ใครยังไม่อ่านภาคแรกอ่านได้ที่นี่ คู่มือการถ่าย SEASCAPE ฉบับสมบูรณ์ (ภาคแรก) วันนี้จะมาต่อโดยเน้นเรื่ององค์ประกอบในการถ่าย Seascape กันครับ พร้อมแล้วมาอ่านกันเลย!!
(อ่าน ภาค1, ภาค2, ภาค3, ภาค4, ภาค5, ภาค6, ภาค7)
องค์ประกอบ
ทำไมองค์ประกอบถึงสำคัญ
เรื่องขององค์ประกอบ ไม่ใช่แค่หัวข้อสั้นๆ แต่มันสามารถตั้งเป็นคอร์ส หรือหนังสือ 1 เล่มได้เลย และกฏและตัวอย่างหลากหลายมาก แต่คุณไม่สามารถเอาทุกกฏมาใช้ในภาพเดียวได้หรอก ศิลปะการจัดองค์ประกอบนั้นไม่ตายตัว ต้องอาศัยการฝึกฝน อารมณ์ความรู้สึก และความลงตัว ผมจะมาบอกองค์ประกอบที่ผมชอบถ่ายในงาน Landscape มาให้อ่านในบทความนี้กัน
กฏพื้นฐานการจัดองค์ประกอบ
โครงสร้างรูปภาพ
รูปภาพประกอบด้วยฉากหน้า ฉากกลาง ฉากหลัง สำหรับ Seascape ฉากหลังส่วนใหญ่จะเป็นท้องฟ้า หรือ ทะเลที่ห่างไกล โดยทั่วไป subject เราจะไว้ที่ฉากกลาง ฉากหน้าอาจเป็นหาด หรือหิน แล้วแต่จินตนาการการวางองค์ประกอบของคุณ เช่นเดินเข้าไปที่น้ำซัดมา และถ่ายให้สายน้ำเป็นเส้นสายที่ฉากหน้า, ใช้มุมต่ำในการแยกฉากกลาง คุณสามารถลองได้หลากหลายมุมมอง เพื่อนำสายตาผู้ชมให้เข้าไปยังเฟรม
การวางเส้น

หัวข้อนี้กระชับแต่สำคัญ เมื่อพูดถึงการวางเส้น มันไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเส้นตรงต่อเนื่อง แต่หมายความว่า ตำแหน่งการวางของสิ่งต่างๆในภาพ เป็นเส้นในจินตนาการระหว่างสิ่งนั้นๆ เพื่อดึงสายตาผู้ชม หิน 2-3 ก้อนที่เรียงกันนั้นเป็นการสร้างองค์ประกอบที่ในการวางเส้นดึงสายตาไปยังสะพาน
กฏสามส่วน

ในบรรดากฏที่หลายแหล่ กฏสามส่วนน่าจะเป็นที่พูดถึงมากที่สุดเวลาการจัดองค์ประกอบถ่ายรูป มันเหมือนกับว่าเป็นสัดส่วนทองคำเวอร์ชั่นง่าย แต่อันนี้ใช้งานได้ตรงๆ ใช้ได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน กล้องส่วนใหญ่จะมีเส้นนี้มาให้โดยแสดงในช่องมองภาพ และวางจุดที่น่าสนใจไว้ตรงจุดตัด 9 ช่อง (อ่านเพิ่มเติม)
กฏสัดส่วนทองคำ
ถ้าให้เข้าใจง่ายๆ สัดส่วนนี้คล้ายกฏสามส่วนเพียงแค่ขยับเส้นตรงกลางเข้ามาใกล้กันอีกนิด คือไม่ได้แบ่ง 3 ส่วนเท่าๆกันเหมือนกฏสามส่วน ซึ่งกฏการแบ่งนี้มาจากธรรมชาติ ที่พบในหลายสิ่งรอบๆตัวเรา รวมถึงตัวเราด้วย
หากคุณไม่อยากศึกษาทฤษฎีมาก เวลามองช่องมาภาพก็พยายามคิดให้เส้นสองเส้นใกล้ชิดกันมากขึ้น แต่บางกล้องก็มีเส้นสัดส่วนทองคำมาให้
สัดส่วนทองคำอีกแบบ
ยังมีแบบขั้นสูงกว่าด้านบนแต่จะอธิบายในบทความหน้า (สำหรับใครอยากศึกษา อ่าน ทำไมสัดส่วนทองคำ ดีกว่า กฏสามส่วน? ไปก่อนเลยครับ)

