การถ่ายสัตว์ป่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและเป็นสิ่งที่ใครๆหลายคนอยากลองทำบ้าง วันนี้มีบทความเกี่ยวกับการถ่ายสัตว์ป่าดีๆ จาก photographylife ของนาย Robert Andersen มาฝากครับ
ในภาคแรกนี้จะแนะนำเกี่ยวกับ แสง สภาพอากาศ เลนส์ และการเลือกใช้ focal length ทิปที่จะแนะนำนี้มันใช้ได้ดีสำหรับผม แต่คุณอาจต้องไปปรับปรุงหรือหาวิธีของตัวคุณเองเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คุณชอบ
Golden Hour และ แสง
หลายคนคงรู้จักแล้วว่า Golden Hour คืออะไร มันเป็นแสงแรกในตอนเช้า และแสงสุดท้ายในตอนเย็น มีหลายเหตุผลที่ทำไม golden hour เป็นช่วงเวลาที่ดีมากในการถ่ายรูป แต่มีสามอย่างหลักๆ ที่ผมจะบอก คือ โทนของแสง , มันทำให้เกิดแสงกระจายแบบนุ่มๆ และ ความสูงของดวงอาทิตย์นั้นสัมพันธ์กับตัววัตถุ ลองมาดูตัวอย่างภาพที่ถ่ายในตอนเช้ากันดีกว่าครับ จะแสดงให้เห็นว่าแสงนั้นทำให้เกิด คุณสมบัติพิเศษอย่างไร
ถ้าคุณมองดีๆ จะเห็นว่านกถูกส่องแสงมาอย่างสวยงามถึงแม้ว่าแสงจะส่องมาจากด้านล่าง ทำให้เกิดแสงสะท้อนสีทอง ไม่มีจุดไหนที่ สว่างเกินไปจนขาดรายละเอียด อย่างไรก็ตามนกอินทรีสายพันธุ์นี้ไม่มีหัวและหางที่เป็นสีขาว ทำอาจทำให้ถ่ายออกมาดูสว่างมากเกินไปได้ง่าย
สิ่งที่ผมอยากจะบอกคือในช่วง golden hour คือ แสงเช้าและแสงเย็นนี้ แสงจะนุ่ม คุณสามารถใช้ประโยชน์ตรงนี้ในการถ่ายได้ เพราะเมื่อดวงอาทิตย์อยู่มุมต่ำ มันจะส่องมายังวัตถุอย่างสม่ำเสมอ และ ได้โทนสีที่สวยด้วย ลองดูตัวอย่าง
หากปล่อยให้เลยช่วงเวลานั้นไป แสงที่แรงเกินไปอาจทำลายภาพสวยๆของคุณได้ มันทำให้เกิดเงาที่แข็งขึ้น หากดูจากภาพด้านบน ซึ่งเป็นแสงแรกทั้งคู่ แต่ภาพขวาจะถ่ายเมื่อแสงแรกออกมาซักสอง ชั่วโมงกว่าๆแล้ว ไม่เกิดเงาแข็งทั้งคู่แต่โทนสีเปลี่ยนไปแล้ว เราจะไม่เถียงกันว่าภาพไหนสวยกว่า เพราะผมก็ชอบภาพชาวเหมือนกัน ประเด็นคือจะบอกว่าแสงมันสำคัญมาก ทำให้ผลลัพธ์ของภาพเปลี่ยนไป คุณต้องพิจารณามันก่อนที่จะถ่าย มันอยากที่จะถ่ายแสงตอนกลางวันให้ภาพออกมาดี
ทิป
– ต้องตื่นเช้าเพื่อถ่ายแสงเช้า
– ต้องเผื่อเวลาในการเดินทาง
– ต้องเผื่อเวลาในการหาสิ่งที่จะถ่าย
