การถ่าย Seascape ภาค 4 มาแล้ว ภาคนี้จะสั้นๆหน่อย เป็นการถ่าย Long Exposure ในงาน Seascape ในความเร็ซชัตเตอร์ และมุมมองต่างๆ สำหรับใครยังไม่อ่านภาคก่อนหน้านี้ตามอ่านได้ที่
(อ่าน ภาค1, ภาค2, ภาค3, ภาค4, ภาค5, ภาค6, ภาค7)
ไอเดียการถ่ายรูป Long Exposure ในงาน Seascape
ช่างภาพหลายคนคงทราบกันดีว่าการถ่าย Long Exposure หรือความเร็วชัตเตอร์ช้ามากๆ ทำให้น้ำดูนุ่มขึ้น แต่มันมีอะไรที่มากกว่านั้น มาดูกัน
ไอเดียที่ 1: ถ่ายในระดับเดียวกับทะเล
ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 20-240 วินาที
ถ้าเราอยู่ระดับเดียวกับผืนน้ำหากเป็นแอ่งน้ำปิด น้ำจะนิ่งและเห็นเป็นเงาสะท้อนต่างๆ แต่ถ้าเป็นทะเลจะไม่ใช่แบบนั้น เนื่องจากมีคลื่นตลอดและคลื่นแต่ละลูกไม่เท่ากัน จะเห็นเป็นละอองน้ำคล้ายๆหมอก บางคนชอบ บางคนก็ไม่ชอบผลลัพธ์แบบนี้ ส่วนตัวผมไม่ค่อยชอบ เลยเลือกที่จะถ่ายด้านบนเหนือระดับน้ำทะเล

ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 5-10 วินาที
ด้วยความเร็วชัตเตอร์เท่านี้จะทำให้น้ำเบลอ แต่ยังรักษาพื้นผิว(Texture) ได้อยู่บางส่วน และสามารถใช้ได้กับการถ่ายมุมมองด้านบนและในระดับเดียวกับทะเล

ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1-5 วินาที
ความเร็วชัตเตอร์นี้เป็นอีกช่วงที่ผมชอบ เพราะมันสามารถเก็บ Texture ได้มาก และสามารถทำอะไรได้หลายอย่าง เบลอคลื่นให้นุ่ม จับเส้นสายของน้่ำ คลื่นแต่ละลูกไม่เท่ากัน และด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ไม่นานนัก สามารถสร้างสรรค์ภาพได้หลากหลาย
ไอเดียที่ 2: ถ่ายเหนือระดับทะเล (จากด้านบน)
เมื่อเราอยู่ที่สูงคลื่นจะถูกลดความสำคัญลงไปในภาพ ด้วยมุมมองนี้ช่วยให้ผิวน้ำดูเรียบเนียนและเห็นสีบนผิวน้ำได้อย่างเนียนนุ่ม และมุมมองนี้จะสวยขึ้นเมื่อมีหน้าผาที่ใหญ่และสวย เมื่ออยู่บนหน้าผาเราสามารถสร้างองค์ประกอบแบบเฉียงได้ง่ายอีกด้วย

ไอเดียที่ 3: ถ่ายเมฆไหล
อีก 1 อย่างที่มีผลกระทบเมื่อความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงนั่นก็คือเมฆ มันจะเห็นถึงการเคลื่อนที่และดูนุ่มลง เป็ฯเส้นสายมากขึ้นหรือที่เรียกว่าเมฆไหลนั่นเอง

ภาคต่อไปเราจะเจาะลึกถึงการถ่ายคลื่น ว่าควรตั้งค่ากล้องอย่างไร โฟกัสอย่างไรในสถานการณ์ต่างๆ อย่าลืมกดติดตาม FOTOFAKA ไว้น้าาา
credits: antongorlin