Aperture คืออะไร และมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง

0
aperture,,กล้อง,ถ่ายภาพ, ถ่ายรูป, หัดถ่ายภาพ, ช่างภาพ, เรียนถ่ายภาพ, เรียนถ่ายรูป, สอนถ่ายรูป, แต่งรูป , แต่งภาพ
aperture,,กล้อง,ถ่ายภาพ, ถ่ายรูป, หัดถ่ายภาพ, ช่างภาพ, เรียนถ่ายภาพ, เรียนถ่ายรูป, สอนถ่ายรูป, แต่งรูป , แต่งภาพ
เรื่องรูรับแสง สิ่งสำคัญมากๆที่ช่างภาพมือใหม่ต้องรู้ เป็นบทความจาก คุณ SORNSAK SAKBODIN ครับ เนื้อความตามข้างล่างนี่เลย

(ภาพจาก gasendra)
Aperture คืออะไร และมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง นั่นไม่ใช่คำถามครับ แต่เป็นคำขอที่ส่งเข้ามาทางกล่องจดหมายส่วนตัว บอกว่าพอจะเข้าใจคร่าวๆแล้ว แต่อยากให้ช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้อีกหน่อยว่า มันมีผลอย่างไรบ้างในการถ่ายภาพโดยรวม เพราะมีเพื่อนอีกหลายคนที่กำลังเริ่มถ่ายภาพด้วยโหมด M แต่ไม่มีความรู้ทางด้านถ่ายภาพอย่างจริงจังมากันมาก่อนเลย ภาพที่ได้มาจึงค่อนข้างแย่
ผมขออธิบายสั้นๆ ตามที่ผมเข้าใจก็แล้วกันว่า Aperture คือช่องรับแสง หรือรูรับแสงบนเลนส์ ค่าของมันได้รับการกำหนดมาเป็น f-stops เช่น 2.8, 4, 5.6, 8, 11, 16, 22 เป็นต้น ซึ่งได้รับการสลักมาบน Aperture Control Ring หรือวงแหวนควบคุมช่องรับแสงของเลนส์
Aperture Control Ring หรือวงแหวนควบคุมช่องรับแสงของเลนส์ มีหน้าที่กำหนดขนาดความกว้าง/แคบ ของเลนส์ ช่องรับแสงนี้จะกำหนดปริมาณของแสงให้ผ่านเลนส์เข้าไปยังภายในของกล้องยังฟิล์ม หรือ Image Sensor เมื่อเราทำการเปลี่ยนขนาดของมันด้วยการหมุนปรับตัวเลขที่กำหนดมา
ค่าความต่างของมันคิดเป็น 1 stop หรือ 1 เท่าตัว จาก f-stop หนึ่ง ไปยังอีก f-stop หนึ่ง เช่น เมื่อเปลี่ยนจาก f/2.8 ไปยัง f/4 เราทำให้ช่องรับแสงแคบลง 1 stop มันจึงลดการรับแสงลงไป 1 เท่าตัว ก็จะทำให้ฟิล์มหรือ Image Sensor รับแสงน้อยลงไปเท่าตัว ผลก็คือ ภาพที่ได้นั้นเป็นภาพที่ under-exposed หรือมืดลงไป 1 stop และถ้าเปลี่ยนจาก f/11 ไปที่ f/5.6 คราวนี้เราเปิดหน้ากล้องกว้างขึ้น 2 เท่า แสงก็จะผ่านเข้าไปมากกว่าถึงสองเท่าตัว ทำให้ได้ภาพที่ over-exposed ที่ 2 stops
เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไรเพื่อให้ได้ภาพได้รับแสงที่ถูกต้อง…ไม่มีปัญหาครับ
เมื่อมีการเปล่ียนหน้าเลนส์ ให้กว้างขึ้น หรือให้แคบลง ผลกระทบกับการรับแสงก็จะเกิดขึ้นอย่างที่อธิบายมาแล้ว ถ้าไม่มีการปรับกล้อง (f-stop กับ ความไวของชัตเตอร์) ให้สัมพันธ์กันแล้ว ภาพที่จะได้ก็จะ over-exposed หรือ under-exposed อย่างที่บอกไว้ข้างบน ดังนั้นไม่ว่าจะใช้กล้องดิจิตัล หรือกล้องฟิล์ม เราจึงจะต้องปรับความไวของชัตเตอร์ให้เร็วขึ้นหรือช้าลง เพื่อให้สัมพันธ์กันกับหน้ากล้อง ตามที่เครื่องวัดแสงอ่านได้ เพื่อให้ได้แสงที่ถูกต้องกับการปรับใช้ หรือกับที่ใช้กับแต่ละ combination ในแต่ละครั้ง…อีกทางเลือกหนึ่งคือปรับที่ ISO แต่ผมเลือกเปลี่ยนหน้ากล้องกับความไว ซึ่งสดวกกว่าและเร็วกว่า
อย่าลืม…การปรับ Aperture นอกจากมีผลต่อการรับแสงแล้ว มันยังมีผลต่อความชัดลึก (depth of field) อีกด้วย เช่น
เมื่อช่องรับแสงกว้าง = หน้าเลนส์กว้าง = f-stop ต่ำ (ตัวเลขน้อย) ความชัดลึกก็จะตื้น เช่น f/2.8 = หน้าเลนส์กว้างสุด (ของเลนส์ที่ยกมาเป็นตัวอย่าง) = แสงผ่านเข้าไปได้มาก = ระยะโฟกัสต่ำ = ความชัดลึกก็จะตื้น
เมื่อช่องรับแสงแคบ = หน้าเลนส์แคบ = f-stop สูง (ตัวเลขมาก) มันจะปล่อยให้แสงจะผ่านเลนส์เข้าไปได้น้อยลง ความชัดลึกก็จะมากขึ้น เช่น f/22 = หน้าเลนส์แคบสุด (ของเลนส์ที่ยกมาเป็นตัวอย่าง) = แสงผ่านเข้าไปได้น้อย = ระยะโฟกัสมาก = ความชัดลึกก็จะสูง
คงจะพอเข้าใจนะครับ