หลายคนอยากถ่ายผีเสื้อ แต่ไม่รู้จะถ่ายอย่างไรให้สวย วันนี้ Kathy Samuel จะมาแนะนำเทคนิคการถ่ายผีเสื้อของเธอครับ
สิ่งที่สำคัญในการถ่ายผีเสื้อคือความอดทนและขยันฝึก เพราะเจ้าผีเสื้อส่วนใหญ่จะเคลื่นที่รวดเร็ว แต่ใช่ว่าจะยากเกินไป ถ้าคุณมองมันดีๆ จะรู้ว่าแนวโน้มการเกาะอดกไม้ของผีเสื้อว่ามันจะมาเกาะที่ดอกเดิม หากคุณพลาดไปอาจต้องรอซักนาที สองนาที เพื่อให้มันกลับมาเกาะที่ดอกเดิม หลีกเลี่ยงการสั่นที่ไม่จำเป็นและ ระวังเรื่องของเงาด้วย
เรื่องเลนส์
แม้ว่าเลนส์มาโครจะถูกใช้บ่อยในการถ่ายผีเสื้อ แต่จริงๆ แล้ว เลนส์อื่นๆก็ถ่ายได้ เลนส์กว้างหรือเลนส์ Wide จะช่วยในการโชว์รายละเอียดของสิ่งแวดล้อม ในขณะที่เลนส์เทเล จะช่วยแยกผีเสื้อให้เด่นออกจากพื้นหลังทำให้ไม่กวนสายตา
การตั้งค่ากล้อง
ในการถ่ายมาโครส่วนใหญ่ พื้นหลังสำคัยเท่าๆกับตัว subject เลย การใช้รูรับแสงเป็นตัววัดเลยว่าจะทำให้ได้ภาพดีหรือภาพเน่า Kathy Samuel แนะนำให้ใช้ Aperture Priority Mode และใช้รูรับแสงกว้างๆ (เลข f น้อยๆ) อาจอยู่ประมาณ f/3.5 ถึง f/5.6 จะช่วยแยกผีเสื้อออกจากพื้นหลังได้ระดับหนึ่ง รูรับแสงนี้จะเก็บรายละเอียดในส่วนปีกได้หาก ปีกขนานกับหน้าเลนส์แต่หากไม่ขนานกับหน้าเลนส์ อาจต้องใช้ f/8 – f/11 เพราะเก็บรายละเอียดให้ชัดลึกมากขึ้น
บางครั้งคุณอาจโชคดีถ้าเจอผีเสื้อนางแบบที่โพสท่าให้คุณถ่าย แต่ส่วนใหญ่แล้ว มันจะอยู่ไม่นิ่ง คุณควรใช้ความเร็วชัตเตอร์เร็วๆ สูงกว่า 1/800 จะช่วยลดอาการเบลอได้
ส่วน ISO ไม่ควรเกิน 400 แต่ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู๋กับสภาพแสง ณ เวลานั้นๆ ด้วย
โฟกัส
ถ้าผีเสื้อเป็นส่วนที่ใหญ่ในฉาก คุณอาจใช้ออโต้โฟกัสได้ สำหรับการถ่าย close-ups ควรปรับโฟกัสเป็น manual การใช้ ออโต้มันยากที่ที่จะโฟกัสไปยังจุดที่คุณต้องการได้ถูกต้องแม่นยำ พยายามโฟกัสไปที่สายตาของผีเสื้อ ถ้าคุณเห็นมัน
Kathy Samuel ยังมีทิปเล็กๆ แนะนำว่า คุณอาจโฟกัสไปที่ดอกไม้ก่อนก็ได้ รอผีเสื้อลงมา แล้วคุณค่อยปรับโฟกัสแค่นิดหน่อยก็พอแล้ว และถ่ายเผื่อไว้หลายๆช็อตเป็นการเพิ่มโอกาสได้ภาพที่ดีด้วย
แสง
แสงช่วงเช้าเป็นแสงที่ดีมาก และเป็นช่วงที่ผีเสื้อบินช้าๆ และช่วงบ่ายสามบ่ายสี่ ก็ดีเช่นกัน ผีเสื้อจะ active และ ดวงอาทิตย์ก็เคลื่อนลงต่ำแล้ว
หากคุณชอบที่จะใช้แสงด้านหน้าหรือด้านข้าง ลองใช้แสงด้านหลังดู โดยให้ผีเสื้ออยู่ระหว่าง คุณและดวงอาทิตย์ หลีกเลี่ยงแฟลร์ด้วย แสงด้านหลังช่วยโชว์ความงามของปีกผีเสื้อและมีแสงตรงขอบๆปีกด้วย (rimlight)
การจัดองค์ประกอบ
ภาพตัวอย่างด้านบนจะเห็นถึง pattern และสี ของปีกผีเสื้อชัดเจน ลองย่อตัวลงให้เห็นมันในระดับสายตาจะช่วยให้ภาพของคุณมี อิมแพคมากขึ้น และลองเปลี่ยนไปยังมุมต่างๆ หรือมุมมองที่หาดูได้ยาก
และบางครั้งคุณก็ควรเก็บรายละเอียด สิ่งแวดล้อมรอบๆมาด้วย จะทำให้ภาพดูน่าสนใจขึ้น
ขาตั้ง
การใช้ขาตั้งก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดีมันช่วยในเรื่องของความมั่นคงของอุปกรณ์ นิ่งขึ้น ช่วยในเรื่องการจัดองค์ประกอบและโฟกัส แต่ข้อเสียคือยุ่งยากเคลื่อนย้ายลำบาก เพราะหลายครั้งพวกผีเสื้อพวกนี้เคลื่อนที่ไม่หยุดนิ่ง
พยายามมุ่งมานะ และขยันถ่ายมันเรื่อยๆ จะช่วยให้คุณเก่งขึ้น แต่ขอเตือนไว้อย่าง การถ่ายสิ่งมีชีวิตเล็กๆเหล่านี้คุณอาจติดมันได้
Credits: dps | Kathy Samuel Photography