– ตรวจสอบความเร็วชัตเตอร์ และ white balance (ออโต้อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับกาถ่ายโทนสวยๆ)
สภาพอากาศ
การเช็คสภาพอากาศนั่นก็เป็นเรื่องที่ดี แต่อย่าคิดว่ามันจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ แค่ตัดสินใจออกไป แล้วก็ถ่ายมัน ผมคิดว่าสภาพอากาศมันไม่ได้สำคัญ และ ไม่ได้ตรงมากนัก สภาพอากาศนั่นอาจเป้นเพื่อนที่ดีของคุณก็ได้ การถ่ายพวก กวาง moose กวาง elk หรือ สัตว์ที่ขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ก็จะถ่ายออกมาดี ในขณะที่ฟ้าครึ้ม แต่การถ่ายนกหรืออะไรก็ตามที่ติดฟ้าในวันที่ฟ้าครึ้มกันก็ยังเป็นอะไรที่แย่อยู่ อย่าเพิ่งกลัวฝน หรือ หิมะ คุณยังไม่รู้หรอกตราบใดที่คุณยังไม่ได้ออกไปจริงๆ ผมเคยเห็นฟ้าสวยๆ เมฆ แสงสวยๆ หลังจากพายุได้ผ่านไปแล้ว เตรียมพร้อมอยู่ตลอด พยายามเลือกถ่ายตามสภาพอากาศ ดีกว่านั่งเฉยๆอยู่บ้าน
ภาพด้านบนนี้เป็นภาพที่ถ่ายหลังจากฝนเพิ่งหยุดตก มีรายละเอียดเพิ่มเติมเข้ามาทำให้ภาพนั้นออกมาดีขึ้น
จริงๆ แล้วผมชอบภาพที่ถ่ายตอนเปียกๆมาก ลองดูหญ้า ลองดูขนสัตว์ที่มันเปียกๆซิ สิ่งเหล่านี้มันช่วยเพิ่มความน่าสนใจเข้าไปในภาพคุณ
ภาพต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นว่าผมชอบถ่ายกวาง moose ในขณะที่ไม่มีแสงและเงาในภาพมากนัก เพราะเป็นวันที่ฟ้าค่อนข้างครึ้ม ผมว่ามันเป็นอากาศที่ดีมากในการถ่ายกวาง moose การที่แสงแข็งลงมา เพิ่มความต่างของแสง ทำให้เงาออกมาแข็ง นั้ มันทำให้ภาพออกมาไม่ดีนัก เหตุผลหลักที่ผมชอบอากาศแบบนี้ในการถ่ายสัตว์ประเภทนี้คือ มันไม่มีเงาทำให้ภาพเสีย การหากวาง moose นั้นยากพอแล้ว หากเจอมันแล้วต้องถ่ายด้วยแสงแย่ๆ อีก มันน่าเศร้านัก
ภาพด้านล่างจะเปรียบเทียบ ระหว่างวันที่ฟ้าครึ้ม (ซ้าย) และวันที่แดดจ้า (ขวา)
ภาพสองภาพนี้ถ่ายในการตั้งค่าเดียวกัน สัตว์ชนิดเดียวกัน และเวลาเดียวกัน (คนละวัน) มันไม่สำคัญหรอกว่าคุณชอบภาพใหนมากกว่า มันเป็นความชอบส่วนตัว แต่ขอให้ระวังเรื่องแสงให้ดี สำหรับผมมชอบด้านซ้ายมากกว่า ฉากหลังดูสบายตา แสงกระทบกวางอย่างทั่วถึง ไม่มีเงาน่าเกลียดๆ ไม่มีเงาต้นไม้ที่แรงมาก คุณเลือกแสงไม่ได้หรอก เมื่อคุณจองตั๋วและเดินทางมาถ่ายแล้ว คุณต้องสังเกตุว่าอะไรที่คุณพอจะถ่ายได้บ้าง เราจะเลือกสัตว์ที่จะถ่ายโดยอ้างอิงจากสภาพอากาศ เช่นเมื่อเราไปในป่าที่ Yellow Stone ในวันที่แกกจ้า อาจไปถ่ายกวางในตอนเช้า เมื่อแดดจ้าไปถ่ายอย่างอื่น หรือ หาก ฟ้าครึ้มตลอดสามวันก็หาสัตว์ใหญ่ถ่ายเช่นกว่าง Moose เพราะเราชอบถ่ายที่ไมมันไม่มีเงาน่าเกลียดนัก
