ทิปการจัดองค์ประกอบสำหรับการถ่ายทะเล Seascape

0

กฏสำหรับการถ่ายรูปนั้นคงไม่มีกฏที่แน่นอนในการจัดองค์ประกอบนัก แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ว่าการทำตามกฏต่างๆแล้วก็ได้ผลที่ไม่แย่นัก

ทำไมนะหรอ ? บางทีอาจเป็นเพราะสมองของเราเป็นผลลัพธ์จากการวิวัฒนาการมากว่าล้านปี เช่นเมื่อเราเห็นจุดสองจุดและเส้น เราก็นึกถึงใบหน้า ไม่เชื่อหรอ ดูนี่ซิ

และการที่เราชอบภาพบางภาพมากกว่าภาพอื่นๆมันก็มีเหตุผลของมัน มาดูเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้กับทริปทะเลครั้งต่อไปของคุณได้

เริ่มทำตามกฏ

ก่อนที่จะแหกกฏ ต้องรู้จักกฏให้ดีซะก่อน พยายามลองทำตามกฏ เริ่มจาก กฏสามส่วน ใครยังไม่รู้ว่าคืออะไรก็ลองคลิ๊กไปอ่านดู

เราจะวางสิ่งที่น่าสนใจไว้ตรงจุดตัดเก้าช่องดังภาพ เพื่อให้ภาพดูสมดุลขึ้น

1 post

สิ่งที่น่าสนใจในรูปคือ ประภาคาร ภาพผลลัพธ์จะออกมาดังนี้

1 ante

เลือกสิ่งที่น่าสนใจ

ถ้าคุณใช้กฏสามส่วน แน่นอนว่าเส้นขอบฟ้าคงไม่ได้อยู๋ตรงกลาง เว้นแต่จะเป็นภาพสะท้อนสวยๆ

แต่ว่าจะเอาเส้นขอบฟ้าไว้ด้านบน หรือด้านล่าง ?  ลองดูภาพตัวอย่างนี้ ให้ทะเลเป็นพระเอก เลยแบ่งไปสองส่วน และให้ฟ้า หนึ่งส่วน

2 post

จะเห็นว่ามีหินเป็นฉากหน้าที่น่าสนใจ เลยอยากจะเน้นสิ่งที่น่าสนใจ ก็เลยแบ่งให้มันไป 2/3

2 ante

เช็คเส้นขอบฟ้า

ไม่มีสิ่งไหนที่กวนสายตาได้เท่ากันเส้นขอบฟ้าเอียงอีกแล้ว อาจใช้ ตัววัดระดับ ที่ติดกล้องของคุณ หรืออาจซื้อ ตัว hot shoe levle มาดังภาพ

เพราะว่า เวลาที่คุณต้องมาปรับเส้นขอบฟ้าทีหลังในโปรแกรมทีหลัง ทำให้คุณต้องเสียบางส่วนของภาพไป

ใช้ ความยาวโฟกัส(focal length)อย่างฉลาด 

บางครั้งคุณพยายามถ่ายมาด้วยระยะที่พอดี เป็นสิ่งที่ดี แต่บางครั้ง ควรถ่ายให้กว้างขึ้นถ้าทำได้ ถ้าคุณอยู่ที่ระยะ 24mm ลองถ่ายที่ 21 หรือ 18 mm อย่าขี้เกียจ  จำไว้ว่าเมื่อไปปรับแต่งภาพทีหลังคุณไป crop จาก 21 เป็น 24 mm ได้ แต่ทำกลับกันไม่ได้

3 post

ใช้เส้นนำสายตา

ภาพก็เหมือนหนังสือ ต้องทำให้สนุกและสามารรถอ่านได้ตั้งแต่ต้นจนจบ  ลองใช้เส้นเพื่อเป็นตัวนำสายตา คุณสามารถใช้ ถนน หรือเส้นที่มีอยู่ในธรรมชาติ จำไว้ว่าให้ระวัง สิ่งที่กีดขวางเส้นนั้น มันจะเป็นเหมือน การอ่านหนังสือข้ามบรรทัด

คนอ่านจะสูญเสียอรรถรส และเรื่องเล่าไป และหลีกเลี่ยงการใช้เส้นนำสายตาให้นำสายตาออกไปนอกภาพด้วย

