เมื่อไปทะเล ช่างภาพอย่างเราก็อยากจะได้ภาพสวยๆกลับไป ไม่ใช่แค่ความทรงจำ แต่ต้องถ่ายทอดความสวยงามตรงหน้าให้ผู้อื่นเห็นด้วย ทั้งทะเล และชายฝั่งนั้นสวยงาม แต่ภาพที่ถ่ายมาได้ ไม่สวยเหมือนที่ตาเห็น? ไม่ต้องห่วง บทความของ
(อ่าน ภาค2, ภาค3, ภาค4, ภาค5, ภาค6 , ภาค7)
เนื้อหาในบทความนี้
- Seascape คืออะไร
- ความปลอดภัยในการถ่าย Seascape
- การวางแผนในการถ่าย Seascape
- การจัดองค์ประกอบการถ่าย Seascape
- เทคนิคและการตั้งค่า
- ไอเดียการถ่าย Long Exposure
- การถ่ายคลื่น
- การถ่ายเพื่อให้ได้แสงที่เหมาะสม
- อุปกรณ์ที่จำเป็น Seascape
- เลนส์ที่เหมาะกับการถ่าย Seascape
- สรุป
เนื้อหาเยอะพอสมควรผมเลยแบ่งเป็นตอนๆ เพื่อไม่ให้หนักเกินไปสำหรับผู้อ่าน? ป่าวหรอก สำหรับผู้เขียนนี่แหละ ฮ่าๆๆ บทความนี้จะไม่เน้นทฤษฎีมาก เน้นนำไปปฏิบัติจริงได้ พร้อมแล้วไปอ่านกันเลย
Seascape คืออะไร
การถ่ายภาพ Seascape เป็นหมวดย่อยของ Landscape ที่แสดงถึงทะเลและมหาสมุทร และมีส่วนประกอบอื่นๆ เช่นชายหาด,โขดหิน ,หน้าผา ฯลฯ มีหลายๆอย่างที่เหมือนๆกับการถ่ายธรรมชาติแนวอื่นๆ แต่ก็มีบางอย่างที่แตกต่าง เช่น น้ำคลื่นไหวตลอดเวลา คลื่นทุกคลื่นมีเอกลักษณ์และไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นทุกๆวินาที รูปที่ถ่ายก็จะไม่เหมือนกัน หากถ่าย Long Exposure หากเป็นภาพ Landscape ส่วนใหญ่จะมีเมฆเท่านั้นที่ดูเคลื่อนไหว แต่ Seascape คลื่นจะเคลื่อนไหวด้วย และมีผลต่อภาพมาก
ความปลอดภัยในการถ่าย Seascape
อย่างแรกเลยควรตรวจสอบเวลาน้ำขึ้นน้ำลง มันมีผลต่อความปลอดภัยของคุณ คุณคงไม่ต้องการติดอยู่บนโขดหินขณะที่รอบๆ น้ำกำลังขึ้นหรอก
อันตรายจากชายฝั่ง
- หินเปียก ถ้าหินชื้นหรือเปียกขณะที่ไม่มีฝน นั่นหมายความว่าคลื่นจะสาดมายังจุดนั้น และมีโอกาสสาดมาอีกครึ่ง โดยเฉพาะช่วงน้ำขึ้น พยายามหาจุดที่ปลอดภัยเพื่อยืนถ่ายภาพ
- กระโดดที่ชายฝั่ง พยายามเดินบนชายฝั่งหรือโขดหินอย่างระมัดระวัง หากจำเป็นต้องกระโดด เพื่อให้ได้ก้าวยาวๆ ควรเอาขาตั้งแตะๆที่หินเพื่อเช็คความมั่นคงดูให้ดีก่อน
- ตะไคร้น้ำ ตะไคร้น้ำสีเขียวและน้ำตาลอ่อนไม่เป็นไร แต่ให้ระวังสีดำ มันลื่นยิ่งกว่าสบู่ แค่ยืนก็แทบจะยืนไม่ได้ อย่าหวังว่าจะเดิน
- คลื่นใหญ่ คลื่นบางคลื่นใหญ่กว่าคลื่นอื่นๆ บางครั้งเราดูคลื่นอื่นๆ กะไว้แล้วว่ามันมาแค่นี้ แต่บางทีคลื่นลูกใหญ่มาแบบไม่คาดคิด พยายามสังเกตคลื่นอยู่บ่อยๆ
พฤติกรรมที่ปลอดภัย
- อย่าหันหลังให้คลื่น บางครั้งผมรู้สึกว่าคลื่นสงบ ผมเลยหันไปอีกที ทันใดนั้นคลื่นใหญ่ก็สาดมาที่ผม เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะทำอะไรให้มองรอบๆตลอดเวลา และอย่าหันหลังให้คลื่น คุณไม่สามารถผ่อนคลายได้อย่างเต็มที่ ต้องระวังพลังธรรมชาตินี้อยู่ตลอด