เส้นนำสายตา
เส้นนำสายตาเป็นองค์ประกอบภาพที่ทำให้เกิด Impact มากหากใช้อย่างถูกต้อง มันนำสายตาผู้ชมไปยังส่วนที่สำคัญ เป็นองค์ประกอบที่มีพลังมาก

เส้นเฉียง

เป็นองค์ประกอบที่ปฏิบัติตามได้อย่างตรงๆ เลือกเส้นนำสายตาและทำมันให้เด่น อย่าทำให้เส้นนั้นมันจบตรงขอบแบบไม่คาดคิด ควรจะนำสายตาผู้ชมไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ ทำสองเส้นหากคุณมีฉากหน้าที่เพียงพอ ทำ 4 เส้นหากก้อนเมฆเรียงตัวกันสวย ยิ่งเรียงเส้นได้เยอะภาพยิ่งน่าสนใจ เส้นชายฝั่งส่วนใหญ่จะให้เส้นเฉียงที่ดี อย่าตัดมันออกจากเฟรม
รูปร่างตัว S
เป็นองค์ประกอบที่ดูเป็นธรรมชาติ ง่ายๆ ไม่มีอะไรแค่มองหาเส้นรูปตัว S ในภาพ

องค์ประกอบตรงกลาง
การจัดองค์ประกอบให้อยู่ตรงกลางไม่ค่อยนิยมเพราะมันดูนิ่ง ทำให้ภาพตาย ไม่มี Dynamic แต่บางครั้งมันก็ให้ผลดีเช่นกัน โดยเฉพาะหาก subject นั้นเด่นและน่าสนใจมากๆ

กรอบ (Framing)
การใช้กรอบในภาพเป็นเทคนิคดีๆอีกอย่าง บางครั้งสามารถหากรอบได้ตามธรรมชาติ เช่น โขดหิน,พุ่มไม้,ใบไม้ ฯลฯ ช่วยบังคับสายตา ไปหาสื่งที่น่าสนใจ และเพิ่มมิติให้ภาพด้วย

ทางยาวโฟกัส

การเล่นกับทางยาวโฟกัสหรือ Focal length ช่วยให้เราเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ หลายคนบอกว่าถ่าย Seascape ต้องใช้เลนส์ Wide ซิ ก็ถูก แต่ไม่ทั้งหมด แต่จริงๆแล้วใช้เลนส์อื่นๆก็ได้ไม่ว่าจะเป็น 24-105, 50mm หรือ แม้แต่ 70-300 เพราะในบางสถานการณ์ก็ไม่สามารถถ่ายได้ด้วยเลนส์ Wide

วิธีเช็คองค์ประกอบใน Photoshop
บางครั้งองค์ประกอบก็ถูกจัดให้ดีขึ้นได้ในการตกแต่งภาพภายหลังเช่นการ crop ภาพ เวลาเลือกเครื่องมือ crop
คลิ๊กปุ่ม Grid หรือกด O บนคีย์บอร์ดสามารถเลือก เส้น guideline ได้ครับ
จบแล้วสำหรับการจัดองค์ประกอบสำหรับการถ่าย Seascape บทความหน้าจะมาพูดเรื่องเทคนิคการถ่ายและการตั้งค่ากล้องกันครับ รอบติดตามชมกันในเพจ FOTOFAKA ได้เลย
credits: antongorlin