4 post

ใช้ถนนเป็นเส้นนำสายตาไปยังสิ่งที่น่าสนใจ

4 ante

หลีกเลี่ยงการวางวัตถุตรงขอบ

ปัญหาที่เจอบ่อยของเลนส์ Wide คือเรื่อง distortion หรือการบิดเบี้ยวของเลนส์  การวางวัตถุตรงขอบนั้นทำให้ภาพบริเวณขอบนั้นบิดเบี้ยว บางคนอาจซื้อเลนส์ที่ราคาสูงเพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ แต่ก็มีอีกหลายวิธี เช่น อย่าถ่ายให้ sbuject มันตรงเส้น ของกฏสามส่วน ให้เข้ามาตรงกลางอีกนิด หลังจากเราแก้ไข distortion ในโปรแกรมแล้วหรือ crop แล้ว มันก็ทำให้ไปอยู่ตรงเส้นพอดี

5 post

ถ้าเราถ่ายให้บ้านหลังนั้นอยู่ใกล้ๆขอบ มันก็เกิดการบิดเบี้ยวอันเกิดจากเลนส์ เมื่อเราแก้ด้วยโปรแกรมแล้ว ทำให้เสียเส้นนำสายตาไปเพราะ ต้องcrop บางส่วนออกไป

5 ante

เพิ่มมิติและขนาด

เมื่อเริ่มถ่ายทะเลใหม่ๆ ผมไม่ชอบให้มีคนหรือวัตถุต่างๆที่คนสร้างคนมาในภาพ (ถ้าไม่ใช่คนที่ผมตั้งใจใส่เข้าไปในภาพ)

แต่บางครั้งก็เป็นความคิดที่ดีที่ใส่สิ่งก่อสร้างเข้าไปในภาพ เหตุผลหลักๆคือเรื่องของมิติ จากภาพด้านล่าง คนดูไม่รู้หรอกว่าโขดหินนั้นมีขนาดเท่าไหร่ เพราะไม่มีอะไรเทียบ หากเขาไม่เคยไปมาก่อน การให้มีพวกสิ่งก่อสร้าง เช่นประภาคาร สะพาน โบสถ์ มันทำให้มีมิติ และเกิดการเทียบขนาดได้ หินจะดูสวยขึ้น ถ้าเรารู้ว่ามันสูงและใหญ่มาก

6 New
ประภาคารเป็นตัวที่ให้มิติกับหินต่างๆในภาพ (ลองใช้นิ้วปิดประภาคารดูซิ)

6 ante

ใช้ negative space

negative space เป็นพื้นที่รอบๆวัตถุในภาพ มันมีความสำคัญเท่าๆกับวัตถุนั้นแหละ ตัว Negative space ช่วยกำหนดขอบเขตของ positive space และช่วยให้ภาพสมดุล มันยังช่วยเน้นให้ subject มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น ภาพโบสถ์ที่อยู่บนหน้าผาจะให้ความรู้สึกกล้าหาญมากขึ้น เมื่อมันท้าทายความกว้างใหญ่ของทะเล

7 post

7 ante

สนุกกับมัน

สุดท้ายนี้จำไว้ว่า ทุกกฏสามารถแหกได้ ถ้าเส้นขอบฟ้ามันไม่ดีนักหากวางไว้ตรงเส้นแรกของกฏสามส่วน เพราะไม่มีเมฆ ก็วางมันขึ้นไปอีก, ถ้าคุณวางประภาคารไว้ใกล้ขอบ เพื่อใช้เส้นนำสายตา ก็ทำมันซะ

จุดประสงค์หลักของภาพคือไม่จำเป็นต้องทำตามกฏ แต่กระตุ้นอามรณ์ความสนใจให้คนดู สื่อสารกับคนดู จำไว้ว่าไม่มีองค์ประกอบไหนที่จะมาเอาชนะคุณได้

8 post

ประภาคารนี้อยู่ด้านขวาของเส้นในกฏสามส่วน โชคไม่ดีที่ผมไม่มีเลนส์กว้างพอ ผมต้องนำมันไว้ตรงนั้นเพราะ ไม่อยากตัดคลื่นสวยๆ ตรงขอบหินด้านมุมบนซ้าย

8 ante

 Credits: DPS