ก่อนที่ผมจะจบเรื่องสภาพอากาศ อยากจะเน้นย้ำว่าภาพสัตว์ตอนเปียกๆนั้น แต่ต่างกับตอนที่แห้งมาก มันให้พื้นผิวที่แตกต่าง และขนของมันด้วย สภาพแวดล้อมดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น และได้อารมณ์ไปอีกแบบ ไม่ใช่ขณะฝนตกหนักๆ นะ ผมชอบตอนฝนตกปรอยๆ หรือตอนฝนหยุดตกแล้ว ลองดูภาพหมีนี่ซิ มันมีภาพการเคลื่อนไหวของน้ำตรงอุ้งเท้า และไม่มีแมลงมากมายคอยตามตัวหมี เพราะฝนตก
ทิป
– เตรียมอุปกรณ์พวกกันฝนไว้
– ใช้รองเท้าบูท
– เมื่อฝนตกหรือหิมะตก อย่ายกเลนส์ขึ้น เพราะอาจเปียก
– เมื่อฝนมาพร้อมกับลม ดูทิศทางให้ดี อาจเข้ามาตรงกล้องได้
– อากาศ หนาว ต้องเตรียมเสื้อผ้า ถุงมือให้พร้อม โดยเมื่อใส่แล้วคุณยังสามารถถ่ายได้อยู่
– เมื่อกากาศหนาว หากเข้าไปในรถหรือบ้านอุ่นๆ พยายามให้กล้องปรับอุณหภูมิอย่างช้าๆ
– อากาศหนาวทำให้แบตหมดเร็ว
– อากาศหนาว อาจทำให้เกิดหมอก หรือ ลมหายใจคุณเข้าบัง viewfinder อาจมองไม่เหตุสิ่งที่จะถ่าย
การเลือกเลนส์
เราจะไม่มาเถียงเรื่องค่าย ไม่บอกว่าเลนส์ไหนดีไม่ดี แต่เราแค่พูดเกี่ยวกับเลนส์เทเล หรือเลนส์ระยะไกล ที่ใช้ในการถ่ายสัตว์ป่า คำถามเดียวที่จะถามคือคุณต้องการเข้าถึงตัวสัตว์ใกล้แค่ไหน ? มันส่งผลต่อการเลือก focal length ยิ่งมีเลนส์ระยะไกลขึ้น ก็สามารถเห็นสัตว์ได้ใกล้มากขึ้น ลองพิจารณาดังนี้
– นกเป็นสัตว์ที่ตัวเลข เพื่อให้ได้นกขนาดเหมาะที่จะอยู่ในภาพเรา ควรใช้เลนส์ 600 mm หรือมากกว่านั้น
– สัตว์หลายชนิดขี้ตกใจ ยิ่งมีเลนส์ระยะไกล ก็มีโอกาสถ่ายได้มากขึ้น
– สัตว์บางชนิดดุร้าย ระยะที่ไกลขึ้น จะทำให้คุณปลอดภัยขึ้น
– คุณต้องสำรวจพฤติกรรมของสัตว์แต่ละประเภท ระยะห่าง และการพรางตัว เพื่อจะถ่ายมัน
