วิธีการถ่ายทางช้างเผือกด้วยกล้องตัวคูณและเลนส์คิท

0

การถ่ายทางช้างเผือกหากได้กล้องฟูลเฟรมและเลนส์ที่มีคุณภาพรูรับแสงกว้างก็จะมีโอกาสได้ภาพที่มีคุณภาพมากขึ้น แต่หากเพื่อนๆมาแค่กล้องตัวคูณและเลนส์คิทชุดประหยัดๆ ก็สามารถถ่ายได้ ทางช่างภาพ Michael Ver Sprill หรือฉายา Milky Way Mike จะมาแนะนำเทคนิคกันครับ

ในบทความนี้ Ver Sprill  ใช้กล้อง Nikon 7100 แะลเลนส์คิท 18-55mm f/3.5-5.6 ซึ่งจริงๆแล้วกล้องยี่ห้ออื่นก็สามารถทำได้ครับ ซึ่งกล้องตัวคูณมีขนาดเล็กกว่าฟูลเฟรม จะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วกว่า เพื่อป้องกันไม่ให้ดาวเป็นเส้น

ก่อนอื่นต้องคำนวน DOF ก่อนว่าถ่ายระยะเท่าไหร่ถึงจะชัดทั้งภาพ คำนวนด้วยแอพ PhotoPills หรือดูจากเว็บก็ได้

จะเห็นว่าถ้า f/3.5 กล้องและลเลนส์ตามที่บอกข้างต้น ระยะโฟกัสที่ 15 ฟุตจะทำให้โฟกัสเป็นอินฟินิตี้

จากนั้นก็เปิดไฟและใช้เลนส์ออโต้โฟกัสที่ฉากหน้าซึ่งก็คือบ้าน เมื่อโฟกัสได้แล้วก็เปลี่ยนเป็นโฟกัสแบบแมนวล

เพื่อนๆจะถ่ายฉากหน้าสว่างๆ แล้วไปรวมกับทางช้างเผือกอีกทีก็ได้ แต่ในตัวอย่างนี้เขาใช้การเปิดชัตเตอร์ 2 นาที และใช้ ISO ต่ำๆ เพื่อเก็บฉากหน้าในที่มืดแทน

ภาพด้านบนเก็บฉากหน้าตั้งค่า 18mm, f/4, ISO 1600, และ 120 วินาที

จากนั้นถ่ายดาว 5-15 ภาพเหมือนๆกัน เพื่อมา Stack โดยใช้โปรแกรม Starry Landscape Stacker ($40 สำหรับ macOS) หรือโปรแกรม Sequator (ฟรีสำหรับ PCs) ซึ่งฉากหน้าก็จะ Stack เช่นกัน ทำให้ช่วยลด Noise ให้ไฟล์ภาพที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น เพราะตอนถ่ายจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ประมาณ 10-15 วินาที เพื่อไม่ให้ดาวเป็นเส้น
ใช้ f/4 และใช้ ISO สูงถึง 25,600

ตัวอย่างโปรแกรม Starry Landscape Stacker สามารถเลือกส่วนของท้องฟ้าได้อัตโนมัติ ในการสาธิตครั้งนี้ใช้ภาพแค่ 5 ภาพในการ Stack

ก็ได้ภาพท้องฟ้าเนียนๆมาแล้ว แต่ฉากหน้าอาจยังไม่ดี สามารถเพิ่มคุณภาพฉากหน้าได้ด้วยภาพที่ถ่ายไว้ก่อนหน้านี้ ที่ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 2 นาที

เป็นอันเสร็จเรียบร้อย เพื่อนๆที่ใช้ตัวคูณเลนส์คิทลองนำไปปรับใช้กันดูนะครับ

credits: petapixel | Milky Way Mike via Fstoppers