- อย่าวางกล้องไว้บนขาตั้ง เอากล้องออกจากขาตั้งก่อนที่จะย้ายที่ มันอาจตกได้หากเจอคลื่นแรงหรือแขนคุณแกว่งไปโดน
- ปิดหน้าเลนส์ เวลาเคลื่อนที่ย้ายจุด หน้าเลนส์อาจกระแทกกับหินหรือสิ่งต่างๆได้
- ปิดกล้องเมื่อไม่ใช้ ไม่ใช่แค่เปลืองแบต แต่กล้องอาจรอดถ้ามันเกิดเปียกขึ้นมากระทันหัน ถ้าเปียกหรือโดนน้ำ อย่าเพิ่งเปิดกล้อง ให้เอาไปร้านซ่อมแทน
- น้ำขึ้นน้ำลง เช็คข้อมูลน้ำขึ้นน้ำลงก่อนออกเดินทาง
- อย่าเสี่ยงชีวิต มันไม่คุ้มหรอก
การวางแผนถ่าย Seascape
การวางแผนสำคัญมาก อย่ามองข้ามมัน มันสามารถสร้างโอกาสเพื่อให้ได้รูปสวยๆได้มาก ช่วยประหยัดเวลาและหลีกเลี่ยงความผิดหวังได้ส่วนหนึ่ง ควรจำทำการบ้านและหาข้อมูลในที่ๆสบายๆเช่นบ้านของคุณ
ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อ
- หาภาพจากสถานที่นั้นๆ โดยใส่ชื่อสถานที่ไป
- ภาพบน Google maps
- ค้นหาสถานที่ใน 500px
- หาภาพจากเว็บอื่นๆเช่น Flickr
- มองหาช่างภาพที่อยู่บริเวณนั้นๆ และเข้าชมผลงานของเขา
ระหว่างวันหากคุณว่าง ลองเดินสำรวจพื้นที่แถวนั้นก่อน หากเจอจุดไหนสวยก็บันทึกไว้ ดูตำแหน่งและเวลาของดวงอาทิตย์ขึ้นและตก เช็คจาก suncalc.net ก็ได้ ถ้าลงพื้นที่แล้วก็จะใช้แอพ Planit! For Photographers Pro เพื่อหาข้อมูลทุกอย่างเช่น น้ำขึ้นน้ำลง ตำแหน่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ทางช้างเผือก และมีโหมด VR ด้วย
เวลาสำรวจ บางสถานที่จะสวยช่วงน้ำขึ้น บางที่จะสวยช่วงน้ำลง นั่นเป็นอีกสิ่งที่ต้องพิจารณาขณะวางแผน และต้องพิจารณาว่าฉากนี้สวยช่วงดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตก
พยากรณ์อากาศ
เช็คเมฆให้ดี ผมจะไม่ออกไปถ่ายหากเมฆครอบคลุมน้อยกว่า 30% สำหรับการพยากรณ์อากาศผมใช้ AccuWeather.com และ SkippySky.com ส่วนเรื่องคลื่นก็มีแอพในมือถือเช็คเช่นกัน
การวางแผน
- ดูภาพสถานที่นั้นๆ
- เว็บภาพอย่าง 500px, Flickr
- ภาพจาก Google maps
- ภาพจากช่างภาพท้องถิ่น
- เรียนรู้แผนที่
- ค้นหาข้อมูลในสถานที่นั้นๆ
- ตำแหน่งดวงอาทิตย์,ดวงจันทร์,ทางช้างเผือก
- ตัดสินใจว่าจะถ่ายช่วงดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตก
- ตัดสินใจว่าถ่ายช่วงน้ำขึ้นหรือลง
- ใช้แอพ VR ประเมินผลลัพธ์ล่วงหน้า
- เช็คสภาพอากาศ
- การคลอบคลุมของเมฆ
- ขนาดคลื่น
- น้ำขึ้นน้ำลง
บทความหน้าเราจะมาต่อเรื่องการจัดองค์ประกอบสำหรับถ่าย Seascape กันนะครับ ไม่อยากพลาดกดติดตามเพจ(ติดดาว) FOTOFAKA ไว้เลยจ้าา
credits: anton gorlin