นี่เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ เลนส์ระยะไกลเพื่อให้ได้ภาพสัตว์ใกล้ๆ ขณะที่เรายังรักษาระยะห่าง จากแม่หมีและลูกของมัน คำถามที่จะตามมาบ่อยๆ คือ ฉันจะทำให้ระยะมันไกลกว่านี้ได้อย่างไร แล้วระยะแค่ไหนถึงจะพอ คำถามเหล่านั้นผมไม่อยากตอบนักเพราะจะเกิดการถกเถียงตามมา แต่ผมใช้ 600mm และ 1.4 Teleconverter (การใช้ตัว teleconverter ทำให้ภาพมันเสียคุณภาพไปบ้าง แต่ก็พอยังยอมรับได้) เมื่อผมอยากได้ระยะไกลกว่านั้นก็ใส่ teleconverter เข้าไป มันเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลแล้วแต่ คุณภาพที่อยากได้และเงินในกระเป๋า
สังเกตุว่าภาพด้านบนนั้น พื้นหลังจะเบลอ และมีโบเก้ เพื่อแยกตัวหมีให้เด่นออกมาจากพื้นหลัง เพื่อให้สายตาโฟกัสที่หมี มากกว่า พื้นหลังที่ดึงดูสายตา ยิ่งเลนส์ระยะไกล ยิ่งเกิดภาพชัดตื้นได้ง่าย โบเก้นั้นขึ้นอยู่กับระยะห่างจากคุณกับสัตว์และสัตว์กับพื้นหลัง รวมถึงเลนส์และรูรับแสง เมื่อปรับให้เหมาะสมมันจะดึงวัตถุออกจากสิ่งที่คุณไม่ต้องการได้
ผมจะแสดงให้คุณดู ภาพนี้ไม่ใช้ภาพที่ดีที่สุดในการถ่ายเมื่อเช้าวันนั้นแต่มันจะอธิบายที่ผมจะสื่อได้ ผมจะถ่ายลูกนกอายุสองขวบกับความสัมพันธ์ระหว่างมันกับแม่ ไม่ได้จะถ่ายพื้นหลังที่รก เราต้องจัดการกับสถานที่ให้ได้
ผมถ่ายมันด้วย 600mm เพราะมีสามเหตุผล และเหตุผลที่หนึ่งสำคัญมากๆ
1) นกกำลังนั่งฟักไข่ ผมไม่อยากจะให้มันตกใจจนทิ้งไข่ของมัน (กุญแจสำคัญคือเรื่องระยะห่าง)
2) ผมต้องการให้นอกไม่กังวลเกี่ยวกับผมและใช้ชีวิตของมันอย่างปกติ แต่ผมก็อยากได้ภาพเต็มๆ เฟรม (ระยะทางและความยาวโฟกัส)
3) ผมต้องการแยกนกออกจากพื้นหลัง ด้วยการตั้งค่าบนกล้อง เพราะผมไม่สามารถเปลี่ยนสถานที่ถ่ายได้มากนัก ด้วยเหตุผลด้านทิศทางแสงด้วย (โบเก้ มุม และ ระยะห่าง)
ทิป
– ความยาวโฟกัสยิ่งมากทำให้คุณสามารถถ่ายได้ใกล้ขึ้น
– เลนส์ใหญ่ๆ อาจลำบากในการเดินป่า
– เลนส์ซูมทำให้คุณสะดวกในการ วางกรอบภาพ(Framing) มากกว่า
– เลือกเลนส์ที่ดีที่สุดเท่าที่คุณสามารถจ่ายไหว มันให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเป็นเวลานาน
– รักษาเลนส์แพงๆของคุณ จากการขีดข่วนหรือกระเทก มันยังช่วยให้คุณขายต่อได้ในราคาที่ดี
– หาอุปกรณ์กันฝนสำหรับกล้องและเลนส์
– ทดลองก่อนเวลาเลือกเลนส์ รู้ถึงความต่างของแต่ละเลนส์
หวังว่าบทความนี้จะไม่ทำให้คุณเบื่อ และหวังว่าทพให้คุณเข้าใจมากขึ้น แล้วจะมาต่อภาคสองครับ
Credits: Robert Andersen | photographylife
