ประกวดถ่ายภาพ “บันทึกคนไทย หัวใจไม่เคยท้อ” ชิงรางวัลกว่า 2 ล้านบาท

0
ประกวดถ่ายภาพบันทึกคนไทย ห้วใจไม่เคยท้อ
ประกวดถ่ายภาพบันทึกคนไทย ห้วใจไม่เคยท้อ

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ร่วมกับสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดกิจกรรมการประกวดภาพถ่ายโครงการศิลปินร่วมสมัย สู้ภัยโควิด ด้วยจิตสำนึก ในหัวข้อ “บันทึกคนไทย หัวใจไม่เคยท้อ” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 2 ล้านบาท

ประกวดถ่ายภาพบันทึกคนไทย ห้วใจไม่เคยท้อ

ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิต – ๑๙)
เกิดขึ้น ดังนั้นสำนักงานศิลปวัฒนรรมร่วมสมัย และสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
จึงเห็นควรจัดการประกวดภาพถ่าย โครงการศิลปินร่วมสมัย สู้ภัยโควิด ด้วยจิตสำนึก ครั้งที่ ๒ ในหัวข้อ “บันทึกคนไทย
หัวใจไม่เคยท้อ” โดยเปิดโกาสให้ผู้มีใจร้กในการถ่ายภาพ ถ่ายทอดความคิดและสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์
การแพรระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสคโรนา ๒๐๑๙ เหตุการณ์ที่น่าประทับใจภายใต้ภาวะวิกฤต
ความร่วมมือของคนไทย การฝ่าฟันอุปสรรคทั้งในด้านการดำรงชีวิต การสาธารณสุข การท่องเที่ยว ตลอดจน
การดำเนินธุรกิจที่มีการปรับเปลี่ยน รอวันฟื้นฟู ในช่วงวลาการแพระบาดของโรคโควิด -๑๙ เพื่อเก็บ
รวบรวมเป็นบันทึกประวัติศตร์และภาพความทรงจำสำหรับคนไทยทั้งประเทศ โดยผลงานภาพถ่าย
ทั้งหมดที่สร้างสรรค์ขึ้นจะเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และจะนำมาเผยแพร่
สู่สาธารณชนผ่านสื่อโซเซียลมีเตีย สื่อออนไลน์ เว็บไชต์ นิทรรศการและ/หรือช่องทางอื่น ๆ ที่เหมาะสม เพื่อ
ประโยชน์ทางการศึกษาต้านศิลปะร่วมสมัย การประชาสัมพันธ์กิจกรรม และภารกิจที่เกี่ยวข้องของสำนักงาน
ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยต่อไป สำนักงานฯ ได้กำหนดระเบียบการรับสมัคร โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ประเภทรางวัล


ประเภทเรียน/นักศึกษา
ผู้ส่งผลงาน จะต้องมีอายุไม่เกิน ๒๕ ปี โดยศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีหรือต่ำกว่า และแสดง
หลักฐานการเป็นนักเรียน/นักศึกษา
(๑) รางวัลชนะเลิศ จำนวน ๑ รางวัล รางวัลละ ๕๐ ๐๐๐ บาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร
(๒) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ จำนวน ๑ รางวัล รางวัลละ ๓๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่รางวัล
และเกียรติบัตร
(๓) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ จำนวน ๑ รางวัล รางวัลละ ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่รางวัล
และเกียรติบัตร
(๔) รางวัลชมเชย จำนวน ๒๐ รางวัล รางวัลละ ๕,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร
๑.๒ ประเภท….
ประเทศไทย
และเกียรติบัตร
และเกียรติบัตร


ประเภทบุคคลทั่วไป
ผู้ส่งผลงาน จะต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศไทย
(๑) รางวัสชนะเลิศ จำนวน ๑ รางวัล รางวัลละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร
(๒) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ จำนวน ๑ รางวัล รางว้ลละ ๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่รางวัล
(๓) รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ จำนาน ๑ รางวัล รางวัลละ ๓๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่รางวัล
(๔) รางวัลชมเชย จำนวน ๔๐ รางวัล รางวัลละ ๕,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรหิบัตร
(๕) รางวัลภาพถ่ายดีเด่นประจำภูมิภาค จำนวน ๙๖ รางวัล รางวัลละ ๕,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร

โดยแบ่งเป็น ๗ ภูมิภาค ดังนี้

  • ภาคเหนือ จำนวน ๑๑ รางวัล
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๒๒ รางวัล
  • ภาคกลาง จำนวน ๒๓ รางวัล
  • ภาคตะวันออก จำนวน ๙ รางวัล
  • ภาคตะวันตก จำนวน ๗ รางวัล
  • ภาคใต้ จำนวน ๑๖ รางวัล
  • กรุงเทพมหานคร จำนวน ๘ รางวัล

ภาพที่ได้รับคัดเลือกให้ร่วมแสดง

คณะกรรมการจะคัดเลือกภาพถ่าาย จากประเภทนักเรียน/นักศึกษา และประเภทบุคคลทั่วไป
เป็นภาพร่วมแสดง จำนวน ๙๕๙ ภาพ โดยจะได้รับงินค่าตอบแทนการสร้างสรรค์ผลงาน ภาพละ ๑,๐๐๐ บาท

เกณฑ์การตัดสิน

  • ภาพถ่ายสามารถสะท้อนมุมมองของผู้ถ่ายภาพในเชิงสร้างสรรค์
  • ภาพถ่ายต้องไม่ข้ดต่อกฏหมาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี และต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
    หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
  • ภาพถ่ายมีคุณค่าและความงามในเชิงศิลปะ

