frontal lighting) เป็นแสงที่มีทิศทางมาจากด้านหน้าของ subject ให้ตัวแบบหันหน้าเข้าหาแหล่งกำเนิดแสงที่เป็นไปได้(ไม่เป็นอันตราย) เช่นแสงจากดวงอาทิตยืที่กำลังขึ้น หรืออาจใช้การสะท้อน เช่นภาพนี้ นางแบบยืนอยู่ และด้านหน้าเธอมีกำแพงสว่างที่สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์

ข้อดี แสงด้านหน้าจะส่องมายังด้านหน้าของแบบสม่ำเสมอ ไม่มีเงา ดูสมดุล ทำให้แสงแบบนี้นิยมในการถ่ายแฟชั่น

ข้อเสีย ไม่มีเงาทำให้ดูไม่ค่อยมีมิติ

แสง 45 องศา ( 45 degree lighting )

ตามชื่อเลยแสงจะมา 45 องศา จากจมูกของตัวแบบ แสงแบบนี้นิยมอย่างมากในการถ่ายภาพบุคคล หรือเรียกอีกอย่างว่า Rembrandt lighting มันถ่ายได้ไม่ยากให้ตัวแบบหัน 45 องศากับแสงที่มาจากหน้าต่าง  หรือแสงดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตก

ข้อดี ในการจัดแสงแบบนี้คุณจะสังเกตเห็นการไล่แสงและเงา ช่วยให้เกิดมิติมากขึ้น ทำให้ดึงดูสายตาคนมากขึ้น

ข้อเสีย ผลของการเกิดเงาในบางส่วน อาจไม่เหมาะกับการเล่าเรื่องของคุณ

แสง 90 องศา

เป็นแสง 90 องศาจากจมุกของตัวแบบ อาจเป็นแสงข้างๆจากดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตก หรือแสงจากหน้าต่างแล้วให้นางแบบหันข้าง

ข้อดี ให้ dramatic effect 

ข้อเสีย บางสถานการณ์อาจทำให้ดูน่ากลัวขึ้นอยู่กับการเล่าเรื่องของคุณ

แสงหลัง (Backlighting)

คือแสงอยู่ด้านหลัง subject และอยู่ตรงหน้าคุณ 

ข้อดี แสงหลังช่วยสร้างไฮไลท์ของตัวแบบให้เป็นรูปร่าง ให้ความลึกแก่ภาพ แยก subject และพื้นหลัง เว้นแต่ว่าแสงจะสลัวมาก การถ่ายแสงหลังควรจะมีความรู้พื้นฐานเรื่องแสง อาจถ่ายให้ฉากหน้าพอดีฉากหลังขาวโพลน(burn out) มีแฟลร์ หรือ ถ่ายมืดๆ เพื่อต้องการภาพเงา silhouette ก็ได้

ข้อเสีย ถ่ายยากซะหน่อย ไม่ควรใช้โหมด Auto แต่มันสามารถสร้างรูปที่สรา้งสรรค์ออกมาได้

แสงจากด้านบน

ข้อดี แสงสไตล์ห้องสืบสวนนี้จะไม่ลงมายังหน้าเต็มๆ จะเกิดเงาดำบนหน้า และเงาที่ตา อย่างไรก็ตามก็สามารถสร้างภาพแนว Dramatic ได้ Gordon Hugh Willis ช่างภาพวีดีโอรางวัลออสก้า ก็ได้ถ่ายโดยใช้แสงด้านบนในเรื่อง The Godfather ช่วยให้เรื่องราวดูลึกลับ และเพิ่มความ Dark 

ข้อเสีย ควรจัดแสงให้ดีและออกมาแบบสร้างสรรค์ (creative) มิเช่นนั้นตัวแบบอาจมีคำถามเกิดขึ้นในใจ

การควบคุมแสงธรรมชาติ

ขั้นพื้นฐาน

วางแผนเรื่องเวลา สถานทีที่จะถ่าย อาจเป็นด้านนอก หรือ ใช้แสง soft light ที่ผ่านมาจากหน้าต่าง

ขั้นสูง

คุณสามารถควบคุมแสงธรรมชาติได้เหมือนแสงเทียม โดยการใช้reflector และ Flag

แผ่นสะท้อนแสง (reflector) ใช้สะท้อนแสงไปที่หน้าตัวแบบ เช่น หากแสงมาจากด้านบนก็สะท้อนเข้าไปที่หน้าเพื่อเปิดเงาบริเวณตาและจุดต่างๆ  หรือเปิดเงาหากเป็นแสงจากด้านข้างที่เกิดจากแสง 40 และ 90 องศาได้ด้วย

ดูแผ่นสะท้อนในตาของแบบ

ส่วน Flag เป็นอุปกรณ์บังแสงที่ไม่ต้องการและสร้างเงา (หากยังจำกันได้เงาจะช่วยสร้างความลึก) บนใบหน้า

เพื่อใช้ flag อย่างถูกต้อง ต้องให้ใครซักคนหรืออะไรที่สามารถถือไว้ อาจขอให้คนแถวนั่นช่วยถือซักแปปนึงเพื่อสร้างเงาที่ต้องการ

แบบฝึกหัดที่ 1 

ขอให้เพื่อน หรือญาติ มายืนที่หน้าต่าง แล้วถ่ายแสงหน้า แสงข้าง 45, 90 องศา และแสงหลังดู+

แบบฝึกหัดที่ 2

ลองหัดใช้แผ่นสะท้อน อาจใช้กระดาษลัง หรือ อะลูมิเนียมฟอยด์ ก่อนหากยังไม่มีงบ

เข้าใจเรื่องแสงธรรมชาติกับการถ่ายรูป: ภาค 1 คุณภาพของแสง

เข้าใจเรื่องแสงธรรมชาติกับการถ่ายรูป: ภาค 2 สีของแสง

ไม่อยากพลาดบทความถ่ายรูปดีๆ กดติดตามเพจ FOTOFAKA ได้เลยจ้า

credits: dps