เริ่มเห็นอย่างช่างภาพใน 6 ขั้นตอนง่ายๆ

0
ถ่ายภาพ, ถ่ายรูป, หัดถ่ายภาพ, ช่างภาพ, เรียนถ่ายภาพ, เรียนถ่ายรูป, สอนถ่ายรูป, แต่งรูป , แต่งภาพ
ถ่ายภาพ, ถ่ายรูป, หัดถ่ายภาพ, ช่างภาพ, เรียนถ่ายภาพ, เรียนถ่ายรูป, สอนถ่ายรูป, แต่งรูป , แต่งภาพ

เราอยู่ในยุคที่คุณจะกดชัตเตอร์กี่ครั้งก็ได้ ไม่พอใจก็ลบ แต่นั่นก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย สำหรับนักถ่ายภาพ ข้อดีคือ สามารถเรียนรู้ได้เร็ว ง่าย และไม่ต้องลงทุนในการเรียนรู้มาก ส่วนข้อเสียคือ เมื่อเรากดชัตเตอร์ได้ไม่จำกัด บางคนไม่ค่อยใส่ใจเรื่องการจัดองค์ประกอบเท่าไหร่ ถ่ายมารัวๆ มากๆ และหวังว่าจะมาหาภาพที่ดีทีหลัง

หยุดถ่ายมั่วๆ และมาถ่ายภาพกันดีกว่า ก่อนจะถ่ายภาพ ลองถามตัวเองว่า เรารู้สึกอะไร อะไรที่เราต้องการจะสื่อ เราต้องการจะเล่าเรื่องราวแบบไหน วันนี้มีขั้นตอนง่ายๆที่ช่วยให้คุณเห็นอย่างช่างภาพ

1) เห็นแสง

ลองเล่นกับแสงและเงาดู  ลองดูแสงๆรอบๆตัวคุณ ไม่ว่าจะเป็นแสงแข็งหรือแสงนุ่ม และ มันส่งผลต่อวัตถุอย่างไร ยิ่งคุณตระหนักเรื่องแสงมากเท่าไหร่ คุณก็สามารถใช้มันให้เป็นประโยขน์ได้มากเท่านั้น

See the light, its effect on building and objects around you.

ดูแสงที่ตกกระทบวัตถุหรือสิ่งก่อสร้าง  (ภาพโดย Valérie Jardin)

When you see light, any ordinary object will become a wonderful subject. ©Valérie Jardin
เมื่อเราเห็นแสง วัตถุธรรมดาก็กลายเป็นวัตถุที่น่าสนใจได้ (ภาพโดย Valérie Jardin)
2) มองด้วยกฏการจัดองค์ประกอบพื้นฐาน
มีหลากหลายทางที่จะช่วยให้คุณมองเรื่องนี้ให้เห็นก่อนกดชัตเตอร์
2.1 ชัดตื้น
อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยนำสายตาคนดูได้ คือเรื่องของโฟกัส สายตาคนเราจะโฟกัสไปยังจุดที่ชัดก่อน หาสิ่งที่น่าสนใจและโฟกัสมัน

ใช้จุดโฟกัสและชัดลึกชัดตื้น เพื่อนำสายตาคนดู (ภาพโดย Valérie Jardin)
2.2 เส้นนำสายตา
เป็นเรื่องที่หลายคนมองข้าม แต่การใช้เส้นนำสายตา เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัลงในการนำสายตาคนดูUse leading lines in your composition. ©Valérie Jardin
การใช้เส้นนำสายตาในการจัดองค์ประกอบ (ภาพโดย Valérie Jardin)
2.3 กฎสามส่วน
หากงงว่ากฏสามส่วนคืออะไร คลิ๊กที่นี่  มองสิ่งที่อยู่ตรงหน้าด้วยกฏสามส่วน แต่คุณก็สามารถแหกกฏนี้ได้เช่นกัน หากคุณคิดว่ามันจะดีกว่า
The rule of thirds works, use it! ©Valérie Jardin
ใช้กฏสามส่วน  (ภาพโดย Valérie Jardin)

