หลายคนถ่ายทะเลมืดไปบ้าง สว่างไปบ้าง พอฉากหน้าสว่างพอดี ฟ้าก็ขาวไปอีก มีวิธีแก้มากมาย บทความนี้จะมาแนะนำกันครับ สำหรับใครยังไม่อ่านภาคก่อนหน้านี้ คลิ๊กเข้าไปอ่านเลย
(อ่าน ภาค1, ภาค2, ภาค3, ภาค4, ภาค5, ภาค6, ภาค7)
แสงที่เหมาะสม
จำนวนแสงที่เข้าไปยังเซนเซอร์ เป็นผลกระทบมาจาก ความเร็วชัตเตอร์ และรูรับแสง
กล้องทุกตัวจะบันทึกภาพในช่วงที่มืดสุดไปยังสว่างสุด และช่วงที่กล้องรับได้นั้นคือ dynamic range(DR) หากความต่างของแสงสว่างนั้นมากเกินกว่า DR รับได้ ภาพจะเสียรายละเอียดเช่นมืดเกินไปหรือ สว่างเกินไป
แสงที่เหมาะสมสามารถดูได้จาก Histogram ถ้าภาพมืดเกินไป (UnderExposed) กราฟจะเทมาฝั่งซ้าย ถ้าสว่างไปจะเทไปฝั่งขวาดังตัวอย่างด้านล่าง
การถ่ายไม่ให้ฟ้าสว่างเกินไป
ปัญหาของการถ่าย Seascape อย่างหนึ่งคือเมื่อเราเก็บรายละเอียดของฉากหน้า ฟ้าจะสว่างเกินไป แก้ได้ด้วย
- ใช้ฟิลเตอร์
- ถ่ายคร่อม (bracketing) หลายภาพมารวมกัน
- ถ่ายเก็บรายละเอียดฟ้ามาก่อน ยอมให้ฉากหน้ามืด แล้วมาแต่งภาพที่หลัง
ฟิลเตอร์
ฟิลเตอร์ที่พูดถึงนี่เป็นฟิลเตอร์ครึ่งซึก (graduated) ที่ทำให้ด้านบนมืดกว่าปกติแล้วค่อยๆไล่ลงมา ส่วนมืดแค่ไหนเราเลือกได้เช่น GND2 (ลดลง 1 stop), GND4 (ลดลง 2 stops), GND8 (ลดลง 3 stops)
การถ่าย Seascape ควรใช้ฟิลเตอร์แบบ hard edge ที่มีช่วงไล่แสงสว่างน้อย แต่หากถ่ายพวกภูเขาให้ใช้ Soft edge แทน

ฟิลเตอร์ที่ใช้ฟิลเตอร์ราคาถูกๆยี่ห้อ Cokin และไม่เคยรู้สึกว่าต้องอัพเกรดไปยังตัวที่แพงกว่าเช่น LEE, Nisi
การถ่าย Bracketing
Bracketing หรือถ่ายคร่อม เป็นการถ่ายมาหลายรูปในความสว่างที่ต่างกันเพื่อเก็บรายละเอียดทั้งหมดแล้วมารวมกันโดยทั่วไปถ่าย Seascape ควรถ่ายอย่างน้อย 2 รูปห่างกัน 2-3 stop ในสถาณการณ์ที่ซับซ้อน หรือแสงต่างกันมากๆ อาจต้องใช้ 3 รูปในความสว่างที่ต่างกัน แล้วมารวมกันในโปรแกรมแต่งภาพเช่น Photoshop

ถ่ายมามืดเกินไป
กล้องรุ่นใหม่ส่วนมากเก็บรายละเอียดได้ดี บางคนถ่ายมืดแล้วดึงเงาให้สว่าง ก็สามารถทำได้ แต่ในส่วนนั้นคุณภาพจะไม่ดีเท่ากับการถ่ายมาให้แสงพอดีตั้งแต่ต้น การถ่ายแล้วมาดึงเงาควรถ่ายมาแบบ Raw หากเป็น Jpeg จะสามารถแต่งได้น้อยกว่ามาก ทางที่ดีควรถ่าย Raw มา 2 ภาพในความสว่างที่ต่างกันแล้วมารวมภาพทีหลังจะดีกว่า

