คู่มือการถ่าย SEASCAPE ฉบับสมบูรณ์ (ภาค 5)

0

ภาค 5 นี้จะพูดเกี่ยวกับขั้นตอนการถ่ายกันแล้ว ตั้งแต่การตั้งค่ากล้องกันเลยทีเดียว สำหรับใครยังไม่อ่านภาคก่อนหน้านี้ คลิ๊กเข้าไปอ่านเลย (อ่าน ภาค1ภาค2ภาค3ภาค4ภาค5, ภาค6, ภาค7)

การถ่ายคลื่น

การถ่ายคลื่นนั้นมีลักษณะเฉพาะตัว เป็นประเภทใหม่ของการถ่าย Seascape มีวิธีการหลักๆ 3 แบบดังนี้

  1. ยืนบนหาดแล้วซูมเข้าไป
  2. การให้คลื่นให้เป็นส่วนหนึ่งของภาพ Seascape
  3. ลงในน้ำ ใช้เลนส์มุมกว้างถ่ายใกล้ๆ

แสงที่ดีที่สุดในการถ่ายคลื่นคือแสงจากด้านหลัง ไม่ใช่ดวงอาทิตย์อยู่ด้านหลังคุณ แต่อยู่ด้านหลังคลื่น มันจะเผยความใส และสีของคลื่นได้อย่่างสวยงาม อาจเปลี่ยนตำแหน่งนิดหน่อย เบี่ยงไปข้างๆนิดหน่อยไม่ต้องถ่ายแสงด้านหลังตรงๆ ปรับความสูงของกล้อง เป็นต้น

การถ่ายคลื่นที่กระทบฝั่ง

การถ่ายคลื่นลูกใหญ่ที่มีการชนอย่างรุนแรง แนะนำให้ทิ้งระยะห่างจากคลื่นและใช้เลนส์เทเลซูมเข้าไป มีมืออาชีพหลายคนเข้าไปถ่ายใกล้ๆด้วยความเสี่ยง แต่ผมยังไม่แนะนำให้ทำนอกจากมีประสปการณ์เยอะจริงๆ เมื่อคุณถ่ายระยะไกลและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมคุณสามารถได้ภาพที่สวยงามและปลอดภัยอีกด้วย มองดูรอบว่าที่คุณยืนแห้งหรือไม่ ถ้าไม่คลื่นอาจซัดมาถึงคุณได้ พยายามถ่ายมุมต่ำๆ ทำให้คลื่นดูสูง และทรงพลังมากขึ้น

Nikon D750, Tamron 70-300. EXIF: f/8, 1/800 sec, ISO 800, 250 mm

การถ่ายคลื่นที่ใกล้มากๆ คุณต้องมี Housing หรือเคสกันน้ำสำหรับกล้อง สำหรับยี่ห้อดีๆนั้น ราคามักจะสู.กว่าราคากล้อง มันสามารถกดปุ่มต่างๆได้ ถือจับสะดวก และมีฟีเจอร์มากมาย

แต่สำหรับคนงบน้อยก็มีพวกซองยางที่ด้านหน้าใส กันน้ำ จับยากซะหน่อยแต่ก็ภ่ายได้ ผมเคยลองสองครั้งมันก็โอเคดี ผมเคยกังวลเรื่องความปลอดภัยของกล้อง แต่ก็ยังไม่มีเหตุร้ายอะไรเกิดขึ้น คุณจะต้องดำลงไปใต้คลื่น ก่อนที่มันจะซัดคุณไป

Nikon D750, Nikon 18-135. EXIF: f/9, 1/2000 sec, ISO 200, 18 mm

การตั้งค่ากล้องเพื่อถ่ายคลื่น

โดยทั่วไปยิ่งเก็บคลื่นในภาพมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ เช่นถ้าเก็บส่วนที่เป็นคลื่นมาซัก 10-20% ของภาพ ให้มันเป็นส่วนหนึ่งของภาพ Landscape สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/250 วินาทีได้ แต่หากคลื่นมากกว่า 20% คุณต้องใช้ 1/500 วินาที เพื่อให้เห็นรูปร่างของคลื่นอยู่ ถ้าคลื่นเป็นพระเอกและอยู่ในภาพเต็ม อาจต้องใช้ความเร็ซชัตเตอร์ 1/800 หรือเร็วกว่านั้น

Nikon D750, Nikon 70-300. EXIF: f/10, 1/1000 sec, ISO 200, 230 mm

การตั้งค่ารูรับแสง ไม่มีหลักตายตัวนัก เช่นซูมเข้าไปเพื่อจับภาพคลื่นโดยเฉพาะ อาจต้องใช้อย่างต่ำ f/8 อย่างต่ำ เพื่อให้คลื่นอยู่ในโฟกัส แต่ฉากหน้าฉากหลังเบลอ คุณอาจสร้างสรรค์งานอีกเช่นให้รูรับแสงกว้างขึ้นเพื่อเพิ่มความเบลอ และแต่ภาพที่คุณต้องการ ถ้าคลื่นไม่ได้เป็นพระเอก มันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของภาพ Landscape อาจต้องใช้ f/16 เพื่อเก็บรายละเอียดชัดลึก หรือถ้าใช้ Housing ไปถ่ายคลื่นใกล้ๆ ก็ต้องใช้ รูรับแสงแคบๆเช่น f/16 เพื่อให้คลื่นชัดทั้งหมด

ส่วน ISO ช่วยในเรื่องของความเร็วชัตเตอร์ าหก ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ แสงเข้าน้อยลงก็ต้องใช้ ISO ช่วยให้สว่างขึ้น

Nikon D750, Tamron 15-30. EXIF: f/8, 1/250 sec, ISO 400, 26 mm

การโฟกัสที่คลื่น

อันนี้สำคัญมากๆ ตั้งค่ากล้องของคุณให้เป็นโฟกัสแบบต่อเนื่อง (continuous focus) การโฟกัสแบบนี้เมื่อคุณกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง โฟกัสจะล็อคไปที่คลื่นตลอด การเลือกโฟกัสแบบต่อนเื่องแต่ละกล้องต่างกันออกไป ลองไปดูในคู่มือของกล้องคุณ ส่วนการโฟกัสแบบ Tracking เหมาะสำหรับวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวเช่นถ่ายเด็ก เป็นต้น

การถ่ายคลื่นแบบ Long Exposure

การถ่าย Long Exposure ของคลื่นนั้น ไม่สามารถใช้ความเร็ซชัตเตอร์ที่ช้าเกินไปได้ เพราะจะทำให้คลื่นกลายเป็นหมอกฟุ้งๆแทน  เราต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่พอดีที่ทำให้คลื่นนั่นเบลอๆ นุ่มๆ แต่ยังคงรักษาฟอร์มคลื่นไว้ได้

ความเร็วชัตเตอร์ที่ควรจะเป็น ประมาณ 1/10-1/2 วินาที ขึ้นอยู่กับความเร็วคลื่น 

Nikon D750, Tamron 15-30. EXIF: f/8, 0.5 sec, ISO 100, 30 mm

 

ตอนต่อไปจะเป็นเรื่อง Exposure ที่เหมาะสมในการถ่าย การใช้ฟิลเตอร์ และ Bracketing อย่าลืมติดตามชมกันนะครับ

credits: antongorlin