กติกา และเงื่อนไขในการประกวด

  • ผู้สมัคร เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
  • ผู้สมัคร ๑ คน มีสิทธิ์สภาพข้าประกวดไม่เกิน ๑๐ ผลงาน
  • ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นภาพถ่ายที่ถ่ายด้วยตนเอง และไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ต้องเป็นภาพถ่ายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๓ ถึงวันหมดเขตรับภาพ (วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๔) หากพบว่ามีการร้องเรียนภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด มิใช่ของผู้ส่งผลงาน ทางคณะผู้จัดงาน จะไม่รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ว่ากรณีใด ๆ แต่ยินดีที่จะให้ความร่วมมือด้านข้อมูลกับผู้เสียหาย หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
  • ไฟล์ภาพที่ส่งต้องเป็นไฟล์ที่มีขนาดที่สั้นที่สุดของภาพต้องไม่ต่ำกว่า ๒,๔๐๐ พิกเชล ที่มีความละเอียด ไม่ควรต่ำกว่า ๒๒๐ ppi ในรูปแบบ jpg เท่านั้น
  • ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นภาพถ่ายที่ถ่ายโดยใช้กล้อง Digttal ในทุกรูปแบบ (DSLR, Mirorless, Compact, Action Camera และ Smartphone) หรือกล้องบรรจุฟิล์ม ในกรณีที่ใช้กล้องบรรจุฟิลม์ จะต้องนำพิล์มไปสแกนเป็นไฟล์ภาพดิตอลความละเอียดสูง ไม่รับภาพจากอากาศยานไร้คนขับ (โดรน)
  • ภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่มีลายน้ำ เครติตภาพ ตัวอักษร หรือกราฟิกใด ๆ ลงบนภาพ รวมทั้ง ห้ามเว้นขอบภาพเป็นสีขาวหรือสีใด ๆ (หากผิดกติกาข้อนี้ จะถูกคัดเลือกออกโดยไม่มียกเว้นใด ๆ ทั้งสิ้น)
  • สามารถปรับแต่งเพื่อให้คุณภาพของภาพดีขึ้นได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการตัตสิน
  • ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดใด ๆ มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการประกวดในเวทีสาธารณะ หรือการประกวดภายในของสมาคม ชมรม หรือองค์กรอื่นใด
  • ผู้ที่ส่งภาพเข้าประกวดต้องรักษาภาพต้นฉบับไว้ ในกรณีที่คณะกรรมการตัดสินภาพมีข้อสงสัย สามารถเรียกให้ผู้เข้าร่วมประกวดแสดงภาพต้นฉบับได้
  • ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่มีข้อผูกมัดในเรื่องกรรมสิทธิ์ภาพจากหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึง ต้องไม่ใช่ภาพที่ส่งขายตาม Stock Photo ทุกแห่ง ทั้งนี้ คณะผู้จ้ดงานจะไม่รับผิดชอบเรื่องการละเมิดลิขสิทธ์ ที่เจ้าของผลงานมีสัญญาผูกพันต่อบุคคลหรือหน่วยงานใด ๆ ซึ่งเจ้าของผลงานต้องเป็นผู้รับผิดชอบในกรณีนี้เอง
  • หากปรากฏว่าภาพที่เข้าประกวตไม่เป็นไปตามกติกาข้อใดข้อหนึ่งที่กำหนดไว้ข้างตัน ผู้ส่งภาพเข้าประกวด ไม่มีสิทธิ์อ้างว่ากระทำผิดเพราะอ่านกติกาไม่ครบถ้วน คณะกรรมการฯ มีอำนาจในการตัดสิทธิ์ผู้ส่งภาพเข้าประกวด และการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ผู้ส่งภาพเข้าประกวดไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น
  • ไฟล์ภาพถ่ายทุกไฟล์ที่ส่งเข้าประกวด สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยจะไม่ส่งคืนให้ผู้เข้าร่วมประกวด และไฟล์ภาพดังกล่าวจะเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แต่ลิขสิทธิ์ของภาพยังคงเป็นของเจ้าของภาพอย่างสมบูรณ์
  • สำนักงานศิลปวัฒนรรมร่วมสมัย มีสิทธินำภาพถ่ายทุกภาพที่ได้รับรางวัลและ/หรือค่าสร้างสรรค์ ผลงาน ไปใช้ในการเผยแพร่ เพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แก่เจ้าของภาพ และไม่ต้องแจ้ง ให้เจ้าของภาพทราบล่วงหน้าภายในระยะเวลา ๓ ปี นับจากวันประกาศผลรางวัล ทั้งนี้ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยจะระบุชื่อเจ้าของผลงานให้ทุกครั้งที่นำภาพถ่ายไปใช้ และเมื่อพ้นจากช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว หากสำนักงานศิลปวัฒนรรมร่วมสมัยมีความประสค์งจะใช้ภาพใด สำนักงานๆ จะติดต่อขออนุญาตจากเจ้าของภาพก่อนเป็นรายกรณี ในการนี้ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย มีสิทธิ์นำภาพที่ได้รับคัดเลือก เผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ อาทิ สื่อโซเชียลมีเดีย สื่อออนไลน์ เว็บไซต์ การแสดงนิทรรศการ การตีพิมพ์ภาพลงในสูจิบัตร รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ทางราชการอื่นใดที่ไม่หวังผลทางการค้าได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้เจ้าของภาพทราบล่วงหน้า
  • บุคลากรในสังกัดสำนักงนศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และคณะกรรมการตัดสิน ไม่มีสิทธิ์ร่วมส่งภาพถ่ายเข้าประกวดในครั้งนี้
  • สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด และเงื่อนไข รวมถึงของรางวัล โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

วิธีการส่งภาพเข้าประกวด

ผู้ประสงค์จะส่งภาพถ่ายข้าประกวดจะต้องลงทะเบียนผ่านระบบเว็บไชต์ของสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ http://www.rpst.or.th โดยผู้สมัครจะต้องกรอกรายละเอียด พร้อมสร้าง Username และ Password ขึ้นมาเอง และจะสามารถทำการ Upload ภ าพถ่ายทางออนไลน์ได้ทันที

เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อย รวมถึงสามารถเปลี่ยนภาพที่ส่งประกวดได้ตลอดเวลา จนถึงวันปิดรับการส่งภาพ

(ตั้งแต่วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ – ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๘.๐๐ น.)

ระยะเวลาดำเนินการ

เปิดรับผลงาน 14 ก.พ. – 15 มี.ค. 2564

ตัดสินผลงาน 22-26 มี.ค. 2564

ประกาศผลการคัดเลือก 29 มี.ค. 2564

ประกาศผลการตัดสินอย่างเป็นทางการ 9 เม.ย. 2564

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 022093755