แล้วใช้ฟิลเตอร์กับถ่ายคร่อมอะไรดีกว่า?
ไม่มีดีกว่า เพราะบางคนก็ชอบฟิลเตอร์ บางคนก็ชอบถ่ายคร่อมแล้วไปแต่งภาพ การใช้ฟิลเตอร์จะได้ภาพเกือบสำเร็จในกล้องเลย มาแต่งทีหลังน้อย แต่ก็ต้องมีอุปกรณ์เพิ่ม นั่นหมายถึงต้องจ่ายตังค์ และต้องพกอุปกรณ์เพิ่มด้วย
ข้อเสียของฟิลเตอร์
- ใช้ได้ดีกับการถ่ายแนวเส้นขอบฟ้า หากมีวัตถุอื่นโผล่ออกมาจากเส้นนั้นเช่น ต้นไม้ หน้าผา แสงก็จะต่างกันไปตามเส้นขอบฟ้าด้วย
- บางครั้งอาจได้ภาพที่มืดเกินไปในส่วนท้องฟ้าซึ่งมากู้รายละเอียดทีหลังยาก
- เมื่อแสงเปลี่ยนบางครั้งต้องมาเปลี่ยนฟิลเตอร์
- ต้องพกอุปกรณ์เพิ่ม
ข้อเสียของถ่ายคร่อม
- ต้องใช้ทักษะและเวลาในการตกแต่งภาพ
- ใช้พื้นที่จัดเก็บภาพมากขึ้น
ฟิลเตอร์อื่นๆในการถ่าย Landscape
ฟิลเตอร์ ND เป็น ฟิลเตอร์ลดแสงแต่ไม่มีการไล่โทนแบบ Gradient คือลดเหมือนกันทั้งแผ่น ไว้สำหรับถ่าย Long Exposure ซึ่งสามารถถ่ายได้ในตอนกลางวัน ไม่ค่อยแนะนำ ND2 และ 4 เพราะสามารถจัดการในกล้องได้ ควรมี ND8 หรือ ND400 ที่ช่วยลดแสงลงและสามารถถ่าย Long Exposure ได้
ตัวอย่างการใช้งานฟิลเตอร์ ND ในการถ่าย Landscape
- ใช้ทำให้น้ำนุ่มขึ้น
- หลีกเลี่ยงการเกิด Diffraction (โดยปกติหากเราใช้ค่ารูรับแสงแคบมากๆ เช่น f/18 ขึ้นไป จะทำให้เกิด Diffraction ทำให้ภาพขาดความคม)
- ช่วยเอาคนออก เพราะเมื่อลดแสงจะได้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้ามากๆ ทำให้การเคลื่อนไหวของคนที่อยู่ในฉากนั้นหายไป
- เพิ่มชัตเตอร์สปีดให้มากขึ้น
- เพิ่มเอฟเฟคเบลอแบบเคลื่อนไหว (motion blur)
ฟิลเตอร์ ND400 เป็นสิ่งที่ช่างภาพ Landscape ควรมีภาพด้านล่างนี้ถ่ายตอนกลางวัน แต่ใช้ความเร็ซชัตเตอร์ช้าถึง 48 วินาทีเพราะมีฟิลเตอร์ลดแสง
ฟิลเตอร์ Polarizer
เป็นตัวช่วยลดแสงสะท้อน และเพิ่มสีของภาพเช่นสีของฟ้าที่เข้มขึ้น ฟิลเตอร์นี้ใช้บ่อยเพื่อต้องการเพิ่มความมืดให้ฟ้า และฟิลเตอร์นี้ลดแสงประมาณ 1-2 stops และลดแสงสะท้อนเช่นสะท้อนในน้ำ หรือตามใบไม้
credits: antongorlin