แหกกฏหากคุณต้องการ ตราบใดที่คุณรู้ว่าทำไมคุณถึงต้องแหก  (ภาพโดย Valérie Jardin)
2.4 รู้จักการใช้สี
มันคล้ายๆกับเรื่องโฟกัส ที่สามารถช่วยนำสายตาได้  การใช้สีเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังอีกอันนึง เพราะสีสามารถนำสายตาได้ และมันเป็นอีกเหตุผลสำหรับการเปลี่ยนภาพสีเป็นขาวดำด้วย เพราะต้องการลบสีที่กวนสายตา ทำให้ได้ภาพที่ดีขึ้น
2.5 ใช้พื้นที่ว่างให้เป็นประโยชน์
พยายามใช้พื้นที่ว่างอย่างสร้างสรรค์ ทำให้ได้ภาพที่ดีมากขึ้น
Use negative space to give more impact to your images. ©Valérie Jardin
การใช้พื้นที่ว่างอย่างสร้างสรรค์  (ภาพโดย Valérie Jardin)
2.6 รูปแบบ (pattern)
มองหา pattern หรือ แบบที่ซ้ำๆ กัน และมองหาสิ่งที่แหก pattern นั้นๆ ช่วยให้ภาพดูน่าสนใจขึ้น
See repeated patterns. Even better: a break in the pattern!  ©Valérie Jardin
มองหารูปแบบซ้ำๆกัน และจะดีมากเมื่อมีสิ่งที่แหกกฏออกมา  (ภาพโดย Valérie Jardin)
Soon you will see stronger images that incorporate several elements such as repeated patterns, leading lines, rule of thirds and color that draws your eye to the main subject. ©Valérie Jardin
รูปแบบซ้ำๆกัน จะช่วยนำสายตาได้  (ภาพโดย Valérie Jardin)
3) Less is more
ลองสร้างภาพที่แข็งแรงด้วยการตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปจากเฟรม  อย่างหนึ่งที่เห็นได้บ่อยคือ การพยาายามยัดสิ่งต่างๆไปในเฟรมมากเกินไป ลองทำให้มันง่าย(Keep it simple)
You don't need the subject in it's entirety to have a strong image. Practice cropping in camera. The use of a fixed lens will help you! ©Valérie Jardin
ฝึกครอป ในกล้องของคุณ ลองใช้เลนส์ฟิกซ์ดูมันช่วยเรื่องนี้ได้  (ภาพโดย Valérie Jardin)

คิดแบบเรียบง่าย จะช่วยทำให้ภาพดูน่าสนใจได้เช่นกัน  (ภาพโดย Valérie Jardin)
4) เข้าไปใกล้ๆ
วัตถุที่ดูธรรมดา มันจะดูน่าสนใจขึ้นเมื่อคุณวางกรอบให้มันดูแน่นขึ้น เข้าไปใกล้ๆ หากคุณคิดว่าใกล้แล้ว เข้าไปใกล้อีก
Fill your frame! ©Valérie Jardin
(ภาพโดย Valérie Jardin)
Get close, and then get closer! ©Valérie Jardin
ใกล้แล้ว ใกล้อีก  (ภาพโดย Valérie Jardin)
5) มุมมองใหม่ๆ
พยายามถ่ายจากมุมมองใหม่ มุมสูง มุมต่ำ ช่วยให้ได้ภาพในมุมมองที่หลากหลายน่าสนใจ
Work your frame: Shoot high, Shoot low... Things don't look very interesting at eye level. ©Valérie Jardin
บางอย่างดูไม่น่าสนใจในระดับสายตา
6) มองพื้นหลัง
ใช้เวลาซักหน่อยในการดูพื้นหลังที่น่าสนใจ ไม่ให้มีสิ่งมารบกวนสายตา
This image would have been ruined had I not stepped slightly to the right to avoid the potted plant to be directly on top of the gentleman's head...  ©Valérie Jardinภาพนี้คนถ่ายเดินไปทางขวาอีกหน่อยเพื่อแยก subject กับกระถางต้นไม้
ครั้งต่อไปที่คุณหยิบกล้องออกไปถ่าย หวังว่าคุณจะรู้สึกกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า และคิดออกมาได้ว่าจะสื่อสารด้วยภาพของคุณได้อย่างไร ไม่นาน การจัดองค์ประกอบเหล่านี้จะกลายเป็นสัญชาตญาณของคุณโดยไม่ต้องคิดอีกต่อไป
credits: dps